การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
หลักสูตรการแพทย์แผนจีนบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนจีน

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีอาจารย์ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและมีคุณภาพสูง ส่งเสริมและผลักดันให้อาจารย์ในหลักสูตรฯ เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทักษะทางวิชาการ จัดสรรงบประมาณให้แก่อาจารย์ในหลักสูตรฯ เข้าร่วมประชุมงานวิชาการ อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ
2) หลักสูตรมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศจีน เจ้าของศาสตร์การแพทย์แผนจีน ยังคงรักษาความสัมพันธ์กับทางมหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนนานกิงอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการตามข้อตกลง MOU อย่างต่อเนื่อง อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ
3) หลักสูตรได้รับความร่วมมือจากวิทยาลัยนานาชาติจีน มหาวิทยาลัยรังสิต ในการร่วมพัฒนานักศึกษา หาความร่วมมือในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาการเรียนภาษาจีนของนักศึกษา - ให้วิทยาลัยนานาชาติ ช่วยจัดหลักสูตรติวการสอบวัดระดับภาษา HSK - การจับคู่Buddy ระหว่างนักศึกษาแพทย์จีน กับนักศึกษาจีน (รูปธรรมต้องหารือกับวิทยาลัยนานาชาติเพิ่มเติม) อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ
4) หลักสูตรมีการปรับรายวิชาให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา แต่ละรายวิชาได้มีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและเอกสารประกอบการสอนให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรฯ การวางแผนนำนักศึกษาไปออกหน่วยบริการชุมชนนอกสถานที่ อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ
5) เป็นหลักสูตรที่มีความน่าสนใจเนื่องจากได้ปริญญา 2 ใบ ทั้งไทยและจีน ยังคงดำเนินการตามข้อตกลง MOU อย่างต่อเนื่อง - อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ
6)

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) การสอนภาษาจีนให้แก่นักศึกษา เพื่อสอบวัดระดับให้ผ่าน ต้องทำอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง หลักสูตรฯ ส่งนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ไปศึกษาภาษาจีนที่มหาวิทยาลัยการแพทย์แผนจีนนานกิง สาธารณรัฐประชาชนจีน โครงการส่งนักศึกษาไปศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ
2) จัดโครงการติวสอบใบประกอบวิชาชีพให้แก่นักศึกษา ควรดำเนินการอย่างเข้มข้น และต่อเนื่อง จัดประชุมอาจารย์ภายในหลักสูตรฯ ทุกคน เพื่อระดมความคิด วางแผน พัฒนาแนวทางการติวใบประกอบ โครงการติวใบประกอบโรคศิลปะ อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ
3) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรยังมีผลงานทางวิชาการไม่มาก และส่วนใหญ่เป็น proceeding ควรจะเป็นผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐาน TCI หรือ SCOPUS ดังนั้น ทางหลักสูตรควรจะสนับสนุนให้อาจารย์ทำวิจัยเพิ่มมากขึ้น สนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ จัดสรรเวลาผลิตผลงานทางวิชาการ โครงการ OMSC ที่จัดโดยวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต สามารถให้อาจารย์นำเสนอผลงานของตนเองได้ อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ
4) ควรมีมาตรการเพื่อให้นักศึกษาสามารถจบได้ตรงตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนดมากขึ้น มอบหมายให้อาจารย์ที่ปรึกษาติดตามนักศึกษาเป็นรายบุคคล มีการประชุมทุกเดือนพื่อรายงานปัญหาอุปสรรคของนักศึกษาที่มีปัญหา พร้อมหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ
5) ควรส่งเสริมให้อาจารย์ทำงานวิจัยเพิ่มขึ้นและนำผลงานไปเผยแพร่ในวารสารเพิ่มขึ้นเพื่อการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ ผลักดันให้อาจารย์ในหลักสูตรกำหนดเป้าหมาย ระยะเวลาในการทำผลงานตีพิมพ์และการทำตำแหน่งทางวิชาการ เชิญวิทยากรมาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ
6) ควรมีการประชาสัมพันธ์หลักสูตร เพื่อให้นักเรียนมีความสนใจเข้ามาเรียนมากขึ้น ปรับรูปแบบการประชาสัมพันธ์ให้มีความน่าสนใจและดึงดูดกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น เพิ่มพื้นที่ประชาสัมพันธ์ใน 4 จังหวัดภาคใต้ โครงการประชาสัมพันธ์ของวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก อาจารย์ประจำหลักสูตรฯ
7)