การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยการออกแบบ
หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาแฟชั่นดีไซน์

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีการสร้างความร่วมมือกับชุมชน กับผู้ประกอบการ นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการออกแบบแฟชั่น เพื่อเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบจากชุมชน ผลงานของนักศึกษาได้ถูกเผยแพร่ และถูกนำไปใช้เป็นสินค้าต้นแบบสำหรับผู้ประกอบการ และนำไปใช้ได้จริง สามารถนำมาพัฒนาการเรียนการสอนได้เป็นรูปธรรม รวมทั้งมีการทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่ญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย สาขายังมีการรร่วมมือกับองค์การภายนอกอย่างต่อเนื่องและมีการลงพื้นที่สร้างความร่วมมือกับชุมชน และโครงการความร่วมมือกับสสส. รวมถึงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น โครงการCreative Young Designers Season 4 โครงการความร่วมมือกับสสส. โครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Bunka Gakuen University อ.ลัดดาวัลย์ สารพัฒน์ ดร.ชไมพร มิตินันท์วงศ์ อ.พชร รัตนคุปต์
2) อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในวิชาชีพ มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาสอนในรายวิชาเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในศาสตร์นั้นๆโดยตรง เชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาสอนในรายวิชาให้มากขึ้น โครงการสัมมนาTEXTILE DESIGNจากวิทยากรต่างประเทศ อาจารย์ประจำสาขาวิชาฯ
3) หลักสูตรมีห้องปฏิบัติการและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยและเพียงพอต่อการเรียนการสอน สาขามีโครงการจัดซื้อคุรุภัณฑ์ให้เพียงพอต่อการเรียนการสอนให้มากขึ้น โครงการจัดซื้อคุรุภัณฑ์ อ.ลลิตา
4) หลักสูตรมีผลการประเมินความพึงพอใจในด้านต่างๆ โดยภาพรวมดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรมีการพัฒนาในด้านต่างๆเพื่อให้ผลการประเมินความพึงพอใจในด้านต่างๆดีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเมินความพึงพอใจในโครงการและกิจกรรม อาจารย์ประจำหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ศึกษาต่อ และเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ สาขาวิชาฯมีการส่งเสริมให้อาจารย์พัฒนาตนเองโดยการฝึกอบรมทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยรวมถึงผลักดันให้ส่งผลงานทางวิชาการ โครงการประชุมวิชาการนานาชาติ symposium และการส่งผลงานทางด้านวิชาการภายนอกมหาวิทยาลัย อาจารย์ประจำสาขาฯ
2) ควรมีแผน 5 ปี สำหรับการพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร สาขาวิชาฯมีแนวทางในการส่งเสริมให้อาจารย์ในสาขาส่งผลงานทางวิชาการทุกปีอย่างต่อเนื่องเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ การประชุมวิชาการนานาชาติ และให้อาจารย์นำเสนอผงานวิชาการและงานวิจัยตามรอบที่สถาบันวิจัยกำหนด อาจารย์ประจำสาขาวิชาฯ