การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยการออกแบบ
หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบภายใน

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีโครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ด้านต่างๆ ที่หลากหลาย โดยใช้รายวิชาเป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างนักศึกษาให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างชัดเจน ส่งผลให้คุณภาพนักศึกษาเป็นที่ยอมรับจากภายนอก และมีโครงการ กิจกรรมที่สนับสนุนการเรียนการสอน เน้นลงมือปฏิบัติที่หลากหลายซึ่งช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ วางแนวทางพัฒนาโดยการจัดหา และเข้าร่วมโครงการความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกต่างๆ โดยนำไปบูรณาการในการวิชาอย่างต่อเนื่อง กระจายไปในทุกๆชั้นปี เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนควบคู่ไปกับการเรียนรู้ตามหลักสูตร 1 โครงการความร่วมมือเพื่อการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ กับผู้ประกอบการและนักวิชาชีพออกแบบภายใน 2. โครงการความร่วมมือเชิงวิชาการ / การบริการวิชาการ กับชุมชน / หน่วยงาน/ หรือองค์กรทั้งภายใน เเละ ภายนอกสถาบัน อาจารย์วริศว์ สินสืบผล ผศ.เรวัฒน์ ชำนาญ อาจารย์กาลัญญู สิปิยารักษ์ อาจารย์ถวัลย์ วงษ์สวรรค์
2) มีหลักสูตรที่ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการนำรายวิชาบูรณาการกับการปฎิบัติงานจริงในพื้นที่ทั้งชุมชนและภาคธุรกิจ เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานหรือองค์การภายนอก รวมถึงภาคชุมชนต่างๆ เพื่อเป็นการบริการวิชาการ โดยบูรณาการเข้ากับรายวิชาอย่างต่อเนื่องในปีการศึกษาหน้า เพื่อสงเสริมการปฏิบัติงานจริงควบคุ่ไปกับการเรียนภายในห้องเรียน 1. โครงการความร่วมมือเชิงวิชาการ / การบริการวิชาการ กับชุมชน / หน่วยงาน/ หรือองค์กรทั้งภายใน เเละ ภายนอกสถาบัน 2. โครงการความร่วมมือเพื่อการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ กับผู้ประกอบการและนักวิชาชีพออกแบบภายใน อาจารย์วริศว์ สินสืบผล อาจารย์ถวัลย์ วงษ์สวรรค์ อาจารย์กาลัญญู สิปิยารักษ์
3) อาจารยประจำหลักสูตรเป็นผู้มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในด้านองค์ความรู้ทางวิชาการเฉพาะสาขาออกแบบภายในและมีผลงานในระดับนานาชาติ ผลักดันให้คณาจารย์ในหลักสูตรฯ ส่งผลงานวิชาการในงานประชุมนานาชาติ the 12th internstional design symposium ของวิทยาลัยการออกแบบในปีการศึกษา 2566 งานประชุมนานาชาติ the 12th internstional design symposium อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ทางหลักสูตรได้จัดทำแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์แต่ละท่าน ดังนั้น หลักสูตรต้องกำกับ ติดตามให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 1. กำหนดรายชื่อของผู้ที่ใกล้ครบรอบยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการเพื่อผลิตและส่งผลงานสร้างสรรค์เข้าจัดแสดงเพื่อนำมาต่อยอดการส่งขอตำแหน่งทางวิชาการ 2. ดำเนินจัดคลินิกอบรมการเขียนบทความประกอบชิ้นงานสร้างสรรค์สำหรับอาจารย์ผู้ส่งผลงานสร้างสรรค์ เพื่อใช้ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ 1. การกำหนดรายชื่อผู้ส่งผลงานสร้างสรรค์ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ the 12th international design symposium ของทางวิทยาลัยการออกแบบ ผศ.ไพลิน โภคทวี อาจารย์ วริศว์ สินสืบผล อาจารย์ กาลัญญู สิปิยารักษ์
2) เนื่องจากนักศึกษามีการทำโครงงาน สร้างผลงานที่หลากหลาย จึงควรผลักดันให้ผลงานเหล่านั้นได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติและนานาชาติ 1. จัดหาพื้นที่ หรือเวทีสำหรับแสดงผลงานของนักศึกษา เช่น งาน Bangkok Design Week ซึ่งมีเป็นประจำทุกปี และ การนำเสนอผลงานผ่าน platform ต่างๆของทางมหาวิทยาลัย, คณะ, และ สาขาวิชาฯ 2. ผลักดันในการส่งผลงานต่างๆของนักศึกษา ทั้งโครงงานในรายวิชา หรือ ในการทำศิลปนิพนธ์ เพื่อเข้าประกวด หรือส่งเข้ารับคัดเลือกในการจัดแสดงในพื้นที่ต่างๆ เช่น TIDA Thesis Awards หรือ Degree Show 3. นำงานประกวดทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมในชั้นเรียนเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกฝนความคิดในเวทีระดับสากล โครงการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานนักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบภายใน ผศ.ไพลิน โภคทวี อาจารย์กาลัญญู สิปิยารักษ์
3) การประชาสัมพันธ์หลักสูตรอาจมีความหลากหลายช่องทางให้มากขึ้น เพื่อสื่อสารถึงกลุ่มนักเรียนที่สนใจ จนสามารถเพิ่มยอดนักศึกษาใหม่ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตร 1. จัด workshop ร่วมกับโรงเรียนมัธยมที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นเป็นการบริการวิชาการ และ เป็นการประชาสัมพันธ์หลักสูตรไปในเวลาเดียวกัน 2. เพิ่มช่องทาง social network และ chennel ต่างๆ และแต่งตั้งผู้ดูแลเพื่อคอยปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยอยู่ตลอด โครงการประชาสัมพันธ์และแนะแนวทางการเรียนสาขาวิชาออกแบบภายในกับบุคคลภายนอก อาจารย์บัณฑิต เนียมทรัพย์ อาจารย์ถวัลย์ วงษ์สวรรค์ อาจารย์วริศว์ สินสืบผล
4) ระบบการดูแลนักศึกษาเพื่อแก้ปัญหาการคงอยู่ของนักศึกษา และหาแนวทางในการแก้ไขด้านอัตราการสำเร็จการศึกษาเพื่อให้นักศึกษาจบตามเกณฑ์ 1. ให้อาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละชั้นปีนัดพูดคุยกับนักศึกษาในที่ปรึกษาเพื่อติดตามผลการเรียน พร้อมวางแผน เรื่องหน่วยกิต และแผนการเรียนให้กับนักศึกษาอย่างน้อยเทอมละ 2-3 ครั้งในช่วงเวลาก่อนลงทะเบียน, ช่วงกลางภาค, และ ช่วงสอบปลายภาค การให้คำปรึกษาและพูดคุยกับนักศึกษาในที่ปรึกษาของอาจารย์แต่ละท่านในหลักสูตรฯ อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน