# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
หลักสูตรมีคะแนนเฉลี่ยรวมคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ที่อยู่ในระดับดีมาก และมีค่าร้อยละอัตราการมีงานทำของบัณฑิตอยู่ในระดับดีมาก |
คอยทำการสำรวจ และ สร้างความสัมพันธ์กับผู้ใช้บัณฑิต และ คนในอุตสาหกรรมการออกแบบภายใน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของอัตราร้อยละของการมีงานทำของบัณฑิต |
กิจกรรมร่วมกับผู้ใช้บัณฑิต และองค์กรภายนอก เช่น การส่งนักศึกษาไปฝึกงาน หรือ การให้นักศึกษาเข้าร่วมประกวด หรือสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ |
อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน |
2) |
หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบภายใน มีเป้าหมายการรับนักศึกษาจำนวน 60 คน (แผนการรับของหลักสูตร) ซึ่งในปีการศึกษา2566 มีนักศึกษาเข้ารับการศึกษาในหลักสูตรจำนวนทั้งสิ้น 77 คนแบ่งเป็นนักศึกษาไทยจำนวน 52 คน และนักศึกษานานาชาติจำนวน 25 คน เกินเป้าหมายที่ทางหลักสูตรตั้งไว้ ทั้งนี้หลักสูตรออกแบบภายในได้จัด โครงการประชาสัมพันธ์และแนะแนวทางการเรียนสาขาวิชาออกแบบภายในกับบุคคลภายนอก (ทดลองเรียน ในวันที่ 27-28 มีนาคม 2567) โดยโครงการนี้เป็นโครงการที่ปรับแนวทางจากโครงการ SoReal Workshop ในปีก่อนๆ |
ทางหลักสูตรจะดำเนินการรับนักศึกษาต่างชาติเพื่อรักษาจำนวนภาพรวมของนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษาต่อไป รวมไปถึงการจัดทำโครงการประชาสัมพันธ์และแนะแนวทางการเรียนสาขาวิชาออกแบบภายในกับบุคคลภายนอกในปีการศึกษานหน้า |
โครงการประชาสัมพันธ์และแนะแนวทางการเรียนสาขาวิชาออกแบบภายในกับบุคคลภายนอก |
อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน |
3) |
หลักสูตรมีโครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ด้านต่างๆ ที่หลากหลาย โดยใช้รายวิชาเป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างนักศึกษาให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างชัดเจน มีผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อ การพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับดีมาก เฉลี่ยที่ 4.42 หลักสูตรควรประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้รายทักษะ ในลักษณะ ร้อยละ skill learning outcome , trend และ impact เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการ mapping และเนื้อหา ของรายวิชา หรือ ของกิจกรรมพัฒนาต่าง ๆ เทียบกับทักษะต่างๆ |
ทำการปรับปรุงการเรียนการสอนให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง |
แทรกกิจกรรมในรายวิชาต่างๆของหลักสูตร |
อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน |
4) |
อาจารย์ประจำหลักสูตรเป็นผู้มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในด้านองค์ความรู้ทางวิชาการเฉพาะสาขาออกแบบภายในและมีผลงานในระดับนานาชาติ ควรสนับสนุนส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ |
เตรียมการอบรมแนะแนวทางการทำตำแหน่งทางวิชาการแก่คณาจารย์ที่มีผลงานในระดับนานาชาติ |
การอบรม จัดพื่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ และ จัดทำคลินิกเพื่อแนะแนวทางสู่การทำตำแหน่งทางวิชาการ |
อาจารย์ฝ่ายวิชาการของหลักสูตร |
5) |
หลักสูตรมีรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการอันหลากหลาย ควรรายงานผลลัพธ์รายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการต่างๆ ว่ามีผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างไร เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงกระบวนการ รวมทั้งหลักสูตรควรรายงานผลวิเคราะห์ stake holder need รายปีโดยเฉพาะความต้องการของผู้เรียน และอื่น ๆ เพื่อนำผลประเมินมาปรับเนื้อหารายวิชาที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน |
1. ประเมินผลลัพธ์รายวิชาความร่วมมือกับสถานประกอบการ
2. วิเคราะห์ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Needs) หลังจบปีการศึกษา
2.1 จัดเก็บข้อมูลจากกลุ่ม stakeholders หลัก:
- นักศึกษา: สำรวจความต้องการด้านเนื้อหา การสอน และทักษะที่จำเป็นสำหรับตลาดงาน
- สถานประกอบการ: ระบุทักษะที่คาดหวังจากบัณฑิตผ่านแบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์
- ศิษย์เก่า: ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหารายวิชากับการทำงานจริง
2.2 รายงานผลวิเคราะห์ Stakeholder Needs:
- จัดกลุ่มความต้องการเป็นหมวดหมู่ เช่น ทักษะดิจิทัล การสื่อสาร การแก้ปัญหา
3. ปรับปรุงเนื้อหารายวิชาตามข้อมูลที่วิเคราะห์ |
การจัดประชุมกับสถานประกอบการ และ Stakeholders
การจัดประชุมภายในหลักสูตร |
อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน |
# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
หลักสูตรควรประเมินผลลัพธ์ของกิจกรรมการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่นอกเหนือจากค่าความพึงพอใจในทุกกิจกรรมโครงการ ในลักษณะ outcome trend และ impact ทั้งนี้หลักสูตรมีค่าอัตราการคงอยู่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่เรียนต่อชั้นปีที่ 2 เฉลี่ย 76.09% สามารถนำมาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับการปรับปรุงกระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อเพิ่มอัตราการคงอยู่ดังกล่าว |
1. พัฒนากรอบการประเมินกิจกรรมเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่โดยเพิ่มตัวชี้วัดเชิงผลลัพธ์ เช่น
- อัตราการคงอยู่ของนักศึกษา (Retention Rate)
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในชั้นปีที่ 1
- ทักษะการปรับตัวและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมมหาวิทยาลัย
2. วิเคราะห์แนวโน้มผลลัพธ์ (Outcome Trend) เป็นระยะ เพื่อติดตามประสิทธิภาพของกิจกรรมต่อเนื่อง
3. วางแนวทางปฏิบัติการศึกษาปัจจัยในกิจกรรมที่มีผลต่อการตัดสินใจคงอยู่หรือลาออกของนักศึกษา และ นำข้อมูลเชิงลึกจากการวิเคราะห์มาปรับปรุงกระบวนการ
|
การจัดกิจกรรมกลุ่มระหว่าง อ. ที่ปรึกษา รวมไปถึง อ.ที่มีการสอนในรายวิชาของกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และตัวกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เอง โดยจัดกิจกรรมเป้นช่วงก่อนเริ่มปีการศึกษา และ หลังจบปีการศึกษาแรก |
อาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าหลักสูตร และ อาจารย์ประจำหลักสูตร |
2) |
จากเอกสารหลักฐาน อภบ.3.2.02 ผลสรุปแบบประเมินอาจารย์ที่ปรึกษา 2566 ไม่พบรายละเอียดหัวข้อย่อยในการประเมินอาจารย์ที่ปรึกษา ทำให้มองไม่เห็นจุดแข็งจุดอ่อนในรายละเอียดการควบคุมดูแล ให้คำปรึกษาต่าง ๆ เพื่อนำผลประเมินมาปรับปรุงระบบอาจารย์ที่ปรึกษา |
1. ปรับปรุงแบบประเมินอาจารย์ที่ปรึกษาให้มีหัวข้อย่อยชัดเจน เช่น
- ความถี่และคุณภาพการให้คำปรึกษา
- การติดตามผลการเรียนของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง
- การสนับสนุนด้านจิตใจและทักษะการปรับตัว
- การสื่อสารกับนักศึกษา (ช่องทางและประสิทธิภาพ)
2. ออกแบบแผนพัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยอาจจะจัดการจัดเวิร์กช็อประดมสมองกับอาจารย์ที่ปรึกษาและตัวแทนนักศึกษา เพื่อออกแบบแนวทางการให้คำปรึกษาที่ตอบโจทย์ |
1. เวิร์กช็อประดมสมองกับอาจารย์ที่ปรึกษาและตัวแทนนักศึกษา
2. การจัดการประชุมภายในหลักสูตร |
หัวหน้าหลักสูตร และ อาจารย์ประจำหลักสูตร |
3) |
หลักสูตรไม่ได้ใช้แบบฟอร์ม rqf.5 ใหม่ แต่ใช้ มคอ.5 เก่า จึงไม่เห็นการรายงานร้อยละสัมฤทธิผลการเรียนรู้รายวิชาตาม tqf.5 หรือ doe3 แต่หลักสูตรมารายงานภาพรวม สัมฤทธิผลการเรียนรู้ของหลักสูตรแยกตาม tqf.5 ใน rqf.7 จึงมองไม่เห็นการเชื่อมโยงค่าร้อยละสัมฤทธิผลที่เฉลี่ยมาจริงจาก rqf.5 |
1. ปรับใช้แบบฟอร์ม RQF.5 ตามมาตรฐานใหม่
|
แจ้งเป็นวาระการประชุมให้กับ อ.ทุกท่านในที่ประชุมหลักสูตร เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติ |
อาจารย์หัวหน้าหลักสูตร และ ฝ่ายวิชาการของหลักสูตร |
4) |
หลักสูตรอาจวิเคราะห์ จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนแยกตามรายวิชากลุ่มพื้นฐาน และกลุ่มวิชาออกแบบ เพื่อประเมินความเพียงพอ ทันสมัย และตอบโจทย์ผลลัพธ์การเรียนรู้ |
ทางสาขามีแนวทางการปรับปรุงตามนี้
1. จัดประเภทและวิเคราะห์ทรัพยากรสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้แยกตามกลุ่มรายวิชา
2. ประเมินความเพียงพอและทันสมัยของทรัพยากรสิ่งสนับสนุน
3. เชื่อมโยงทรัพยากรกับผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes)
4. จัดเก็บข้อมูลและรับฟังความคิดเห็น
5. จัดทำแผนปรับปรุงทรัพยากรสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
1. จัดประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อทำการวิเคราะห์ทรัพยากรสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
2. จัด workshop กลุ่มตัวอย่างของนักศึกษาเพื่อทำการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน |
5) |
คณาจารย์ของหลักสูตรยังขาดคุณวุฒิปริญญาเอก และตำแหน่งทางวิชาการ แม้ว่าทางหลักสูตรได้จัดทำแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์แต่ละท่าน ดังนั้น หลักสูตรต้องกำกับ ติดตามให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร คณาจารย์ควรพัฒนางานและได้รับการส่งเสริมด้านงานวิจัย เพื่อสามารถสร้างสรรค์งานวิชาการไปสู่ แนวทางการปรับปรุง (1) กำหนดรายชื่อของผู้ที่ใกล้ครบรอบยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการเพื่อผลิตและส่งผลงานสร้างสรรค์เข้าจัดแสดงเพื่อนำมาต่อยอดการส่งขอตำแหน่งทางวิชาการ (2) ดำเนินจัดคลินิกอบรมการเขียนบทความประกอบชิ้นงานสร้างสรรค์สำหรับอาจารย์ผู้ส่งผลงานสร้างสรรค์ เพื่อใช้ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ |
1. กำหนดรายชื่อของผู้ที่ใกล้ครบรอบยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการเพื่อผลิตและส่งผลงานสร้างสรรค์เข้าจัดแสดงเพื่อนำมาต่อยอดการส่งขอตำแหน่งทางวิชาการ
2. ดำเนินจัดคลินิกอบรมการเขียนบทความประกอบชิ้นงานสร้างสรรค์สำหรับอาจารย์ผู้ส่งผลงานสร้างสรรค์ เพื่อใช้ในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ |
การจัดการอบรมแนวทางการทำตำแหน่งวิชาการ |
อาจารย์ฝ่ายวิชาการของหลักสูตร |
6) |
นักศึกษามีการทำโครงงาน สร้างผลงานที่หลากหลาย จึงควรผลักดันให้ผลงานเหล่านั้นได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติและนานาชาติ แนวทางการปรับปรุง โครงการของนักศึกษา ควรมีการวางแผนให้ตรงกับความต้องการและยุทธศาสตร์ชาติ นอกจากนี้นักศึกษามีการทำโครงงาน สร้างผลงานที่หลากหลาย จึงควรผลักดันให้ผลงานเหล่านั้นได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติและนานาชาติ ควบคู่กับคณาจารย์ |
1. วางแผนให้ตรงกับความต้องการและยุทธศาสตร์ชาติ
2. ผลักดันให้ผลงานเหล่านั้นได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติและนานาชาติ ควบคู่กับคณาจารย์
3. จัดทำโครงการสนันสนุนนักศึกษาในการจัดส่งผลงานประกวด
4. สร้างความร่วมมือกับองค์กรภายนอกเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้สร้างผลงานจริง หรือมีผลงานเป็นที่ประจักษ์กับบุคคลภายนอกสถาบัน |
1. โครงการเผยแพร่ผลงานนักศึกษาสาขาออกแบบภายใน
2. ความร่วมมือกับองค์กรภายนอกในรายวิชาต่างๆ |
อาจารย์หัวหน้าหลักสูตร และ อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ และ ที่ปรึกษาโครงงานต่างๆ ที่สัมพันธ์กับยุทธศาสตร์ชาติ |
7) |
การประชาสัมพันธ์หลักสูตรอาจมีความหลากหลายช่องทางให้มากขึ้น เพื่อสื่อสารถึงกลุ่มนักเรียนที่สนใจ จนสามารถเพิ่มยอดนักศึกษาใหม่ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตร แนวทางการปรับปรุง (1) จัด workshop ร่วมกับโรงเรียนมัธยมที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นเป็นการบริการวิชาการ และ เป็นการประชาสัมพันธ์หลักสูตรไปในเวลาเดียวกัน (2) เพิ่มช่องทาง social network และ channel ต่างๆ และแต่งตั้งผู้ดูแลเพื่อคอยปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยอยู่ตลอด (3) เพิ่มช่องทางการทำความร่วมมือกับรร.ในต่างประเทศ |
1. จัด workshop ร่วมกับโรงเรียนมัธยมที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเป็นเป็นการบริการวิชาการ และ เป็นการประชาสัมพันธ์หลักสูตรไปในเวลาเดียวกัน
2. เพิ่มช่องทาง social network และ channel ต่างๆ และแต่งตั้งผู้ดูแลเพื่อคอยปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยอยู่ตลอด
3. เพิ่มช่องทางการทำความร่วมมือกับรร.ในต่างประเทศ |
1. โครงการประชาสัมพันธ์และแนะแนวทางการเรียนสาขาวิชาออกแบบภายในกับบุคคลภายนอก |
อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน |
8) |
ด้านความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต แนวทางการปรับปรุง ควรมีการสร้างกลไกให้เกิดเครือช่าย นักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่า ตลอดจนเครือข่ายผู้จ้างงานและผู้ใช้บัณฑิต |
สร้างกิจกรรมร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าสาขาวิชาออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อสร้างเครือข่ายในการติดต่อกับผู้ใช้บัณฑิตในอุตสาหกรรมการออกแบภายใน |
กิจกรรมร่วมกับสมาคมศิษย์เก่า |
อาจารย์หัวหน้าหลักสุตร และ ประจำหลักสูตรทุกท่าน |