การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยการออกแบบ
หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีความโดดเด่นเฉพาะทางด้านการออกแบบที่ความเป็นสากล และมีการพัฒนาปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนได้ตามกระแสวัฒนธรรมได้ดี มีการพัฒนาการเรียนการสอนให้ตอบโจทย์กับยุคสมัย และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยการศึกษาวิจัยโดยอาจารย์ประจำ และการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำแนวทางใหม่ ๆ มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร ส่งเสริมอาจารย์สร้างสรรค์งานด้านศิลปะการออกแบบ และส่งเสริมการขอรับสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้สำหรับการเรียนการสอน โครงการ The 12th International Arts & Design Symposium; “Work in Progress –The Devil is in The Details” ผศ.เรวัฒน์ ชำนาญ
2) อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับสากล พัฒนาศักยภาพอาจารย์ภายในให้เทียบเท่าระดับสากล และเพิ่มเติมผู้เชี่ยวชาญที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้รับองค์ความรู้ที่เหมาะสมและต่อยอดในการทำงานได้ในอนาคต กิจกรรมศึกษานอกสถานที่ นักศึกษาจะได้เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ และกิจกรรมการเชิญวิทยากรพิเศษมาร่วมสัมมนาให้ความรู้และลงมือปฏิบัติแก่นักศึกษา ผศ.เรวัฒน์ ชำนาญ
3) หลักสูตรมีจำนวนนักศึกษาต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมในช่องทาง Social media และหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการรับเข้านักศึกษาต่างชาติ จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์หลักสูตรออนไลน์ร่วมกับหน่วยงานภายนอก จัดงานกิจกรรม The 12th International Arts & Design Symposium ทั้งรูปแบบ on site และ online ผศ.เรวัฒน์ ชำนาญ
4) อาจารย์ผู้สอนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวิชาชีพการออกแบบ สร้างเครือข่ายการทำงานด้านวิชาชีพการออกแบบ เพื่อให้ทั้งอาจารย์และนักศึกษาได้มีโอกาสเข้าไปร่วมทำงานกับผู้มีชื่อเสียงในวิชาชีพการออกแบบ และพัฒนาศักยภาพอาจารย์และการเรียนการสอนให้เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาชีพ พัฒนาผลงานอาจารย์ให้เป็นที่ยอมรับผ่านโครงการ The 12th International Arts & Design Symposium; “Work in Progress –The Devil is in The Details” ในปี 2024 ผศ.เรวัฒน์ ชำนาญ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรวางแผนพัฒนาคุณวุฒิปริญญาเอกอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ส่งเสริมให้อาจารย์พัฒนาศักยภาพตัวเองด้วยการศึกษาต่อปริญญาเอก และการทำผลงานทางวิชาการ ให้อาจารย์ในหลักสูตรส่งผลงานเข้าร่วมงาน The 12th International Arts & Design Symposium; “Work in Progress –The Devil is in The Details” เพื่อใช้ในการปรับตำแหน่งทางวิชาการในระดับที่สูงขึ้น ร่วมด้วยกับการส่งเสริมให้อาจารย์ในหลักสูตรศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ผศ.เรวัฒน์ ชำนาญ
2) ควรพัฒนานักศึกษาให้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ หรือบทความวิชาการฯ ในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ เนื่องจากมีนักศึกษาชาวต่างชาติ มีการพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชา Research Design ให้นักศึกษาฝึกหัดการเขียนบทความวิจัยและวิชาการ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานจบการศึกษา จัดตั้งกิจกรรม Research Clinic ทุกวันจันทร์ เพื่อให้นักศึกษาเข้าพบอาจารย์ให้คำแนะนำในการเขียนบทความวิจัยและวิชาการในการตีพิมพ์เผยแพร่ในอนาคต ผศ.เรวัฒน์ ชำนาญ
3) หลักสูตรฯ กำกับดูแล และควบคุมให้นักศึกษาจบการศึกษาตามระยะเวลาที่หลักสูตรฯ กำหนด หรือให้มีอัตราการจบการศึกษาดีขึ้น มีการติดตามนักศึกษาเพิ่มเติม และให้คำแนะนำในการทำ Thesis เพื่อให้นักศึกษาจบตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ และให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพเหมาะสมต่อระดับการศึกษา กิจกรรมนำเสนอ Thesis Presentation เป็นประจำทุกเดือน ให้นักศึกษาฝึกหัดการนำเสนอผลงานวิจัย และการได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ผศ.เรวัฒน์ ชำนาญ