การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยการออกแบบ
หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีความโดดเด่นเฉพาะทางด้านการออกแบบที่มีความเป็นสากล มีความทันสมัยปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนใต้ตามกระแสวัฒนธรรมได้ดี พัฒนาเนื้อหาการเรียนการสอนให้เท่าทันกับทิศทางของวงการการออกแบบในระดับโลก จัดกิจกรรมที่ให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนให้มีความรู้ที่สามารถทำงานด้านการออกแบบได้อย่างเท่าทันกับกระแสความต้องการในวงการออกแบบของโลกได้ โดยผ่านกิจกรรมที่ชื่อว่า X-Periences in Design Trip ผู้อำนวยการและคณาจารย์ในหลักสูตรฯ
2) อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทางหลักสูตรฯ มีแผนพัฒนาอาจารย์ผู้สอน โดยสนับสนุนให้สร้างผลงานด้านการออกแบบและเข้าร่วมในงานด้านการออกแบบ ทั้งงานวิชาการและงานวิชาชีพ ทั้งในและต่างประเทศ - โครงการ Bangkok Design Week หรือเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ - ตลาดนัด Art Market - โครงการ OFOS (One Family One Soft Power) โครงการที่ตั้งเป้าสร้างคน พัฒนาศักยภาพ และฝึกฝนทักษะด้านวัฒนธรรมสร้างสรรค์ โดยการ Up skill และ Deskill - โครงการ Art ผู้อำนวยและคณาจารย์ในหลักสูตรฯ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรกำกับดูแล และควบคุมให้นักศึกษามีอัตราการสำเร็จการศึกษาดีขึ้น หลักสูตรฯมีการจัดทำแผนการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ทำงาน ส่งงานให้อยู่ในกรอกเวลาตามที่กำหนดและมีการสื่อสารกับนักศึกษาในหัวข้อต่างๆ การลงทะเบียน การเรียนภาษาอังกฤษ การหาหัวข้อวิทยานิพนธ์ การหาอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ การสอบวิทยานิพนธ์ และการแจ้งจบการศึกษา ร่วมทั้งทางหลักสูตรฯ ยังช่วยสนับสุนนนักศึกษาให้มีการติดต่อสื่อสารกับอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิดและคอยสอบถามอุปสรรค ปัญหาของนักศึกษาเป็นระยะ อีกทัั้งมีกลไลติดตามและควบคุมให้นักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาได้เจอกัน - สร้างTemplate ระยะเวลาการเรียนการสอน การส่งงานในแต่ละรายวิชา การให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษา การทำวิทยานิพนธ์ การส่งวิทยานิพนธ์และการส่งเอกสารแจ้งจบของนักศึกษาแต่ละคน อีกทั้งยังมีกิจกรรมภายใต้แผนการทำงานให้อยู่ในกรอบเวลาตามที่กำหนด - กำหนดแผนที่ชัดเจนเพื่อให้นักศึกษาจบทันตามกรอบเวลา - ประสานงานกับบัณฑิตวิทยาลัยและสำนักงานทะเบียนในการช่วยเหลือนักศึกษาส่งเอกสารการแจ้งจบตามกรอบเวลาที่บัณฑิตวิทยาลัยและสำนักงานทะเบียนกำหนด - มีการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่และแนะนำแนวทางการเรียนให้จบทันเวลา รวมทั้งยังแนะนำวิธีการเขียนวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้องและการจัดรูปแบบของวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้องตามแนวทางของบัณฑิตวิทยาลัย ผู้อำนวยการ คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ประจำหลักสูตรฯ
2) ส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร มีแผนการพัฒนาผลงานวิชาการการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการเพิ่มขึ้น และเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ในระดับนานาชาติต่อเนื่อง ส่งเสริมให้คณาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรฯเขียนงานวิชาการหรือสร้างสรรค์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติให้มากขึ้น รวมทั้งให้เพิ่มงานเขียนบทความและเผยแพร่ ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ - International Arts and Design Symposium "Work in Progress" - โครงการจัดตั้งวารสารศิลปและการออกแบบ ผู้อำนวยการและคณาจารย์ในหลักสูตรฯ
3) หลักสูตรควรส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาการสื่อสารและใช้ภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น - มีแผนพัฒนาผู้เรียนหรือนักศึกษาให้มีทักษะภาษาอังกฤษให้ดีขึ้นโดยทำความร่วมมือกับสถาบันภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรังสิต - มีการสื่อสารกับนักศึกษาตลอดปีการศึกษาให้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาภาษาอังกฤษที่สถาบันภาษาอังกฤษ มหวิทยาลัยรังสิตจัดขึ้น - แนะนำแนวทางการเรียนภาษาอังกฤษในรูปแบบออนไลน์หรือการเรียนด้วยตนเองเพื่อให้มีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น - หลักสูตร Building and Developing Academic English ของสถาบันภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรังสิต - หลักสูตร Developing Academic English ของสถาบันภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้อำนวยการ คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ประจำหลักสูตรฯ
4) หลักสูตรควรนำส่งเล่มรายงามประกันคุณภาพการศึกษา RQF.7 ให้ทันตามกรอบเวลาที่กำหนด มีการปรับปรุงแผนการทำเล่มรายงานประกันคุณภาพการศึกษา RQF.7 โดยเริ่มเขียนรายงานประกันคุณภาพการศึกษา RQF.7 ตั่งแต่เปิดปีการศึกษา 2567 เลย และมีการรวบรวมหลักฐานประกอบฯเป็นระยะๆ มีการประชุมกรรมการประกันคุณภาพภายในหลักสูตรฯ ทุกเดือน เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาเขียนเป็นรายงานประกันคุณภาพการศึกษา RQF.7ให้เสร็จทันตามกรอบที่สำนักงานประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยรังสิตกำหนด ผู้อำนวยการ คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ประจำหลักสูตรฯ