# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
หลักสูตรมีการปรับปรุงให้มีความเป็นนานาชาติมากขึ้น สามารถรับนักศึกษาต่างชาติได้ต่อเนื่องมาสามปีการศึกษา ควรได้รับการสนับสนุนทางด้านระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย เช่น การปรับปรุงระบบการลงทะเบียนที่มีความซับซ้อนและไม่เหมาะกับนักศึกษาต่างชาติ การปรับปรุงระบบเอกสารที่ยังเป็นภาษาไทยเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น |
ปัจจุบันหลักสูตรได้ประบปรุงเอกสารการลงทะเบียนต่างๆให้มีลักษณะเป็น เอกสาร 2 ภาษาเรียบร้อยเเล้ว |
|
อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน |
2) |
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีผลงานสร้างสรรค์ที่มีการนำมาบูรณาการในการเรียน การสอน โดยเฉพาะการพัฒนาชุมชน ด้วยการให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จเป็นผลงาน ควรให้มีการต่อยอดในเรื่องการเผยแพร่ผลงานให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในรูปแบบต่างๆ เช่นบทความทางวิชาการ นิทรรศการ เป็นต้น
|
ในปีการศึกษา 2567 ทางหลักสูตรได้มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้กับนักศึกษาโดยมีการบุรณาการร่วมกับ Chiba university และ สาขาออกแบบภายใน เพื่อให้นักศึกษาได้ลงพื้นที่ศึกษาเกี่ยวกับชุมชมเก่า ท่าเตียน และได้นำผลงานมานำเสนอที่วิทยาลัยการออกแบบให้กับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่รวมถึงผู้ที่สนใจเพื่อส่งต่อให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนำไปใช้ประโยชน์ต่อในอนาคต |
โครงการ craft experience |
อ.ปฏิพัทธิ์ ชัยวิเทศ |
3) |
หลักสูตรมีคะแนนเฉลี่ยรวมคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และด้านผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ในระดับดีมาก แต่มีผลประเมินบัณฑิตต่อความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพเฉลี่ย 3.50 และมีผลประเมินบัณฑิตต่อความสามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปะและการออกแบบ นำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเฉลี่ย 3.50 หลักสูตรสามารถใช้ผลประเมินดังกล่าวเป็นข้อมูลประกอบการปรับปรุงกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา |
จากข้อมูลดังกล่าว ทางหลักสูตรได้มีการดำเนินการเพิ่มกิจจกรรมที่ช่วยให้นักศึกษาฝึกทักษะในการนำเสนอผลงาน และสื่อสารต่อสาธรณะชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในรายวิชา prtfolio presentation โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกร่วมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้ามา จัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้กับนักศึกษา |
|
อ.ปฏิพัทธิ์ ชัยวิเทศ |
4) |
หลักสูตรออกแบบได้มีการประชุมร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อสอบถามถึงความต้องการ รวมถึงการรับฟังความเห็นของนักศึกษาเพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการที่แท้จริงในการปรับปรุงสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และได้จัดหาครุภัณฑ์ที่ไม่เพียงพอ ที่มีความต้องการใช้งาน เข้ามาทดแทน ทั้งนี้หลักสูตรมีโครงการสำหรับจัดซื้อครุภัณฑ์ทุกปี ได้มีการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ผุ้สอนต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และเป็นปีแรกที่เริ่มมีการหาแหล่งทุนจากภายนอกมาสนับสุนเครื่องมือและอุปกรณ์ |
ทางหลักสูตรมีการจัดประชุมและรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายในทุกภาคการศึกษาเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข และมีการให้อาจารย์ประจำหลักสูตรแจ้งความจำนงค์หากมีความต้องการวัสดุอุปกรณืเพอ่มเติมหรือต้องการซ่อมแซม อุปกรณืต่างๆ ก่อนที่จะจัดสรรงบประมาณในแต่ละปี |
|
อ.ปฏิพัทธิ์ ชัยวิเทศ |
# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
หลักสูตรควรส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรขอตำแหน่งวิชาการให้เป็นไปตามที่ปรากฎในแผนพัฒนา |
ในปีการศึกษา 2567 ทางหลักสูตรได้มีการผลักดันให้อาจารย์ 2 ท่านเร่งขอตำแหน่งวิชาการ และ สมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญาเอก เพื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนา |
|
อ.ปฏิพัทธิ์ ชัยวิเทศ
อ.เขต ศิริภักด |
2) |
หลักสูตรควรรายงานการประเมินกระบวนการเตรียมความพร้อมในทุกด้านนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ และรายงานผลลัพธ์ของทุกกิจกรรมการเตรียมความพร้อมว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ เช่น ร้อยละของนักศึกษาใหม่ที่มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ เมื่อผ่านกิจกรรมเตรียมความพร้อมต่าง ๆ เพื่อนำผลประเมินไปปรับปรุงกระบวนการ |
ทางหลักสูตรได้เริ่มปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกินประโยชน์สูงสุดแก่นักศึกษาในปีการศึกษา 2567 |
|
อาจารย์กิตติวัฒน์โลหะการ |
3) |
จากหลักฐานการประเมินอาจารย์ที่ปรึกษาในระบบ dbs พบว่าไม่มีรายละเอียดผลการประเมินแยกหัวข้อการประเมินของอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นการสรุปคะแนนเหมือนใน RQF.7 ทำให้มองไม่เห็นจุดแข็งจุดอ่อนจากการประเมินที่จะนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการในรายข้อย่อยของระบบอาจารย์ที่ปรึกษา |
ทางหลักสูตรได้ทำการกำชับให้อาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละชั้นปีดำเนินการให้นักศึกษาทำการประเมินอาจารย์ที่ปรึกษาเล้ว |
|
อ.ปฏิพัทธิ์ ชัยวิเทศ |
4) |
หลักสูตรควรรายงานผลลัพธ์ของการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่นอกเหนือจากคะแนนความพีงพอใจ โดยการรายงานค่าร้อยละของจำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมเทียบกับนักศึกษากลุ่มเป้าหมายทั้งหมด(เชิงปริมาณ) และรายงานค่าร้อยละนักศึกษาที่ได้รับการพัฒนาให้เกิดทักษะต่าง ๆ เทียบกับตัวชี้วัดตามค่าเป้าหมาย(เชิงคุณภาพ) และรายงานการนำผลประเมินไปปรับปรุงกระบวนการออกแบบกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 |
ทางหลักสูตรได้เรอ่มดำเนินการจัดทำการประเมินดังกล่าวในปีการศึกษา 2567 แล้ว |
|
อาจารย์กิตติวัฒน์โลหะการ |
5) |
หลักสูตรควรสรุปการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชาตามแบบฟอร์ม rqf.5 ถึงร้อยละนักศึกษาที่มีความรู้ ทักษะ คุณธรรมจริยธรรมตามข้อย่อยที่ได้ mapping เอาไว้ เพื่อเปรียบเทียบปีต่อปี และนำผลประเมินไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน และเตรียมความพร้อมรับการ pre audit post audit ในอนาคต |
ทางหลังสูตรได้แจ้งให้กับอาจารย์ประจำสาขาดำเนินการแล้ว |
|
อาจารย์ประจำสาขาทุกท่าน |
6) |
ควรปรับปรุง พัฒนาสภาพแวดล้อมโรงฝึกปฏิบัติงานให้ทันสมัย เหมาะสมกับสาขาการออกแบบนานาชาติ |
ทางหลักสูตรได้มีการของบประมาณในการพัฒนาพื้นที่โรงฝึกในแต่ละปีการศึกษา เพื่อให้ใกล้เคียงกับความทันสมัยมากที่สุด |
|
ผศ.ศิริเพ็ญ ธนานันทกิจ |
7) |
ควรรายงานผลการประเมินคุณภาพการสอน ให้ครบถ้วนทุกรายวิชา พร้อมแสดงสรุปค่าเฉลี่ยให้เห็นชัดเจน |
ทางหลักสูตรได้กำชับไปยังอาจารย์ประจำสาขาทุกท่านแล้วในปีการศึกษา 2567 |
|
|