การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยการออกแบบ
หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรฯ ตอบรับสภาวะเศรษฐกิจ สามารถจะสำเร็จการศึกษาได้ ภายใน 3 ปีครึ่ง และมีเนื้อหารายวิชาที่ครอบคลุมในวิชาชีพออกแบบนิเทศศิลป์ ได้แก่ ออกแบบโฆษณา ออกแบบกราฟิก ออกแบบอินเตอร์แอกทีฟ และออกแบบแบรนด์ ซึ่งมีความทันสมัยสำหรับโลกดิจิทัลและสังคมออนไลน์ พัฒนาให้นักศึกษาได้เรียนรู้ประเภทสื่อออนไลน์ต่างๆ และสอนให้สามารถปฏิบัติงานได้จริง โดยได้เสริมเข้าในหลักสูตรการเรียนการสอน สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการประกวดการ และเข้าร่วมในการเรียนรู้จากภายนอกมหาวิทยาลัย และมีการจัดการประกวดภายในวิทยาลัยการออกแบบ อาจารย์ในสาขานิเทศศิลป์ทุกท่าน รวมทั้งอาจารย์ในหมวดพื้นฐานบางท่าน
2) หลักสูตรฯมีโครงการผลิตสื่อภาพยนต์สั้นจัดทำโดยนักศึกษาในชั้นเรียนเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตร และมีโครงการให้นักเรียนระดับมัธยมทั่วประเทศเข้าทดลองเรียนได้ เป็นการส่งเสริมการับนักศึกษาได้อย่างดีเพราะเป็นการเข้าหากลุ่มเป้าหมายทางการตลาดได้ตรง ให้ความรู้กับนักศึกษาในการเรียนการสอนให้มากขึ้น เพื่อติดตามโลก Digital และการสื่อสาร online รวมทั้ง Social media ต่างๆ ในอินเตอร์เน็ท ในรายวิชาที่่เกี่ยวข้องจะทำการ ประเมินผลและวัดผล และให้นักศึกษานำความรู้ความสามารถที่ได้นักศึกษาเรียนรู้ นำไปเข้าร่วมประกวดการแข่งขันระดับต่างๆ ภายนอกมหาวิทยาลัย อาจารย์ทุกท่านในสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
3) หลักสูตรฯ มีการจัดโครงการด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน มีการนำพานักศึกษาไปเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมความเป็นจริงภายนอกมหาวิทยาลัย นำความรู้ที่ได้จากภายนอกมหาวิทยาลัยมาเป็นประเด็นในการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจและแก้ปัญหา อาจารย์ทุกท่านในสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
4) หลักสูตรมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณภาพ อาจารย์ในหลักสูตรฯ ได้เข้าร่วมแสดงผลงานสร้างสรรค์ ในงานวิชาการระดับนานาชาติ ทุกปีการศึกษา ส่งเสริมให้อาจารย์ในสาขา ได้เรียนรู้และเข้าอบรมในเรื่องของวิทยาการใหม่ๆ เพื่อนำมาสู่การเรียนการสอนในชั้นเรียน การเข้าร่วมส่งผลงานระดับนานาชาติ สนับสนุนให้มีการทำตำแหน่งทางวิชาการ และสนับสนุนให้มีการเขียนบทความและทำวิจัย อาจารย์ทุกท่านในสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรรายงานว่ามีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ผ่าน 4 ช่องทาง แต่ไม่รายงานถึงผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ว่าดีกว่าปีที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด หรือผลการทวนสอบแสดงให้เห็นถึงการมีทักษะในด้านต่างๆ ของนักศึกษาเป็นไปตามที่คาดหวัง ทำการสอนให้มีความคลอบคลุมในเนื้อหาและใช้เวลาการเรียนการสอนให้น้อยลง และตัดบางรายวิชาที่ซ้ำซ้อนออก ใช้ประเมินจากการเรียนการสอนในรายวิชา อาจารย์ทุกท่านในสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
2) หลักสูตรควรมีมาตรการหรือแผนบริหารความเสี่ยงในการกำกับดูแลแนวโน้มอัตราการสำเร็จการศึกษา พิจารณาจากการประกันความเสี่ยงของอัตราการสำเร็จการศึกษา มีการนำสถิติการประเมินผลและอัตราการคงอยู่ของนักศึกษามาพ้ัฒนาปรับปรุง อาจารย์ทุกท่านในสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
3) หลักสูตรควรได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยในการจัดหาหรือจัดการให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอเหมาะสม 1. สาขาจัดหาผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นวิทยากรให้แก่นักศึกษา และอาจารย์เข้าร่วมรับฟังในเรื่องของเทคโนโลยีและการสื่อสารออนไลน์ในโลกยุคใหม่ 2. ทางมหาวิทยาลัยควรเปิดโอกาสให้อาจารย์หรือบุคลากรในสาขาฯได้เพิ่มพูลความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ๆ จากสังคมภายนอก 3. มหาวิทยาลัยควรส่งเสริมสนับสนุนด้านการเงินให่้บุคลากรได้เพิ่มพูลความรู้ในเทคโนโลยีใหม่ๆ และ workshop ต่างๆ จากภายนอก จัดสัมมนาโดยให้อาจารย์ที่ได้เรียนรู้จากภายนอกมาจัดบรรยายสัมมนาให้นักศึกษาและบุคลากรได้รับฟัง อาจารย์ทุกท่านในสาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์