การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยการออกแบบ
หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณภาพ เข้าร่วมแสดงผลงานสร้างสรรค์ ในงานวิชาการระดับนานาชาติ ทุกปีการศึกษา สาขาวิชาการมีการสนับสนุน และผลักดันช่วยเหลือให้อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์พิเศษในหลักสูตรเข้าร่วมแสดงผลงานสร้างสรรค์ ในงานวิชาการระดับนานาชาติ ทุกปีการศึกษา The 12th International Design Symposium อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน
2) หลักสูตรฯ มีการจัดโครงการด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน สามารถใช้วิชาชีพลงชุมชนได้ หลักสูตรได้มีการส่งเสริมการให้นักศึกษาได้ใช่ความรู้ความสามารถแก่ชุมชนและสังคม จะการเปิดรายวิชา VCD47 การออกแบบนิเทศศิลป์เพื่อชุมชนทุกภาคการศึกษา และได้จัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนการลงพื้นที่ชุมชนในการหาข้อมูลความต้องการ และปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ กิจกรรมในรายวิชา VCD47 การออกแบบนิเทศศิลป์ อาจารย์ศุภร ชูทรงเดช
3) มีหลักสูตรที่ทันสมัย ปรับตัวได้ทันตามสถานการณ์ ร่วมมือกับองค์กรภายนอกและผู้มีส่วนได้เสียในการใช้บัณฑิตและนำมาปรับปรุงรายวิชาได้เห็นประสิทธิภาพมากขึ้น การส่งเสริมความสัมพันธ์กับหน่วยงา องค์กรภายนอก รวมถึงนักวิชาชีพที่เป็นที่น่าสนใจในแต่ละปีการศึกษา ทั้งในการร่วมงาน การเชิญมาเป็นวิทยากรในรายวิชาต่างๆ หรือการเชิฯมาเป็นอาจารย์พิเศษในรายวิชาที่เหมาะสม อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรมีมาตรการในการกำกับดูแลแนวโน้มอัตราการสำเร็จการศึกษา รวมถึงอัตราการคงอยู่ให้ดีขึ้น แบ่งการแก้ไขเป็น 2 ประเด็น ดังนี้ 1. ปัญหาอัตราการสำเร็จการศึกษาจากนักศึกษาเรียนไปครบหลักสูตรในระยะเวลาของแผนการศึกษาเนื่องจาการไม่ลงทะเบียนเรียนตามแผนการศึกษา ประเด็นนี้ให้อาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละชั้นปี ตรวจสอบและให้คำแนะนำให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนตามแผนการศึกษา 2. ปัญหาอัตราการสำเร็จการศึกษาจากนักศึกษาไม่ผ่านในรายวิชาศิลปนิพนธ์ ได้มีการวางแผนการกำหนดกระบวนการทำงานที่มีระบบตรวจเช็คผลงานเป็นระยะๆ ทั้งจากอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษาชั้นปีที่ 4 อีกทั้งมีการอบรมเสริมในการทำงานแต่ละกลุ่มประเภทสื่อผลงานของศิลปนิพนธ์ การอบรมเสริมในการทำงานแต่ละกลุ่มประเภทสื่อผลงานของศิลปนิพนธ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการทุกท่าน
2) ในการปรับปรุงการดำเนินการที่นำผลจากปีการศึกษาก่อนมาปรับใช้ ควรอธิบายการพัฒนาให้เป็นรูปธรรม เพื่อเห็นการเปลี่ยนแปลงในแนวทางที่ดีขึ้น หลักสูตรได้มีการเก็บข้อมูลในรายวิชาสำคัญๆ หรือรายวิชาที่มีปัญหาผลงานเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ นำมาหารือวางแนวทางแก้ไขร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในรายวิชานั้น เช่น รายวิชาศิลปนิพนธ์ปี 2564 มีนักศึกษาผ่าน 72.8% ไม่ผ่าน 27.2% ปี 2565 มีนักศึกษาผ่าน 67.2% ไม่ผ่าน 32.8% ปี 2566 มีนักศึกษาผ่าน 77.15% ไม่ผ่าน 22.85% และปี 2567 มีนักศึกษาผ่าน80.37% ไม่ผ่าน 19.63% ข้อมูลสถิตินี้ได้มีการหารือกับทีมอาจารย์ที่ปรึกษาศิลปนิพนธ์ในแต่ละปี และสื่อสารกับนักศึกษาในการผลักดันช่วยเหลือให้ค่าเฉลี่ยของนักศึกษาที่ไม่ผ่านน้อยลงในทุกๆ ปีเป็นการตั้งเป้าหมายร่วมกันของทั้งอาจารย์และนักศึกษา การจัดประชุมทุกๆ การตรวจศิลปนิพนธ์ อาจารย์ที่ปรึกษาศิลปนิพนธ์ของหลักสูตร
3) หลักสูตรฯ ควรนำเสนอสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทั้งหมดของหลักสูตรฯ นำมาเปรียบเทียบระหว่างปีการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้ม รวมถึงจัดหา สิ่งสนับสนุนให้เหมาะสมกับความต้องการของนักศึกษาในอนาคต หลักสูตร ได้มีการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาสิ่งสนับสนุนทั้งในด้านของการจัดหาครุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยในการเรียนการสอน การพัฒนาบรรยากาศในห้องเรียนภาคปฏิบัติต่างๆ ให้มีความเหมาะสมกับหลักสูตรมากยิ่งขึ้น การหารือในการจัดสรรงบประมาณทั้งในระดับหลักสูตรและวิทยาลัย อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน
4) หลักสูตรควรรายงาน Output Outcome ที่ชัดเจน และมีแนวโน้มที่ดีขึ้น และสามารถวัดผลได้ว่าดีขึ้นอย่างไร และจะต้องมี Impact ที่ส่งผลเชิงบวกต่อตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้องกัน การส่งเสริมการจัดแสดงผลงานของนักศึกษาแต่ละชั้นปี เพื่อเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้นักศึกษาได้เห็นผลงานที่มีคุณภาพของนักศึกษาแต่ละชั้นปี ทำให้นักศึกษาแต่ละชั้นปีได้เห็นแนวทางการเรียน การออกแบบในภาคเรียนของตนเองในอนาคต และเป็นการผลักดันให้นักศึกษาได้พัฒนาผลงานของตนเองอีกทางหนึ่ง การจัดนิทรรศการแสดงผลงานนักศึกษาในแต่ละชั้นปี อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่าน