การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะทัศนมาตรศาสตร์
หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีการประสานความร่วมมือกับแหล่งฝึกงานโดยมีการส่งนักศึกษาเข้าฝึกงานในทุกภาคการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน และมีการออกนิเทศแหล่งฝึกโดยอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อรับทราบข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่างๆจากแหล่งฝึกเพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับปรุง
2) หลักสูตรมีการบูรณาการระหว่างการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการโดยมีการให้นักศึกษาใช้ความรู้จากที่เรียนนำไปปฏิบัติจริงในการออกบริการชุมชนด้านการตรวจคัดกรองโรคตาและตรวจวัดสายตา ปีละ 1 ครั้ง และนำผลการประเมินความพึงพอใจมาปรับปรุงในการออกหน่วยบริการชุมชนครั้งถัดไป
3) ในปีที่ผ่านมามีผลการประเมินคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ จากผู้ใช้บัณฑิต โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.71 จากระดับ 5 และมีอัตราการทำงานของบัณฑิต ร้อยละ 100
4) ในปีที่ผ่านมาพบว่าผลคะแนนแบบประเมินคุณภาพบัณฑิตจากผู้ใช้บัณฑิต แบ่งตามการเรียนรู้แต่ละด้าน ดังนี้ 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม คะแนนเฉลี่ย 4.76 2. ด้านความรู้ คะแนนเฉลี่ย 4.68 3. ด้านทักษะทางปัญญา คะแนนเฉลี่ย 4.71 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ คะแนนเฉลี่ย 4.71 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คะแนนเฉลี่ย 4.71
5) หลักสูตรมีการดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและเตรียมความพร้อมก่อนที่นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาและออกไปทำงาน เช่นโครงการปัจฉิมนิเทศ แนวทางการประกอบอาชีพและการเขียน Resume
6) หลักสูตรมีการส่งอาจารย์เข้าร่วมอบรมในโครงการต่างๆเพื่อพัฒนาทักษะด้านการสอนและการวิจัยอย่างต่อเนื่อง
7) หลักสูตรมีแหล่งสนับสนุนการเรียนรู้และแหล่งฝึกงานที่หลากหลายรูปแบบทั้งในโรงพยาบาลรัฐ เอกชน บริษัท และร้านแว่น

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ปีที่ผ่านมาพบว่าจานวนนักศึกษา ลาออกจานวน 10 คน ถูกคัดชื่อออกจานวน 3 คน รวมจานวนทั้งสิ้น 13 คน คิดเป็นร้อยละอัตราการคงอยู่ เท่ากับ 89.83% แต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา โดยมอบหมายให้อาจารย์ 1 ท่าน ดูแลนักศึกษาจำนวน 10-20 คน ต่อเนื่องจนจบการศึกษา โดยดูแลและให้คำปรึกษากับนักศึกษาในหลายๆด้าน ทั้งทางด้านวิชาการ การแนะแนวการศึกษาและด้านการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้รับรู้ปัญหาของนักศึกษา และหาแนวทางแก้ไขให้กับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนให้คำปรึกษากับนักศึกษาให้สามารถสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด เพื่อลดอัตราการลาออกจากปัญหาที่อาจารย์ที่ปรึกษาและคณะสามารถแก้ไข้ปัญหานั้นได้ จัดตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อดูแลนักศึกษาที่เข้ามาใหม่ในทุกๆปี ซึ่งหลักสูตรฯได้มีการมอบหมายให้อาจารย์ปรึกษาติดตามผลการเรียนรวมหรือรายวิชาที่มีความเสี่ยง และให้คาปรึกษานักศึกษาในอยู่ในความดูแล หากมีปัญหาจะนาเข้ารายงานผลในที่ประชุม เพื่อแนวทางแก้ปัญหาต่อไป พบว่านักศึกษาเข้าปรึกษาปัญหาและเข้าถึงอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ประจาวิชามากขึ้น รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษา
2) ปรับปรุงกิจกรรมการพัฒนานักศึกษาตามข้อมูลป้อนกลับจากผู้่เรียน กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาใหม่ โดยจัดอบรมนักศึกษาใหม่ซึ่งจะให้ความรู้พื้นฐานในด้านทัศนมาตรศาสตร์ให้กับนักศึกษา และปูพื้นฐานการเรียนภาษาอังกฤษ และทำแบบประเมินความพึงพอใน ความเข้าใจในหลักสูตรทัศนมาตรศาสตร์ จัดอบรมนักศึกษาใหม่ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
3) เร่งพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ทั้งทางด้านวิชาการ/วิชาชีพ ประชุมเพื่อจัดทำแผนการประเมินผลการพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จของอาจารย์รายบุคคลทั้งทางด้านวิชาการ/วิชาชีพ ประชุมเพื่อจัดทำแผนพัฒนาอาจารย์รายบุคคล ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่านผลิตผลงานวิชาการให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ตรงตามเกณฑ์ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร
4) เพิ่มอัตรการคงอยู่และอัตราการสำเร็จของนักศึกษา ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายกระบวนการ ได้แก่ กระบวนการรับ กระบวนการเตรียมความพร้อม กระบวนการดูแลให้คำปรึกษา กระบวนการเรียนการสอน ฯลฯ ทั้งนี้ต้องศึกษาวิเคราะ์ให้รู้ปัจจัยสาเหตุ และปรับปรุงกระบวนการที่เฉพาะเจาะจง แต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา โดยมอบหมายให้อาจารย์ 1 ท่าน ดูแลนักศึกษาจำนวน 10-20 คน ต่อเนื่องจนจบการศึกษา โดยดูแลและให้คำปรึกษากับนักศึกษาในหลายๆด้าน ทั้งทางด้านวิชาการ การแนะแนวการศึกษาและด้านการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้รับรู้ปัญหาของนักศึกษา และหาแนวทางแก้ไขให้กับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนให้คำปรึกษากับนักศึกษาให้สามารถสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด เพื่อลดอัตราการลาออกจากปัญหาที่อาจารย์ที่ปรึกษาและคณะสามารถแก้ไข้ปัญหานั้นได้ มอบหมายให้อาจารย์ที่ปรึกษาดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษา
5) ปรับปรุงกระบวนการจัดเรียนการสอนและการประเมินผล ให้เป็นวงจรการพัฒนาคุณภาพที่แท้จริง และปรากฎชัดเจนใน มคอ. 3/4 มคอ. 5/6 และ มคอ. 7 มีการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ และเสนอผลพร้อมแนวทางการปรับปรุงครั้งต่อไป ใน มคอ.5/6 ผลการประเมินและแนวทางการปรับรุงใน มคอ.5/6 ทุกรายวิชาจะรวบรวมไว้ใน มคอ. 7 เมื่อจะวางแผนรายวิชา (มคอ.3/4) ในครั้งต่อไปจะนำผลการประเมินและแนวทางการปรับปรุงมาใช้ และติดตามผลลัพธ์ต่อไปว่าดีขึ้นหรือไม่ ต่อเนื่องเช่นนี้เป็นวงจรคุณภาพ จัดประชุมเพื่อปรับปรุงกระบวนการจัดเรียนการสอนและการประเมินผลให้มีคุณภาพและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น จัดประชุม อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตร
6) เร่งรัดการพัฒนาอาจารย์ ทั้งคุณวุฒิ ตำแหน่งทางวิชาการ และการผลิตผลงานทางวิชาการ และพัฒนาอาจารย์ให้มีศักยภาพในการวิจัย ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ประจำทุกท่านผลิตผลงานวิชาการให้เพิ่มมากขึ้น และสนับสนุนการเพิ่มคุณวุฒิของอาจารย์โดยการส่งอาจารย์เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น - คณบดี