# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
หลักสูตรฯ ได้รับการตอบสนองจากผู้เรียน มีผู้สนใจสมัครศึกษาเป็นจำนวนมากในแต่ละปี |
ประชาสัมพันธ์หลักสูตร การรับนักศึกษา ในโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, TikTok อย่างต่อเนื่อง |
โซเชียลมีเดียที่ใช้ประชาสัมพันธ์คณะฯ เช่น Facebook, Instagram, TikTok |
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายบริหาร และรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา |
2) |
มีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่นักศึกษาจำนวนมาก |
จัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ เพื่อการเรียนรู้และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของนักศึกษาให้เหมาะสมและเพียงพอ |
|
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายบริหาร |
3) |
มีการเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถไปเรียนรู้ในสถานพยาบาล และสถานประกอบการภาคเอกชน ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษามีความพร้อมในการประกอบวิชาชีพภายหลังสำเร็จการศึกษา |
ติดต่อกับสถานพยาบาลและสถานประกอบการภาคเอกชนเดิม พร้อมทั้งค้นหาเพิ่มเติมสถานที่ที่สามารถรองรับและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สามารถเข้าไปเรียนรู้ฝึกฝนประสบการณ์ ทั้งสถานพยาบาลและสถานประกอบการภาคเอกชน ผ่านการฝึกงานและดูงานในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ |
|
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และอาจารย์ประจำวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ |
4) |
มีการบูรณาการจัดการเรียนการสอนเข้ากับการบริการวิชาการที่ชัดเจน เอือให้นักศึกษาสามารถนำความรู้จากการเรียนไปใช้ในการประกอบวิชาชีพได้ และเรียนรู้ผ่านบริบทและความต้องการของสังคม |
จัดโครงการทัศนมาตรศาสตร์เคลื่อนที่เป็นประจำทุกปี เพื่อบูรณาการจัดการเรียนการสอนเข้ากับการบริการวิชาการและเพื่อนำความรู้ในวิชาชีพไปใช้ประโยชน์แก่ความต้องการของสังคม ในการตรวจคัดกรองโรคตาเบื้องต้นและวัดสายตา |
โครงการทัศนมาตรศาสตร์เคลื่อนที่ |
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ |
5) |
หลักสูตรได้รับการสนับสนุนจากผู้ประกอบการ เช่น โรงพยาบาล บริษัทผลิต lens และร้านแว่นเป็นจำนวนมากในการรับนักศึกษาฝึกงาน |
ติดต่อประสานงานคงความสัมพันธ์กับผู้ประกอบการเดิมอย่างต่อเนื่อง เช่น โรงพยาบาล บริษัทผลิต lens และร้านแว่นตา เพื่อเป็นแหล่งฝึกงานที่มีคุณภาพและสามารถรับนักศึกษาฝึกงานได้อย่างต่อเนื่องประจำทุกปี และค้นหาผู้ประกอบการเพิ่มเติมเพื่อรองรับนักศึกษาฝึกงานในแต่ละปี |
|
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา |
# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
ถึงแม้จะมีผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาเป็นจำนวนมาก แต่หลักสูตรยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการรักษาการคงอยู่ และการเตรียมความพร้อมแก่ผู้เรียนที่หลักสูตรรับเข้ามาศึกษา เนื่องจากหลักสูตรอธิบายว่ามีผู้เรียนกลุ่มหนึ่งที่ยังไม่สามารถสอบขึ้นปฏิบัติงานในชั้นคลินิกได้ รวมทั้งมีปัญหาในการเรียน เนื่องจากการรับเข้าศึกษาไม่มีการสอบวัดความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนในหลักสูตร จึงเป็นโอกาสในการปรับปรุง (Opportunity for Improvement : OFI) ของหลักสูตรในการพัฒนาระบบและกลไกการคัดเลือก ตลอดจนการเตรียมความพร้อมแก่ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถคงอยู่ในหลักสูตร และสามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามที่หลักสูตรวางแผนไว้
|
- ปีการศึกษา 2568 ทางคณะมีการจัดสอบคัดเลือกนักเรียนที่จะเข้าศึกษาในหลักสูตรทัศนมาตรศาสตร์พร้อมกับวิทยาลัยแพทยศาสตร์ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้เข้าศึกษา
- กลุ่มนักศึกษาที่ไม่สามารถสอบขึ้นปฏิบัติงานในชั้นคลินิกได้ คณะมีการจัดติวและอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบรอบถัดไป เพื่อเพิ่มโอกาสในการสอบผ่านในภาคเรียนหรือปีการศึกษาถัดไป
|
- ติวและอบรมความรู้พื้นฐานวิชาชีพสำหรับนักศึกษาที่สอบขึ้นปฏิบัติงานในชั้นคลินิกไม่ผ่าน |
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายบริหาร และอาจารย์ประจำวิชาชั้นคลินิก |
2) |
หลักสูตรควรมีการวางแนวทางในการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้สามารถสอบขึ้นทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพได้ตามข้อกำหนดของหลักสูตร |
คณะมีการจัดติวความรู้ทางวิชาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบันฑิตที่จบ ได้มีความรู้ความสามารถเพื่อนำไปสอบขึ้นทะเบียนใบอุนญาตให้ประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ ในทุกๆปี โดยทีมอาจารย์ประจำคณะทัศนมาตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต |
กิจกรรมติวบัณฑิตเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนใบอุนญาตให้ประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ |
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และอาจารย์ประจำคณะฯ |
3) |
ควรเร่งในการพัฒนาคุณวุฒิ และตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ตลอดจนอาจารย์ประจำที่รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตร
|
- ส่งเสริมและกำหนดแนวทางศึกษาให้กับอาจารย์ที่กำลังลาศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิตให้สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนด
- ส่งเสริมอาจารย์ประจำที่เข้าเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการให้อบรมงานที่เกี่ยวข้องกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ |
อบรมหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการขอตำแหน่งทางวิชาการ |
รองคณบดีฝ่ายบริหาร และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ |
4) |
เนื่องจากหลักสูตรมีการส่งนักศึกษาไปเรียนรู้ในสถานประกอบการ จึงควรมีการพัฒนาสถานประกอบการ/สถานพยาบาลในมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน และ/หรือการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาตามเป้าประสงค์ของหลักสูตร เช่น การจัดการอบรมเกี่ยวกับ Health profession education หรือการทำ Professional Learning Community (PLC) ร่วมกับสถานประกอบการ |
ประสานงานทางผู้ดูแลนักศึกษาให้จัดตารางการศึกษาให้กับนักศึกษาที่ไปปฏิบัติงานสถานประกอบการ/สถานพยาบาล เพื่อให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร |
|
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา |
5) |
จำนวนผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตรมีจำนวนน้อย และไม่ค่อยที่เป็น first author หรือ Corresponding author |
ส่งเสริมผลงานวิจัยอาจารย์ประจำหลักสูตรให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ โดยกำหนดให้อาจารย์ประจำหลักสูตรจะต้องเป็น first author หรือ Corresponding author |
งานประชุมวิชาการฯ และวารสารระดับชาติและนานาชาติต่างๆ |
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีฝ่ายบริหาร |