การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยครูสุริยเทพ
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีนักศึกษานานาชาติเป็นจำนวนมาก หลักสูตรมีแนวทางประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้เป็นที่รู้จักในประเทศที่หลากหลายขึ้น นอกจากประเทศจีนและพม่า พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ ใช้การประชาสัมพันธ์ทาง social networks ต่างๆ ให้มากขึ้น และ ส่งเสริมพัฒนาให้บุคลากรได้มีการเรียนเสริม ฝึกฝนความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ผู้อำนวยการหลักสูตร และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
2) มีการเผยแพร่ผลงานในฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับ อาจารย์ของหลักสูตรเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และมีความพยายามในการดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณค่าในวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และเห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม ส่งเสริม พัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ ให้มีผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ และมีการวางแผนเพื่อสร้างงานต่อไป เพื่ออาจารย์ทุกท่านในหลักสูตรฯมีผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการครบตามเกณฑ์การขอตำแหน่งวิชาการ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้มีการวางแผนการขอทุนวิจัยอย่างต่อเนื่องในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ในการนี้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ 2 ท่านได้รับทุกวิจัยจากมหาวิทยาลัยรังสิตเพื่อทำวิจัยด้านการเรียนการสอน และมีการวางแผนที่จะขอทุนวิจัยต่อไปเมื่อโครงการปัจจุบันเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา หลักสูตรฯมีการจัดโครงการอบรมการเขียนบทความวิจัยและบทความทางวิชาการ รวมทั้งวิธีการส่งผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์ให้กับนักศึกษาและอาจารย์ทุกท่านได้เข้าร่วม การอบรมในทุกครั้งได้รับการประเมินในระดับดีมาก และได้รับการตอบรับ และข้อคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเป็นอย่างดี อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ ทุกท่านที่เข้าอบรมได้รับประโยชน์ และได้นำความรู้ไปสร้างผลงานทางวิชาการได้อย่างเป็นรูปธรรมดังที่ได้เห็นจากผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯทุกท่านที่มีเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้อำนวยการหลักสูตร และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
3) อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการส่งเสริมให้นักศึกษาเผยแพร่วิทยานิพนธ์ในรูปแบบการตีพิมพ์ในวารสารจำนวนมาก รักษาคุณภาพผลงานวิทยานิพนธ์เพื่อให้นักศึกษาทุกคนได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือระดับนานาชาติที่ยอมรับให้ตีพิมพ์โดยมีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดโครงการอบรมการเขียนบทความวิจัยและบทความทางวิชาการ รวมทั้งวิธีการส่งผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์ให้กับนักศึกษาทั้งชาวไทยและชาสงต่างชาติได้เข้าร่วม โครงการเขียนบทความวิจัยและผลงานวิชาการ ผู้อำนวยการหลักสูตร และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
4) อาจารย์ประจำหลักสูตรมีผลงานทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการตามที่หลักสูตรได้กำหนด KPI ไว้ สนับสนุน และส่งเสริมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้มีการวางแผนการขอทุนวิจัยอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ในการนี้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ 2 ท่านได้รับทุกวิจัยจากมหาวิทยาลัยรังสิตเพื่อทำวิจัยด้านการเรียนการสอน และมีการวางแผนที่จะขอทุนวิจัยต่อไปเมื่อโครงการปัจจุบันเสร็จสิ้นสมบูรณ์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯมีผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ และมีการวางแผนเพื่อสร้างงานวิชาการระดับชาติและนานาชาติต่อไป เพื่ออาจารย์ทุกท่านในหลักสูตรฯมีผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการครบตามเกณฑ์การขอตำแหน่งวิชาการ โครงการเขียนบทความวิจัยและผลงานวิชาการ การประชุมหลักสูตร (จัดทุกๆ 2เดือน หรือในกรณีมีเหตุเร่งด่วน) ผู้อำนวยการหลักสูตร และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรืออาจารย์ผู้สอน
5) จากข้อมูลนักศึกษาที่รับเข้าตั้งแต่ปี 2562-2565 แสดงว่าเป็นหลักสูตรที่สนองต่อความต้องการ/ความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย แนวโน้มสามารถรับนักศึกษาได้เพิ่มขึ้น (เมื่อมีการปรับปรุงหลักสูตรในครั้งต่อไปโดยกำหนดเกณฑ์ตาม มคอ.2) วางแผนขออัตราและอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้มีความสมดุลย์ และเหมาะสมระหว่างจำนวนอาจารย์ และจำนวนนักศึกษาที่มีจำนวนมาก วางแผนให้มีจำนวนอาจารย์ และอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาต่างชาติที่เพิ่มขึ้น แผนขออัตราและอาจารย์ที่ปรึกษาจากส่วนกลางของมหาวิทยาลัย วางแผน คาดการณ์สถานการณ์ความนิยมของหลักสูตรฯ Competitiveness ของหลักสูตรฯ ในปี 2567 ผู้อำนวยการหลักสูตร และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรืออาจารย์ผู้สอน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรฯ ควรมีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในฐานนานาชาติและ TCI 1 ให้มากขึ้น อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้มีการวางแผนการขอทุนวิจัยอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ใน สนับสนุนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ 2 ท่านซึ่งได้รับทุกวิจัยจากมหาวิทยาลัยรังสิตเพื่อทำวิจัยด้านการเรียนการสอน และมีการวางแผนที่จะขอทุนวิจัยต่อไปเมื่อโครงการปัจจุบันเสร็จสิ้นสมบูรณ์ ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา หลักสูตรฯมีการจัดโครงการอบรมการเขียนบทความวิจัยและบทความทางวิชาการ รวมทั้งวิธีการส่งผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์ให้อาจารย์ทุกท่านได้เข้าร่วม การอบรมในทุกครั้งได้รับการประเมินในระดับดีมาก และได้รับการตอบรับ และข้อคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเป็นอย่างดี อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯทุกท่านที่เข้าอบรมได้รับประโยชน์ และได้นำความรู้ไปสร้างผลงานทางวิชาการได้อย่างเป็นรูปธรรมดังที่ได้เห็นจากผลงานทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯทุกท่านที่มีเพิ่มขึ้นทุกปี โครงการเขียนบทความวิจัยและผลงานวิชาการ ผู้อำนวยการหลักสูตร และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
2) หลักสูตรควรกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษา และ กลยุทธ์ในการรักษาอัตราคงอยู่ให้มีแนวโน้มสูงขึ้น สนับสนุนการผลิตผลงานวิชาการของอาจารย์ในระดับบุคคลมากขึ้น แผยแพร่ผลงานในระดับสากลมากขึ้น สนับสนุน ส่งเสริมให้อาจารย์ในหลักสูตรขอทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยรังสิตเพื่อทำวิจัยด้านการเรียนการสอน และมีการวางแผนที่จะขอทุนวิจัยต่อไปเมื่อโครงการปัจจุบันเสร็จสิ้นสมบูรณ์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ เข้าอบรม เพื่อผลิตผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ และนานาชาติ เพื่ออาจารย์ทุกท่านในหลักสูตรฯ มีผลงานตีพิมพ์ทางวิชาการครบตามเกณฑ์การขอตำแหน่งวิชาการในอนาคต เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์หลักสูตร ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โครงการเขียนบทความวิจัยและผลงานวิชาการ จัดทำจดหมาย โปสเตอร์ข้อมูลหลักสูตร เพื่อส่งไปที่โรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดใกล้เคียง การใช้ social networks ต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตร เพื่อให้โรงเรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถเข้าถึงข้อมูลของหลักสูตรได้โดยสะดวก ผู้อำนวยการหลักสูตร และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
3) หลักสูตรควรเพิ่มจำนวนนักศึกษาไทยให้มากขึ้น เพื่อสอดคล้องกับจำนวนรับที่ได้รับอนุมัติจากคุรุสภา เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์หลักสูตร ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย วางแผนการประชาสัมพันธ์ให้เร็วขึ้น อย่างน้อย 6-8 เดือนก่อนหน้าการเปิดภาคเรียนของปีการศึกษาใหม่ จัดทำจดหมาย โปสเตอร์ข้อมูลหลักสูตร เพื่อส่งไปที่โรงเรียนในจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดใกล้เคียง การใช้ social networks ต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตร เพื่อให้โรงเรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถเข้าถึงข้อมูลของหลักสูตรได้โดยสะดวก ผู้อำนวยการหลักสูตร และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร