การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยครูสุริยเทพ
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีระบบและกลไกรวมถึงกระบวนการในการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษามีผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารระดับชาติ ดังแสดงเป็นผลสำเร็จในจำนวนที่มากขึ้นของผลงานและการได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษา และแนะนำแหล่งตีพิมพ์ที่เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร นำเสนอผลการดำเนินงานการ ควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาให้ชัดเจน ทีมอาจารย์ที่ปรึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องแหล่งตีพิมพ์ที่มีคุณภาพ และได้รับการยอบรับเป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร คณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
2) มีระบบและกลไกรวมถึงกระบวนการในการพัฒนาแผนพัฒนาอาจารย์ในด้านการก้าวสู่ตำแหน่งวิชาการ การทำงานวิจัย และการเพิ่มทักษะวิชาชีพ ดังแสดงเป็นผลสำเร็จในการที่อาจารย์ผู้รับผิดชอบอยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อก้าวเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ การได้รับทุนวิจัย และผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งในวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติ ส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรขอทุนสนับสนุนงานวิจัย และหาแหล่งตีพิมพ์งานวิจัยในระดับนานาชาติ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต้องจัดทำผลงานทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้สามารถส่งผลงานทางวิชาการในระดับนานานชาติ คณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
3) หลักสูตรได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์มีส่วนร่วมในการบริการวิชาการของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ประชุมหารือ และหาแหล่งทุน ตลอดจนการเขียนโครงร่างฯ เพื่อขอทุนสนับสนุนการบริการวิชาการ คณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
4) ผลสำเร็จของการบริหารและพัฒนาอาจารย์มีความเด่นชัดที่อาจารย์ได้รับรางวัลระดับชาติในเรื่อง การบริหารการศึกษา รวมถึงการที่หลักสูตรมีแนวทางในการบริหารการเรียนการสอนที่ได้รับการถ่ายทอดให้อยู่ในระบบการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัย ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์พัฒนาตนเองทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งการแนะนำให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรถอดบทเรียนการจัดการความรู้ที่ประสบความสำเร็จ เพื่อบันทึกและถ่ายทอดประสบการณ์ให้ผู้อื่นได้รับทราบ การเขียนการถอดบทเรียนการจัดการความรู้ที่มีการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
5) เป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากคุรุสภา ศึกษาและติดตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของคุรุสภา ปฏิบัติตามมาตรฐานของคุรุสภาอย่างเคร่งครัด ติดตามผลการประเมินนักศึกษาหลังจบการศึกษา หลักสูตรตรวจสอบการได้รับใบประกอบวิชาชีพฯ ของนักศึกษา นำประเด็นเสนอสู่การพิจารณาของคณะกรรมการร่างหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาในกระบวนการปรับปรุงหลักสูตร คณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
6) หลักสูตรมีกระบวนการในการดำเนินการจัดกิจกรรมสำหรับการเตรียมความพร้อมของนักศึกษา การพัฒนานักศึกษา ซึ่งส่งผลให้อัตราการคงอยู่ของนักศึกษาเพิ่มขึ้น อาจารย์ผู้สอนจะต้องให้ความใส่ใจ และกระตุ้นให้นักศึกษา โดยเฉพาะนักศึกษาต่างชาติที่ต้องเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ เขียนรายงานการค้นคว้าอิสระเฉพาะบุคคลในอนาคตเป็นภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเขียนงานทางวิชาการให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานของหลักสูตร การประเมินกระบวนการการดำเนินงานด้านการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา จากกระบวนการสอบสัมภาษณ์ที่หลักสูตรได้ดำเนินการสอบถามเพื่อให้ได้ข้อมูลมาดำเนินการเตรียมความพร้อมซึ่งทำให้ได้กิจกรรมที่สามารถส่งผลต่อการศึกษาของนักศึกษามีผลการเรียนที่ดีขึ้น คณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
7) หลักสูตรมีความทันสมัยตรงต่อความต้องการของผู้เรียนที่นำไปใช้ได้จริงในการทำงานเป็นผู้บริหารทางการศึกษา จัดทำแผนการปรับปรุงหลักสูตร และศึกษาความต้องการของผู้เรียนที่นำไปใช้ได้จริงในการทำงานเป็นผู้บริหารทางการศึกษา การจัดทำหลักสูตรฉบับปรับปรุงภายใต้มาตรฐานความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ศึกษาเกณฑ์การจัดทำหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานการขอรับใบประกอบวิชาชีพจากคุรุสภาอย่างส่ำเสมอ คณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
8) ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาได้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษา และแนะนำแหล่งตีพิมพ์ในระดับนานาชาติที่ได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร นำเสนอผลการดำเนินงานการ ควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาให้ชัดเจน ทีมอาจารย์ที่ปรึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องแหล่งตีพิมพ์ที่มีคุณภาพ และได้รับการยอบรับเป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร คณะกรรมการหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาให้อาจารย์ก้าวสู่ตำแหน่งวิชาการมากขึ้น จัดทำแผนบริหารและพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้มี ความชัดเจน เป็นรูปธรรมครอบคลุมทั้งด้าน การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ การวิจัย การสอนและการตีพิมพ์ผลงาน มีกระบวนการในการดำเนินงาน และการประเมินผล หลักสูตรสนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรขอทุนสนับสนุนงานวิจัย ส่งเสริมสนับสนุนการเขียนหนังสือ หรือ เอกสารประกอบการสอนซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญของอาจารย์ในหลักสูตรให้มีคุณภาพเพื่อใช้ประกอบการสอนนักศึกษา เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ และ ใช้ประกอบขอตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์เข้าร่วมการอบรม/สัมมนาการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการจากสมาคมวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดของเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ จัดทำแผนพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้มีความชัดเจนและนำสู่การปฏิบัติ อาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการคอยให้คำปรึกษา แนะนำในการรวบรวม จัดเตรียมเอกสารเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ การเขียนโครงร่างการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนงานวิจัย การเขียนเอกสารประกอบการสอนและการสอบสอนที่มีการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
2) ควรให้มีการพัฒนามาตรการและแนวทางในการผลักดันให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนดของโครงสร้างของหลักสูตรมากขึ้น การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาเพิ่มความชัดเจนในการนำเสนอระบบ และกลไก นำเสนอผลการดำเนินงานการ ควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาให้ชัดเจน โดยอธิบายแสดงให้เห็นว่าหลักสูตรมีการจัดให้มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ทีมอาจารย์ที่ปรึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาที่สอดคล้องกับวิชาชีพ อาจารย์ที่ปรึกษาจัดประชุมกลุ่มย่อยกับนักศึกษาในความดูแลเพื่อประเมินและกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้แก่นักศึกษาในความดูแล เพื่อพัฒนาเป็นโครงร่างวิทยานิพนธ์ให้สมบูรณ์และสามารถสอบป้องกันโครงร่างและสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ได้ คณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
3) เพิ่มกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ หรือ กลยุทธ์การเพิ่มจำนวนนักศึกษา ได้แก่ การประชาสัมพันธ์เรื่องการรับรองหลักสูตรจากคุรุสภา เป็นต้น จัดทำแผนการประชาสัมพันธ์หลักสูตร การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อโปรโมทหลักสูตร ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรผ่านทางช่องทางออนไลน์ของมหาวิทยาลัย และเข้าร่วมประชาสัมพันธ์กับสมาคมวิชาชีพเพิ่มขึ้น ให้การสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย ให้เครือข่ายศิษย์เก่า/รุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จได้ใบประกอบวิชาชีพและเป็นผู้บริหารสถานศึกษาช่วยประชาสัมพันธ์หลักสูตร คณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
4) พื้นที่ห้องเรียนและอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องเรียน รวมถึงระบบสารสนเทศควรได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสุขภาวะและความคล่องตัวในการจัดการเรียนการสอน การปรับปรุงอุปกรณ์สารสนเทศเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการจัดการเรียนการสอน การซ่อมแซมวัสดุสำนักงานโต๊ะเก้าอี้ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ติดต่อประสานงานกับฝ่ายอาคารสถานที่ในการแจ้งซ่อมแซมวัสดุสำนักงานโต๊ะเก้าอี้ที่ชำรุด เสียหาย ประสานงานกับส่วนกลางในการปรับปรุงอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เลขานุการวิทยาลัยและผู้อำนวยการหลักสูตร