# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
ผลงานของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาได้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ |
การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษา และแนะนำแหล่งตีพิมพ์ในระดับนานาชาติที่ได้รับการยอมรับตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา นำเสนอผลการดำเนินงานการ ควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาให้ชัดเจน |
ทีมอาจารย์ที่ปรึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องแหล่งตีพิมพ์ที่มีคุณภาพ และได้รับการยอบรับเป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร |
คณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา |
2) |
หลักสูตรมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบมีคุณภาพในการมีผลงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ |
ส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรขอทุนสนับสนุนงานวิจัยและหาแหล่งตีพิมพ์งานวิจัยในระดับนานาชาติ |
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต้องจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อให้สามารถส่งผลงานทางวิชาการในระดับนานานชาติ |
คณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา |
3) |
เป็นหลักสูตรที่เปิดกว้างสำหรับผู้ที่จบการศึกษาทุกสาขาอาชีพ |
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้าศึกษาในหลักสูตร เพื่อชี้แจงข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจเข้าศึกษา |
การประชาสัมพันธ์หลักสูตรอย่างต่อเนื่อง |
คณะกรรมการหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา |
4) |
มีนักศึกษาต่างชาติที่ศึกษาในหลักสูตรเป็นจำนวนมาก |
หลักสูตรดำเนินการรับนักศึกษาต่างชาติอย่างสม่ำเสมอ และหลักสูตรได้รับการยอบรับจากนักศึกษา และเชื่อมั่นว่าเมื่อเข้าศึกษาจะสามารถจบการศึกษาได้ |
การร่วมมือกับหน่วยงานนานาชาติและสถาบันจีนไทยของมหาวิทยาลัย ในการรับนักศึกษาต่างชาติเข้าเรียนในหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง |
คณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา |
# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
หลักสูตรควรเน้นเรื่องการเตรียมความพร้อมนักศึกษาในเรื่องการทำงานวิจัยที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และการเผยแพร่ผลงานวิจัยตามมาตรฐานการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของสป.อว.ปี พ.ศ.2558 |
เน้นการให้ข้อมูลนักศึกษาในเรื่องของแนวโน้มและทิศทางของวิจัยทางการศึกษาทั้งในระดับชาติและนานาชาติที่ส่งผลต่อการทำดุษฎีนิพนธ์ที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ตั้งแต่แรกเข้า รวมถึงบูรณาการและสอดแทรกกเรื่องของการวิจัยการทำวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยในการเรียนการสอนและกิจการกรรมในทุกรายวิชา |
จัดประชุมทีมอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อให้รับรู้ถึงหลักการ แนวทางในการให้คำปรึกษาเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ โดยเน้นให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในหัวข้อ ประเด็นของหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ของนักศึกษาที่สอดคล้องกับสาขาวิชาและที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ โดยมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยตามมาตรฐานการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในระดับชาติและนานาชาติ |
คณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา |
2) |
หลักสูตรควรมีแผนการทำวิจัยของนักศึกษาเป็นรายคน เพื่อการสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนดของหลักสูตร |
มีการเพิ่มจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีจำนวนอาจารย์ที่ปรึกษาที่เพียงพอ และเน้นให้อาจารย์
ปรึกษาให้แนวทางและคำแนะนำแก่นักศึกษาในเรื่องของการวางแผนการเรียนและการทำวิจัย โดยกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจน ติดตามความคืบหน้าของนักศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่กำหนดไว้ ภายใต้การควบคุมดูแลและการให้คำปรึกษาโดยเพิ่มความชัดเจนในเรื่องของวิธีการและขั้นตอนการทำวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการติดติอสื่อสาร การวางแผนการทำงาน
|
ทีมอาจารย์ที่ปรึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ของนักศึกษาที่สอดคล้องกับสาขาวิชา และแนวโน้มการวิจัยทางการศึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษาจัดประชุมกลุ่มย่อยกับนักศึกษาในความดูแลเพื่อประเมินและกำหนดหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ให้แก่นักศึกษาในความดูแล เพื่อพัฒนาเป็นโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ให้สมบูรณ์และสามารถสอบป้องกันโครงร่างและสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ได้
|
คณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา |
3) |
หลักสูตรควรมีแผนพัฒนาบุคลากรของทั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบและบุคลากรสายสนับสนุน(ถ้ามี) โดยเฉพาะแผนพัฒนาอาจารย์ในการก้าวสู่ตำแหน่งวิชาการและการยกระดับตำแหน่งวิชาการ รวมถึงการที่อาจารย์ผู้รับผิดชอบของหลักสูตรทุนคนควรมีผลงานวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ทุกปีการศึกษา |
จัดทำแผนบริหารและพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้มี ความชัดเจน เป็นรูปธรรมครอบคลุมทั้งด้าน การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ การวิจัย การสอนและการตีพิมพ์ผลงาน มีกระบวนการในการดำเนินงาน และการประเมินผล
หลักสูตรสนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรขอทุนสนับสนุนงานวิจัย
ส่งเสริมสนับสนุนการเขียนหนังสือ หรือ เอกสารประกอบการสอนซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญของอาจารย์ในหลักสูตรให้มีคุณภาพเพื่อใช้ประกอบการสอนนักศึกษา เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ และ ใช้ประกอบขอตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ |
จัดทำแผนพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้มีความชัดเจนและนำสู่การปฏิบัติ
อาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการคอยให้คำปรึกษา แนะนำในการรวบรวม จัดเตรียมเอกสารเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ
การเขียนโครงร่างการวิจัยเพื่อขอทุนสนับสนุนงานวิจัย
การเขียนเอกสารประกอบการสอนและการสอบสอนที่มีการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
|
คณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา |
4) |
หลักสูตรควรมีแผนบริหารการเงินของหลักสูตรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ |
จัดทำแผนบริการการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัย |
จัดทำแผนการดำเนินงานโครงการของหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัย |
คณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา |
5) |
หลักสูตรควรมีความชัดเจนในการนำผลการประเมินจากนักศึกษาและอาจารย์มาปรับปรุงการจัดการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
นำผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มาประชุมเพื่อประสานกับหน่วยงานกลางของมหาวิทยาลัยที่ดูแลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ |
จัดทำบันทึกข้อความไปยังหน่วยงานส่วนกลางในการจัดหาสิ่งสนับบสนุนการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อาทิ จอแอลซีดีที่เสื่อมสภาพ โต๊ะเรียนและเก้าอี้ที่ชำรุดเสียหายต้องการการซ่อมแซม เป็นต้น |
คณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา |
6) |
หลักสูตรฯ ควรมีกลยุทธ์ในการจูงใจผู้เรียนที่เป็นคนไทยให้มากยิ่งขึ้น
|
จัดทำแผนประชาสัมพันธ์ เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรผ่านสื่อออนไลน์ของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย |
ประสานงานกับฝ่ายสื่อสารองค์กรในการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้น
ร่วมมือกับบัณฑิตวิทยาลัยในการประชาสัมพันธ์หลักสูตร
|
คณะกรรมการ หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา |
7) |
หลักสูตรฯ ควรกระตุ้นให้นักศึกษาสามารถทำดุษฎีนิพนธ์ได้ทันทีเมื่อเรียนจบคอร์สเวิร์ค |
อาจารย์ที่ปรึกษาติดตามและกระตุ้นนักศึกษาอย่างต่อเนื่องทุกระยะเพื่อให้เป็นไปตามแบการเรียนและการกำหนดเปาหมายรายบุคคล เน้นให้นักศึกษามองเห็นถึงผลดีของการทำวิจัยเพื่อความก้าวหน้าในชีวิต |
ติดตามนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง
วางแผนการทำดุษฎีนิพนธ์ให้นักศึกษาเป็นรายบุคคล และติดตามนักศึกษาตามแผนที่กำหนดไว้เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของการเรียนเพื่อความก้าวหน้าในชีวิต
|
อาจารย์ประจำหลักสูตร |