การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยดนตรี
หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีอาจารย์ประจำหลักสูตร และ อาจารย์พิเศษ ที่มีความรู้ ประสบการณ์ จึงทำให้การเรียนการสอนโดดเด่น และ หลักสูตรเป็นที่รู้จักของคนภายนอก หลักสูตรยังคงมีอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในวงการดุริยางคศิลป์อย่างต่อเนื่องทุกปี หลักสูตรจะสนับสนุนให้อาจารย์ทำผลงานวิชาการและงานสร้างสรรค์เป็นประจำสู่สาธารณะ โดยย้ำให้อาจารย์เหล่านี้ช่วยประชาสัมพันธ์หลักสูตรผ่านการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการหรืองานสร้างสรรค์ของอาจารย์เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านงานวิชาการและงานแสดงเชิงสร้างสรรค์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย
2) นักศึกษามีผลงานโดดเด่น ได้รับรางวัลทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ สนับสนุนให้นักศึกษาได้มีโอกาสร่วมการแข่งขันดนตรี ทั้งระดับชาติและนานาชาติในเวทีแข่งขันต่างๆ ให้มากขึ้นอีก ติดตามข่าวสารการจัดการแข่งขันดนตรีในรูปแบบต่างๆ และเร่งประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทราบ อีกทั้งมอบหมายให้กำหนดรายชื่อนักศึกษาเป็นรายบุคคลเพื่อให้เข้าร่วมการแข่งขันเมื่ออาจารย์ผู้สอนมีความเห็นว่านักศึกษามีความสามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและสื่อสารองค์กร/หัวหน้าหลักสูตร
3) มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ นอกห้องเรียนทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงจากกิจกรรมนั้น ๆ จัดการแสดง/ฝึกงานนอกสถานที่ให้นักศึกษาเพิ่มขึ้น โดยสนับสนุนให้อาจารย์ผู้สอนเพิ่มกิจกรรมนอกห้องเรียนให้เป็นส่วนหนึ่งของ course syllabus เช่นวิชารวมวงดนตรีขนาดเล็กและใหญ่ ให้นำแสดงต่อสาธารณะ อย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง หรือเป็นรูปแบบบริการวิชาการต่างๆ เช่น school concert tours ดนตรีสำหรับผู้รับการรักษาที่คณะทันตกรรม หรือรูปแบบฝึกงาน เป็นต้น โครงการแสดงดนตรีประจำปี โครงการทัวร์ Road Show โรงเรียนมัธยมศึกษา โครงการแสดงดนตรีที่คณะทัตนกรรมศาสตร์ โครงงานฝึกงานดนตรี วิขา MUS 498 หัวหน้าหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) การจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องดนตรี ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาทดแทนเครื่องมือที่ล้าสมัย จัดการของบประมาณปรับปรุงอุปกรณ์ โดยเฉพาะอุปกรณ์สำหรับแขนงวิชาเทคโนโลยีดนตรีให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ โดยการของบประมาณจากส่วนกลางมหาวิทยาลัย โครงการปรับปรุงอุปกรณ์การเรียนการสอน ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องบันทึกเสียง ห้องเรียนคีย์บอร์ด คณบดี
2) หลักสูตรสามารถจัดการตามความเห็นของคณะกรรมการฯ ได้ด้วยตนเองตั้งแต่ข้อ 1 ถึง 3 แต่ จะไม่สารถจัดหาอุปกรณ์ทดแทนเครื่องมือที่ล้าสมัยได้เป็นประจำ เพราะต้องของบประมาณจากสำนักงบประมาณมหาวิทยาลัย ซึ่งในแต่ละปี สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้หลักสูตรน้อยมาก ไม่พียงพอต่อการจัดการของหลักสูตรให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะ หัวข้อที่ 4ของคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในได้อย่างสม่ำเสมอ