การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยดนตรี
หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีความทันสมัยและมีกลุ่มวิชาหลากหลายทันแนวโน้มทางวิชาชีพดนตรีในปัจจุบัน หลักสูตรมีการสำรวจความต้องการของตลาดแรงงานวิชาชีพทางดนตรีจากข้อเสนอแนะและสอบถามความต้องการของผู้ประกอบการเป็นระยะ โดยนำผลการสำรวจที่ได้ มาปรับปรุง ควบ ยุบ แยกกลุ่มวิชาเอกให้เหมาะสมกับสถานการณ์ความต้องการแรงงานในปัจจุบัน โดยปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยทุก 5 ปี วางแผนการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันในปี พ.ศ. 2569 คณบดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย หัวหน้าหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต
2) มีกิจกรรมทางดนตรีโดดเด่นจำนวนมากตลอดปีการศึกษา หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต เน้นการเรียนการสอนที่เน้นทั้งการเรียนในห้องเรียน และสร้างกิจกรรมทางดนตรีให้เป็นประสบการณ์แก่นักศึกษาในหลักสูตร การทำกิจกรรมทางดนตรีระหว่างการศึกษาจึงเป็นส่วนหนึ่งจากการเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการศึกษา โดยหลักสูตรพยายามจะสร้างกิจกรรมทางดนตรีให้เป็นกิจกรรมที่ครอบคลุมทุกกลุ่มวิชาเอกให้มากที่สุด โครงการการแสดงคอนเสิร์ต RSUniverse โครงการ Recital Hours โครงการ RSU Music Festival รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
3) อาจารย์มีผลงานสร้างสรรค์และผลงานทางวิชาการจำนวนมาก เนื่องจากอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์พิเศษของหลักสูตร เป็นผู้ที่มีผลงานที่ได้รับยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการดนตรีของไทย จึงทำให้มีผลงานสร้างสรรค์และผลงานทางวิชาการจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม หลักสูตรจะผลักดันให้อาจารย์ในหลักสูตรศึกษาต่อสูงขึ้นและเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการที่สูงขึ้นต่อไป โครงการพี่เลี้ยงเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการที่สูงขึ้น รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย หัวหน้าหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) เตรียมแผนรองรับเรื่องจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผนงานการแบ่งภาระงานให้เหมาะสมกับจำนวนอาจารย์ การจัดตารางเรียนของนักศึกษา การให้คำปรึกษาอย่างทั่วถึง และอื่นๆ เพื่อให้ภาระการดูแลนักศึกษาเข้าใหม่ให้เหมาะสมกับจำนวนอาจารย์ในหลักสูตร หลักสูตรจึงกำหนดจำนวนรับนักศึกษาใหม่ให้ไม่เกิน 128 คนต่อปี การเพิ่มจำนวนนักศึกษาให้มากขึ้นกว่าที่กำหนด จำเป็นต้องเพิ่มจำนวนอาจารย์ประจำด้วย อันเป็นแผนระยะยาวต่อไป โครงการรับนักศึกษาใหม่ หัวหน้าหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต
2) ควรติดตามแนวโน้มปัจจุบันและอนาคตของวิชาชีพทางดนตรีเพื่อปรับปรุงให้หลักสูตรมีความทันสมัยและเป็นที่ต้องการของผู้จ้างและธุรกิจดนตรีทั้งในและต่างประเทศ หลักสูตรมีการสำรวจความต้องการของตลาดแรงงานวิชาชีพทางดนตรีจากข้อเสนอแนะและสอบถามความต้องการของผู้ประกอบการเป็นระยะ โดยนำผลการสำรวจที่ได้ มาปรับปรุง ควบ ยุบ แยกกลุ่มวิชาเอกให้เหมาะสมกับสถานการณ์ความต้องการแรงงานในปัจจุบัน โดยปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยทุก 5 ปี วางแผนการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันในปี พ.ศ. 2569 คณบดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย หัวหน้าหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต