การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยดนตรี
หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีผลงานนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในปีการศึกษา 2565 ในระดับคุณภาพที่สูง (TCI2) สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพหลักสูตรที่มีระบบส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานที่มีคุณภาพ ผลักดันให้รายวิชาบรรยาย ส่งเสริมให้นักศึกษา ทำโครงงานในรูปแบบงานวิชาการ นำเสนอต่ออาจารย์ประจำ รายวิชาบรรยาย ผู้อำนวยการหลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต และคณะกรรมการหลักสูตร
2) หลักสูตรมีคุณภาพอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในระดับรองศาสตราจารย์และผลักดันให้อาจารย์ในหลักสูตรเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จัดทำแผนพัฒนาอาจารย์รอบ 5 ปี เพื่อวางแผนและผลักดันการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการที่สูงขึ้น จัดทำแผนพัฒนาอาจารย์ ผู้อำนวยการหลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต และคณะกรรมการหลักสูตร
3) อัตราการคงอยู่และความพึงพอใจของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีต่อการบริหารหลักสูตรอยู่ในระดับดีขึ้นในทุกเรื่อง สะท้อนให้เห็นถึงการมีแผนบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารหลักสูตรอย่างรอบคอบเพื่อพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพหลักสูตรได้อย่างเต็มที่ นัดประชุมเป็นระยะ เพื่อทราบถึงปัญหาและผลลัพท์จากแนวทางการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ นัดประชุมเป็นระยะ ผู้อำนวยการหลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต และคณะกรรมการหลักสูตร
4) หลักสูตรและคณาจารย์ผู้สอนมีความโดดเด่นอยู่แล้ว อาจพิจารณาเปิดสาขาอื่นที่สอดคล้องกับความนิยมในตลาดปัจจุบันและสามารถเพิ่มเติมปริมาณนักศึกษาในอนาคตได้ เช่น สาขาการผลิตดนตรีสมัยนิยม หรืออุตสาหรรมเสียงเชิงพาณิชย์ เป็นต้น จัดโครงการทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ตลอดจนด้านวิชาการ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทราบถึงแนวทางของหลักสูตร โครงการพัฒนาศักยภาพครูดนตรี ผู้อำนวยการหลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มุ่งสร้างระบบการติดตามนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์ นัดประชุมเป็นระยะผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อวางแนวทางและแก้ไขปัญหาให้กับนักศึกษา นัดประชุมเป็นระยะผ่านช่องทางออนไลน์ ผู้อำนวยการหลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต และคณะกรรมการหลักสูตร
2) จำนวนนักศึกษาที่ลดลงเป็นสิ่งที่ควรรีบแก้ไข การประชาสัมพันธ์หลักสูตร คณาจารย์แต่ละคน รวมถึงศิษย์เก่าดีเด่น เป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำต่อเนื่อง การประชาสัมพันธ์เพียงช่วงรับสมัครเข้า ไม่เพียงพอ จัดทำโครงการที่สนับสนุนการประชาสัมพันธ์หลักสูตร เช่น โครงการศึกษาดูงาน โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ และ/หรือโครงการทางด้านวิชาการ ทั้งในและนอกสถานที่ โครงการพัฒนาศักยภาพครูดนตรี Thailand Jazz Workshop โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้อำนวยการหลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต และคณะกรรมการหลักสูตร
3) ควรพัฒนาและจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ อาทิ เครื่องดนตรีและอุปกรณ์ดนตรีอิเลกทรอนิกส์ที่มีความทันสมัย ตรวจสอบคุณภาพความพร้อมของอุปกรณ์สนับสนุนการเรียนรู้ นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการหลักสูตรฯ ผู้อำนวยการหลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต และคณะกรรมการหลักสูตร
4) ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นทั้งที่มาจากข้อเสนอแนะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน/คณะกรรมการบริหารคณะ/คณะกรรมการบริหารหลักสูตร/คณะกรรมการยุทธศาสตร์ตามแผนยุทธศาสตร์ใหม่/ผู้ใช้บัณฑิต และอื่นๆ ข้อเสนอแนะจากกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน บางประเด็นเช่น “หลักสูตรมีคุณภาพอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการในระดับรองศาสตราจารย์และผลักดันให้อาจารย์ในหลักสูตรเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง” ผลสะท้อนจากช่วงโควิดที่ผ่านมาตลอดจนมีการปรับการคิดภาระงานในระดับปริญญาโท ส่งผลให้ภาระงานของอาจารย์เพิ่มมากขึ้น และใช้เวลาปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ มากขึ้นตามไปด้วย หากอาจารย์ต้องการทำตำแหน่งทางวิชาการ เช่น งานวิจัย หนังสือ ตำรา ฯลฯ จำเป็นต้องใช้เวลาสร้างสรรค์ผลงานเหล่านี้ให้มีคุณภาพและเป็นไปตามหลักเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการ ด้วยเหตุของภาระงานที่เพิ่มขึ้นข้างต้นจึงอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการจัดสรรเวลาสำหรับการผลิตผลงานทางวิชาการเหล่านี้ นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการหลักสูตรฯ ผู้อำนวยการหลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต และคณะกรรมการหลักสูตร