# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
หลักสูตรมีกลไกการปรับตัวให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน มีการวิเคราะห์การเปิดรายวิชาใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการของผู้เรียน และมีการทำประชาสัมพันธ์หลักสูตรอย่างต่อเนื่องและอยู่ในกระแสทำให้มีจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง |
ในปีการศึกษา 2566
หลักสูตรได้มีการวางแผนการจัดอาจารย์ผู้สอนในรายวิชา RSU111 สังคมธรรมาธิปไตย ซึ่งเป็นรายวิชาในหมวดศึกษาทั่วไป โดยให้อาจารย์ประจำคณะนวัตกรรมเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชาจึงทำให้อาจารย์และนักศึกษาได้มีโอกาสพูดคุยและติดตามผลการเรียนในภาคเรียน S ของนักศึกษาอย่างใกล้ชิด
หลักสูตรยังได้เปิดรายวิชาที่ทันสมัย เช่น AI ทางการเกษตร, เห็ดทางการแพทย์
หลักสูตรจัดโครงการค่าย smart ag-innovation camp เป็นแคมป์เรียนรู้การปลูกกัญชาทางการแพทย์ การปลูกเห็ดทางการแพทย์ เทคโนโลยีการปลูกผักสมัยใหม่ การติดตั้ง เซ็นเซอร์เพื่อการเกษตร และเทคโนโลยีการตรวจสอบสุขภาพ |
1. หลักสูตรปรับปรุง 2567
2. โครงการค่าย smart ag-innovation camp 2023 |
อาจารย์ประณต มณีอินทร์ |
2) |
การจัดการเรียนการสอนที่ควบคุ่กับการปฏิบัติจริง ลงมือทำจริง และได้ผลจริง ผู้เรียนมีความพร้อมในการประกอบอาชีพ และ มีการจัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมศักยภาพ นักศึกษาจำนวนมาก เช่น โครงการโรงเรือนปลูกผัก ฯ โครงการเพิ่มพูนทักษะและความรู้ทางนวัตกรรมเกษตรผ่านสถานีทดลองกัญชาทางการแพทย์ โครงการเกษตรอัจฉริยะ เป็นต้น |
เน้นการเรียนการสอน ควบคู่ไปกับการทำงานวิจัย โดยหลักสูตรได้มีการดำเนินการให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการเขียนและการนำเสนอบทความวิจัยในรายวิชาสัมมนา เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการไปนำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับชาติ โดยมีนักศึกษาที่เข้านำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียน ซึ่งหลักสูตรได้กำหนดเกณฑ์สำหรับนักศึกษาที่ร่วมนำเสนอจะได้รับการพิจารณาผลการเรียนในระดับ A |
โครงการโรงเรือนปลูกผัก ฯ
โครงการเพิ่มพูนทักษะและความรู้ทางนวัตกรรมเกษตรผ่านสถานีทดลองกัญชาทางการแพทย์
โครงการเกษตรอัจฉริยะ |
อาจารย์ประณต มณีอินทร์ |
3) |
ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในหลักสูตร ให้มีผลงานวิชาเผยแพร่จำนวนมาก ซึ่งมีแนวโน้มว่าอาจารย์จะสามารถเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการได้ในปีการศึกษาต่อไป |
หลักสูตรมีการจัดทำระบบการประเมินข้อตกลงร่างขอบเขตงาน (TOR = Term of reference) ในการปฏิบัติงานของอาจารย์ประจำใน 1 ปีการศึกษา อาจารย์ประจำหลักสูตรต้องมีผลงานงานวิจัย/ประชุมวิชาการ/วารสาร อย่างน้อย 1 เรื่อง |
โครงการข้อตกลงร่างขอบเขตงาน (TOR = Term of reference) ในการปฏิบัติงานของอาจารย์ประจำคณะนวัตกรรมเกษตร |
คณบดีคณะนวัตกรรมเกษตร |
4) |
หลักสูตรมีจุดเด่นที่เป็น กระแสสังคมในเรื่องกัญชาศาสตร์ และมีห้องทดลองขนาดใหญ่คือศูนย์นวัตกรรมนาข้าวที่จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นจุดที่นำไปประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้เป็นที่น่าสนใจในการเข้าศึกษาในหลักสูตร |
หลักสูตรเปิดเปิดเพจ คณะนวัตกรรมเกษตร เพื่อให้ความรู้ ใแก่บุคคลากร และบุคคลภายนอกเข้ามาเรียนรู้วิชาการทางด้านกัญชา
หลักสูตรเปิดคอร์สเรียนกัญชาทางการแพทย์ สำหรับนักศึกษานานาชาติ
หลักสูตรเปิดศูนย์หนองสาหร่าย เป็นศูนย์นวัตกรรมนาข้าวที่จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นจุดที่นำไปประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้เป็นที่น่าสนใจในการเข้าศึกษาในหลักสูตร |
โครงกัญชาทางการแพทย์
โครงการเกษตรอัจริยะ |
|
5) |
มีความพร้อมทั้งทางด้านวิชาการและสิ่งสนับสนุนด้านนวัตกรรมเกษตรที่ทันสมัยส่งเสริมผู้เรียนได้เป็นอย่างดี |
โครงการแผนพัฒนาหลักสูตรนวัตกรรมเกษตร 5 ปี ทั้งอัตรากำลังและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และได้เสนอแผนไปยังรองอธิการบดีฝ่ายแผนงาน มหาวิทยารัยรังสิต ซึ่งได้รับอนุมัติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผลจากการดำเนินการปรับปรุงระบบและกลไก ทำให้หลักสูตรได้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เพิ่มเติม ดังรายการต่อไปนี้
1. ห้องเรียนสำหรับ 80 ที่นั่ง จำนวน 1 ห้อง
2. โรงเรือนผลิตกัญชาสำหรับการปลูกแบบไร่นา ขนาด 3,200 ตารางเมตร
3. ซ่อมบำรุงโรงเรือนเกษตรอัจฉริยะพร้อมใช้งานสำหรับการทำวิจัย และแผนการซ่อมแซมระยะยาว
4. ห้องปลูกกัญชาระบบปิดแบบทันสมัย มารถตรวจวัดปริมาณปัจจัยการผลิตของพืชได้
5. ห้องปลูกพืชสมัยใหม่ plant factory ที่สามารถปลูกพืชแนวตั้งได้
|
โครงการแผนพัฒนาหลักสูตรนวัตกรรมเกษตร 5 ปี |
คณบดีคณะนวัตกรรมเกษตร |
# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
ควรวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการให้อัตราการตกออกลดน้อยลง และอัตราการสำเร็จการศึกษาเพิ่มขึ้น |
ในปีการศึกษา 2566 หลักสูตรได้มีการวางแผนการจัดอาจารย์ผู้สอนในรายวิชา RSU111 สังคมธรรมาธิปไตย ซึ่งเป็นรายวิชาในหมวดศึกษาทั่วไป โดยให้อาจารย์ประจำคณะนวัตกรรมเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบรายวิชาจึงทำให้อาจารย์และนักศึกษาได้มีโอกาสพูดคุยและติดตามผลการเรียนในภาคเรียน S ของนักศึกษาอย่างใกล้ชิด |
โครงการะติดตามผลการเรียนในภาคเรียน S ของนักศึกษาอย่างใกล้ชิดของนักศึกษาปีที่ 1 |
อาจารย์ประณต มณีอินทร์ |
2) |
ผลงานวิจัยที่มีศักยภาพควรสนับสนุนในมีการเผยแพร่ในวารสารทั้งในระดับชาติและนานาชาติ |
หลักสูตรได้มีการดำเนินการให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการเขียนและการนำเสนอบทความวิจัยในรายวิชาสัมมนา เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการไปนำเสนอในงานประชุมวิชาการระดับชาติ โดยมีนักศึกษาที่เข้านำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการระดับชาติไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียน ซึ่งหลักสูตรได้กำหนดเกณฑ์สำหรับนักศึกษาที่ร่วมนำเสนอจะได้รับการพิจารณาผลการเรียนในระดับ A |
จำนวนครั้งการเข้าอบรม/งานประชุมวิชาการระดับชาติ / นานาชาติ ของอาจารย์ประจำคณะนวัตกรรมเกษตร |
อาจารย์คณะนวัตกรรมเกษตร |
3) |
ส่งเสริมให้คณาจารย์ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกให้มากขึ้น |
จัดการส่งเสริมคณาจารย์ที่มีระดับการศึกษาระดับปริญาโท เพื่อเข้าเรียนต่อในระดับปริญยาเอก โดยจัดตามความสมัครใจหรือ จัดตามระยะเวลาการเข้าทำงานที่คณะนวัตกรรมเกษตร |
โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ประจำหลักสูตรนวัตกรรมเกษตร |
คณบดีคณะนวัตกรรมเกษตร |