การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร และเทคโนโลยีอาหาร
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณสมบัติเป็นตามเกณฑ์ ทั้งจำนวนอาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก และผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการ ประกอบกับผลงานวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพได้รับการตีพิมพ์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการขอทุนวิจัยและพัฒนาผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง อาจารย์ประจำหลักสูตรไปนำเสนอผลงานทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาจารย์ประจำหลักสูตรมีการขอทุนวิจัย อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคน
2) หลักสูตรมีการบูรณาการรายวิชากับการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพพร้อมแผนธุรกิจต้นแบบ ซึ่งสามารถส่งต่อวิสาหกิจชุมชน เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม 1. ในรายวิชาเรียนของนักศึกษามีการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพพร้อมแผนธุรกิจต้นแบบตามความสนใจของนักศึกษา 2. มีกิจกรรมที่ปลูกฝังให้นักศึกษามีส่วนในการช่วยเหลือชุมชนและวิสาหกิจชุมชนต่างๆ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์รวมทั้งพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายให้กับชุมชน เพื่อเกิดประโยชน์ต่อตนเอง ชุมชนและสังคมได้ 1. กิจกรรมในวิชาเรียนที่เรียนรวมกันจากรายวิชาการค้นคว้าอิสระ ธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร และการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร เริ่มตั้งแต่คิดค้นผลิตภัณฑ์จนถึงขึ้นตอนของการทดลองตลาด 2. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องดื่ม 3. โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 4. โครงการบริษัทจำลองบุญตะวัน อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคน
3) หลักสูตรเน้นการเรียนรู้ปฏิบัติงานจริง ดังนั้นเมื่อสำเร็จการศึกษาจะพร้อมในการทำงานหรือพร้อมในการประกอบธุรกิจได้ 1. ปลูกฝังการเป็นผู้ประกอบการ โดยเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ที่จะได้มีการทดลองการทำผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เริ่ม โดยการสำรวจตลาด การหาไอเดีย พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความสนใจและตามความต้องการของตลาด จวบจนกระทั่งทำการตลาดและ ทดลองตลาดจริง เพื่อนำมาปรับแก้ไขผลิตภัณฑ์ กระบวนการให้เป็นไปตามหลักมาตรฐานอาหาร และความต้องการของผู้บริโภค 2. การฝึกการบริหารจัดการผ่านโครงการบริษัท (จำลอง) บุญตะวัน และการฝึกงานในส่วนของหน้าร้านกาแฟตะวัน 1. กิจกรรมในวิชาเรียนที่เรียนรวมกันจากรายวิชาการค้นคว้าอิสระ ธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร และการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร เริ่มตั้งแต่คิดค้นผลิตภัณฑ์จนถึงขึ้นตอนของการทดลองตลาด 2. กิจกรรมของโครงการบริษัท (จำลอง) บุญตะวัน 3. กิจกรรมโฮมรูม 4. กิจกรรมการฝึกงานในส่วนของหน้าร้านกาแฟตะวัน อาจารย์ประจำหลักสูตรทุกคน
4) หลักสูตรมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในและนอกหลักสูตร มีการปรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร มีการเรียนการสอนและกิจกรรมให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์ เพื่อผลิตหรือพัฒนาธุรกิจอาหารให้เป็นไปตามเทรนปัจจุบัน จัดการเรียนการสอนโดยการเชื่อมโยงในแต่ละรายวิชา และกิจกรรมโฮมรูม อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรอาจต้องวางรากฐานโดยนำผลงาน ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ส่งต่อชุมชน เพื่อให้เห็นภาพลักษณ์ของหลักสูตร ซึ่งอาจจะส่งผลต่อจำนวนผู้ที่สนใจเข้าศึกษาในหลักสูตร - จัดทำช่องทางในการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่พร้อมต่อยอดและส่งต่อชุมชน เพื่อสร้างการรับรู้ผ่านช่องทางต่างๆ - ต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ร่วมกับภาคเอกชน จัดนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาโดยนักศึกษาในงานเกษตร อาหารรังสิตครั้งที่ 9 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคน