การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร และเทคโนโลยีอาหาร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีศักยภาพสูง ทั้งด้านคุณวุฒิปริญญาเอก และตำแหน่งทางวิชาการ สนับสนุนให้อาจารย์เตรียมผลงานให้พร้อมสำหรับการขอตำแหน่งทางวิชาการ กิจกรรมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หัวหน้าสาขาวิชา
2) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีศักยภาพในการทำงานวิจัยได้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติถึง 5 ผลงานในรอบ 1 ปี ซึ่งหลักสูตรอาจจะวางแผนหรือสนับสนุนในการขอทุนวิจัยภายนอกให้มากขึ้น สนับสนุนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับสูง และแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกด้านการวิจัยในระดับต่างๆ กิจกรรมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
3) หลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งบูรณาการความรู้ในเชิงลึก ในการสร้างผลิตภัณฑ์อาหารอนาคต โดยมีการจัดการเรียนการสอนเชื่อมโยงตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 และมีการกำกับและติดตามทำให้นักศึกษาได้ผลลัพธ์การเรียรู้ตามที่กำหนด ดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบโมดูลเพื่อการบูรณาการความรู้โดยเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์อาหารอนาคตที่มีการคำนึงความยั่งยืน กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบโมดูล อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
4) หลักสูตรมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในและนอกหลักสูตร มีการปรับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร พัฒนาเนื้อหาในรายวิชาต่างๆ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจที่เป็นอุตสาหกรรมอาหาร กิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมงานวันเกษตร-อาหารรังสิต อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
5) หลักสูตรมีแนวปฏิบัติในเรื่อง การขอเลขสถานที่ผลิตอาหารในกรณีที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน ได้ถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร ผ่านระบบ RKMS ของมหาวิทยาลัย ถือเป็นแนวปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จในเรื่องการมีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ยังมีโรงงานต้นแบบที่ได้มาตรฐานถูกต้องตามกฎหมาย ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีและถ่ายทอดเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านระบบ RKMS ของมหาวิทยาลัย กิจกรรม KM ของหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
6) นักศึกษามีผลงานสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมได้สำเร็จ ผ่านการเข้าประกวดจนได้รับรางวัลหลายรางวัล ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาและประกวดผลิตภัณฑ์ภายในและภายนอกหลักสูตรและส่งผลงานเข้าร่วมในการแข่งขันระดับชาติในเวทีต่างๆ กิจกรรมออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น กิจกรรมงานวันเกษตร-อาหารรังสิต โครงการประกวดนวัตกรอาหาร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
7) มีโครงงานของนักศึกษา เรื่อง การพัฒนาสลัดครีมวีแกนถั่วลูกไก่ผสมไข่ผง ที่ร่วมกับอาจารย์ ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัย เป็นการตอบโจทย์วิจัยตามยุทธศาสตร์ชาติ สนับสนุนให้นักศึกษามีส่วนร่วมในงานวิจัยของอาจารย์ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากภายในและภายนอก หรือมีการนำเสนอผลงานโครงงานในระดับต่างๆ กิจกรรมการวิจัยของอาจารย์ที่นักศึกษามีส่วนร่วม กิจกรรมนำเสนอผลงานวิชาการของนักศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรวางแนงทางในการส่งต่อผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จสู่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งเป็นผลงานของหลักสูตร ซึ่งจะเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรทางหนึ่ง สนับสนุนให้มีการส่งต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่คัดเลือกแล้วเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมอาหารผ่านโครงการบุญตะวัน กิจกรรมการสรรหาผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาไปสู่การผลิตจริง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
2) ในปีหน้าควรเพิ่มการเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาษาอังกฤษไว้ด้วย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาใหม่เห็นความจำเป็นที่ต้องมีทักษะทั้ง 2 ด้านนี้ ดำเนินการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมในด้านภาษาอังกฤษโดยให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์นานาชาติกับนักศึกษาต่างชาติ โครงการพัฒนาภาษาอังกฤษ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
3) หลักสูตรควรกำหนดแนวทางและมาตรการเพื่อให้อัตราการคงอยู่ของนักศึกษาอยู่ในแนวโน้มที่ดีขึ้น กำหนดแนวทางการรับนักศึกษาให้สามารถคัดกรองผู้สมัครที่มีความสนใจจะเรียนในหลักสูตรอย่างแท้จริงตั้งแต่ต้นเพื่อเพิ่มอัตราการคงอยู่ ร่วมกับการจัดกิจกรรมที่สร้างให้เกิดความคุ้นเคยระหว่างนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 กิจกรรมการปรับปรุงแนวทางการรับนักศึกษาใหม่ กิจกรรมโฮมรูม อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร