การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เกมและอีสปอร์ต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ทันสมัยและเหมาะสมกับการเรียนการสอน การพัฒนาเกมในยุคปัจจุบันให้นักศึกษาอย่างเพียงพอ ส่งผลให้นักศึกษาได้ทดลองกับอุปกรณ์ที่ทันสมัยและอุปกรณ์ที่อุตสาหกรรมใช้จริง สามารถนำความรู้ไปเข้าร่วมการประกวดในเวทีต่างๆ ได้ หลักสูตรได้ดำเนินการเปิด ศูนย์นวัตกรรมเกมและอีสปอร์ต ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) โดยศูนย์แห่งนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเกมและอีสปอร์ตในประเทศไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ศูนย์นวัตกรรมดังกล่าวได้รับการออกแบบให้เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ การพัฒนา และการวิจัยทางด้านเกมและอีสปอร์ต โดยมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัยและครบครัน รองรับการศึกษาทั้งในด้านการออกแบบเกม (Game Design) การพัฒนาเกม (Game Development) รวมถึงการบริหารจัดการด้านอีสปอร์ต (Esports Management) และ Esports Production ศูนย์นวัตกรรมเกมและอีสปอร์ตรังสิต อาจารย์ศุภณัฐ จินตวัฒน์สกุล
2) อาจารย์ของหลักสูตรมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก สนับสนุนให้อาจารย์เผยแพร่ผลงานในเวทีระดับชาติและนานาชาติ 1) แสดงผลงานใน Taipei Game Show (ไต้หวัน) ซึ่งเป็นหนึ่งในงานแสดงเกมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย 2) แสดงผลงานในเวที Thai Gaming Connect เพื่อเผยแพร่ผลงานและสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมเกมของไทย อาจารย์อนุชา อารีพรรค
3) เป็นหลักสูตรด้านเกมที่มีชื่อเสียงอันดับต้นของประเทศ มีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ บัณฑิตเป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรม และสามารถสร้างสรรค์ผลงานเข้าแข่งขันการประกวดและได้รับรางวัล 1) ส่งเสริมให้นักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวด 2) จัดกิจกรรมให้หลักสูตรเป็นที่รู้จัก 3) ส่งเสริมให้อาจารย์นำผลงานออกแสดงในเวทีระดับชาติและนานาชาติ 4) สร้างช่องทางประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลมีเดีย 1) จัดงาน Global Game Jam 2025 2) แสดงผลงานในเวที Thai Gaming Connect 3) แสดงผลงานใน Taipei Game Show ประเทศไต้หวัน 4) จัดงานEsports Tournament Pitching อาจารย์ศุภณัฐ จินตวัฒน์สกุล อาจารย์อนุชา อารีพรรค อาจารย์เอกพงษ์ นพวงศ์ ผศ.มนตรี อินทโชติ ผศ.เสกสันต์ แสงสวัสดิ์
4) หลักสูตรมีการจัดโครงการและกิจกรรมต่างๆ แล้วประชาสัมพันธ์เพื่อสื่อสารภาพลักษณ์และสร้างชื่อเสียงให้กับหลักสูตรจนมีนักศึกษาแรกเข้าจำนวนมากเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มการรับรู้และขยายเครือข่ายของหลักสูตร RSU Rookie Game Dev 2025 - โครงการอบรบ และประกวดแข่งขันพัฒนาเกมสำหรับนักเรียนมัธยมปลาย Global Game Jam – งานพัฒนาเกมระดับนานาชาติที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงฝีมือและทำงานร่วมกับผู้พัฒนาเกมทั่วโลก อาจารย์ศุภณัฐ จินตวัฒน์สกุล ผศ.เสกสันต์ แสงสวัสดิ์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรส่งเสริมให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น กระตุ้นการวิจัยและเผยแพร่ผลงาน การประชุมกลุ่มวิจัยเพื่อนำเสนอแนวคิดและพัฒนาโครงการร่วมกัน อาจารย์ศุภณัฐ จินตวัฒน์สกุล อาจารย์อนุชา อารีพรรค อาจารย์เอกพงษ์ นพวงศ์ ผศ.มนตรี อินทโชติ ผศ.เสกสันต์ แสงสวัสดิ์
2) หลักสูตรต้องหาแนวทางทำให้อัตราการคงอยู่ของนักศึกษาและอัตราการสำเร็จการศึกษาตามเวลาที่กำหนดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เพิ่มการพูดคุยและแนะแนวอย่างสม่ำเสมอผ่านกิจกรรมแนะแนว อาจารย์ที่ปรึกษา ทั้งเสริมสร้างทักษะและแรงจูงใจผ่านการอบรมและเวิร์กชอป 1) จัดให้มีการพูดคุยแบบรายบุคคลเพื่อให้คำแนะนำเฉพาะด้านตามความต้องการของนักศึกษา 2) จัดกิจกรรมแนะแนวเป็นระยะ ๆ ให้บ่อยขึ้น โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาเข้าร่วม 3) จัดอบรมและกิจกรรมพิเศษเพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็น 4) โครงการพี่สอนน้อง นักศึกษาชั้นปีสูงให้คำแนะนำแก่นักศึกษาชั้นปีต้น อาจารย์ศุภณัฐ จินตวัฒน์สกุล