การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีการวางแผนเพื่อพัฒนาหลักสูตรและนักศึกษา โดยสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งกับภาคอุตสาหกรรมภายนอกทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ทำให้นักศึกษามีกิจกรรมทำระหว่างเรียน หลักสูตรได้มีการดำเนินงานสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งกับภาคอุตสาหกรรมภายนอก ผ่านการบูรณาการความร่วมมือในระดับรายวิชาในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการเชิญตัวแทนภาคอุตสาหกรรมเข้าร่วมเป็นวิทยากร/ที่ปรึกษา การสร้างความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมภายนอกในการเข้าร่วมจัดกิจกรรมการประกวดให้กับนักศึกษา การผลักดันนักศึกษาให้ร่วมประกวดในเวทีการแสดงผลงานของภาคอุตสาหกรรมระดับชาติ รวมถึงการสร้างพื้นที่แสดงผลงานของนักศึกษา เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการทำกิจกรรมระหว่างการเรียนรู้ที่สอดรับกับทักษะและความต้องการของอุตสาหกรรมภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ - การประกวดรางวัลนักสร้างสรรค์คอนเท้นต์รุ่นใหม่ โดย สาขาเทคโนโลยีสื่อสังคม วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ บริษัท ซีพี แอ๊กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) หรือ แม็คโคร - กิจกรรมเข้าร่วมการประกวด X Campus Ads Idea Contest 2023 ภายใต้ Digital Technology Demand Generation โดยความร่วมมือระหว่าง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI) และสมาคมผู้ใช้ดิจิทัลไทย (DUGA) - โครงการ SMT Showcase - โครงการที่บูรณาการในรายวิชา รับผิดชอบโดย อาจารย์ประจำรายวิชาที่เกี่ยวข้อง - โครงการ SMT Showcase รับผิดชอบโดย อ.วันทนีย์ เจียรสุนันท์
2) หลักสูตรสามารถบริหารและพัฒนาอาจารย์ได้ตามแผนที่วางไว้ภายใต้การดำเนินการในมิติอื่นที่สมบูรณ์แบบ ทั้งในเรื่องการมีอาจารย์ได้รับดำแหน่งทางวิชาการ และคุณวุฒิระดับปริญญาเอกเพิ่มเติม หลักสูตรมีการดำเนินงานรับอาจารย์เข้าใหม่ โดยมีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก โดยจะมีการดำเนินการในการแต่งตั้งเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต่อไป งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ InCIT2024 ครั้งที่ 8 วันที่ 14-15 พฤศจิกายน ณ ประเทศญี่ปุ่น รองคณบดีฝ่ายวิชาการและหัวหน้าสาขา
3) บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการสูง หลักสูตรมีการพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยีสื่อสังคม รวมถึงการพิจารณาเปิดรายวิชาเลือกใหม่ ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อและเทคโนโลยีการผลิตสื่อสร้างสรรค์อยู่เสมอ - วิชา SMT499 Vlog Creator - วิชา SMT499 Podcast & Sound Design - วิชา SMT499 AR Effect Design for Social Media Technology อาจารย์ประจำรายวิชา
4) หลักสูตรมีอุปกรณ์และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ทันสมัยและเพียงพอต่อความต้องการของนักศึกษา หลักสูตรมีการตรวจสอบ ดูแล และบำรุงรักษาอุปกรณ์และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาอย่างสม่ำเสมอตลอดปีการศึกษา และจะมีการจัดทำแบบสอบถามเพื่อสอบถามความต้องการของนักศึกษาทุกชั้นปี แบบสอบถามเพื่อสอบถามความต้องการของนักศึกษา อาจารย์หัวหน้าสาขา
5) อาจารย์มีผลงานวิชาการตีพิมพ์ที่โดดเด่นในระดับนานาชาติ หลักสูตรมีการส่งเสริมให้อาจารย์ดำเนินการสร้างผลงานวิจัย โดยมีการวางแผนเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยในการนำเสนอผลงานวิชาการระดับนานาชาติ InCIT2024 ครั้งที่ 8 วันที่ 14-15 พฤศจิกายน ณ ประเทศญี่ปุ่น งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ InCIT2024 ครั้งที่ 8 วันที่ 14-15 พฤศจิกายน ณ ประเทศญี่ปุ่น วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรปรับปรุงและเพิ่มกลยุทธ์กระบวนการสื่อสารของหลักสูตรเพื่อการรับรู้ต่อกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนมากขึ้น หลักสูตรมีการปรับปรุงด้านกลยุทธ์การสื่อสาร โดยนำกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (Integrated Marketing Communication) มาใช้ในการสื่อสารของหลักสูตรผ่านกิจกรรมการสื่อสารในหลากหลายรูปแบบ หลากหลายช่องทาง เพื่อสร้างการรับรู้และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น - กิจกรรม SMT Open House - ช่องทางการสื่อสารในสื่อสังคมออนไลน์ ประกอบด้วย เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ออฟฟิเชียล ติ๊กต็อก - คณาจารย์ในสาขาเทคโนโลยีสื่อสังคม
2) ควรส่งเสริมให้อาจารย์ประจำหลักสูตรขอตำแหน่งทางวิชาการให้มากขึ้น หลักสูตรมีการวางแผน ผลักดัน และส่งเสริมให้อาจารย์สร้างผลงานทางวิชาการเพื่อดำเนินการขอตำแหน่งวิชาการอย่างต่อเนื่อง งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ InCIT2024 ครั้งที่ 8 วันที่ 14-15 พฤศจิกายน ณ ประเทศญี่ปุ่น รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
3) ผลลัพธ์ของนักศึกษายังขาดผลงานที่เป็นรูปธรรม หลักสูตรมีการพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนในรายวิชา โดยเน้นรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Project Based Learning โดยแต่ละรายวิชาจะพยายามส่งเสริมให้นักศึกษาบูรณาการความรู้ ผลิตและสร้างสรรค์ผลงานออกมาเป็นชิ้นงานที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น รวมถึงการผลักดันและส่งเสริมให้นักศึกษาผลิตผลงานเพื่อเข้าสู่เวทีประกวดในระดับต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการจัดกิจกรรม การสัมมนาวิชาชีพเทคโนโลยีสื่อสังคม และ กิจกรรม SMT Showcase ประจำปีการศึกษา เพื่อนำเสนอผลงานนักศึกษาต่อสาธารณชนอย่างเป็นรูปธรรม - โครงการ สัมมนาวิชาชีพเทคโนโลยีสื่อสังคม - โครงการ SMT Showcase - อาจารย์ประจำรายวิชาที่เกี่ยวข้อง - โครงการ สัมมนาวิชาชีพเทคโนโลยีสื่อสังคม รับผิดชอบโดย อ.วารุณี บุญคุ้ม - โครงการ SMT Showcase รับผิดชอบโดย อ.วันทนีย์ เจียรสุนันท์