การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสังคม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการทำงานร่วมกับองค์กรภายนอก เกิดผลลัพธ์ผลงานของนักศึกษาเป็นที่ประจักษ์ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการ - หลักสูตรมีการทำ MOU กังองค์กรภายนอก ได้แก่ บริษัท Tellscore จำกัด และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) - หลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนวิชา Social Media Project โดยให้ผู้เรียนได้ออกแบบโครงการตามความถนัดและความสนใจของตนเอง โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำในับสนุน - หลักสูตรมีการส่งเสริมให้นักศึกษาเลือกสถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน และตรงกับความต้องการและความถนัดเพื่อเป็นช่องทางให้นักศึกษาเข้าถึงผู้ประกอบการ - โครงการ Young Influencer for Social Change โดยการสนับสนุนของ บริษัท Tellscore และ สสส. - วิชา Social Media Project - โครงการ SMT Showcase ครั้งที่ 3 - โครงการสหกิจศึกษา - หัวหน้าสาขา และ คณาจารย์ของหลักสูตร พัฒนากิจกรรมร่วมกัน
2) หลักสูตรมีการปรับปรุงให้มีความทันสมัยสอดคล้องภาวะความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและเปิดสอนรายวิชาใหม่ ๆ ให้กับนักศึกษา เพื่อให้ตอบสนองต่อเทรนด์ของอุตสาหกรรมโซเชียลมีเดียที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา อาทิเช่น การเปิดวิชา Character Design เพื่อตอบสนองเทรนด์มาสคอตที่กำลังเป็นที่นิยม - เปิดรายวิชา Character Design - เปิดรายวิชา User Interface Design Advanced - หัวหน้าหลักสูตร และอาจารย์ประจำรายวิชา
3) หลักสูตรมีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถในด้านการเรียนการสอน อีกทั้งมีการส่งเสริม สนับสนุนให้นักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาอย่างเด่นชัด ทั้งในเรื่องการวางระบบอาจารย์ที่ปรึกษา การจัดกิจกรรม รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับอุตสาหกรรมภายนอก เพื่อร่วมพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตามความต้องการของสายวิชาชีพอย่างแท้จริง จัดการประชุมนักศึกษาของหลักสูตรอย่างน้อย 1 ครั้งต่อภาคการศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจในระบบการเรียนการสอน และมีการแยกกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาได้พบอาจารย์ที่ปรึกษาของตนเอง เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้ติดตาม รับฟัง และช่วยแก้ไขปัญหาให้นักศึกษาได้ทันท่วงที รวมถึงมีการจัดกิจกรรมความร่วมมือกับอุตสาหกรรมภายนอกได้แก่ บริษัท Tellscore และ สสส. ในการพัฒนาทักษะการเป็นอินฟลูเอนเซอร์เพื่อสังคม - โครงการ Young Influencer for Social Change - กิจกรรม Ready for 2/67: Registration & Advisor Meeting - การประชุมของคณาจารย์ในหลักสูตรเพื่อประชุมร่วมกันถึงพัฒนาการของนักศึกษาและปัญหาของนักศึกษาเป็นรายบุคคล หัวหน้าสาขา อาจารย์ และบุคลากรทุกคนในหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ของหลักสูตรศึกษาในระดับที่สูงขึ้น และมีผลงานวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการให้มากขึ้น มีการส่งเสริมให้อาจารย์เรียนในระดับปริญญาเอก และผลักดันให้เกิดโครงการวิจัยร่วมกัน โครงการวิจัยการพัฒนาทักษะผู้มีอิทธิพลบนสื่อออนไลน์เพื่อการสื่อสารด้านการเปลี่ยนแปลงสังคมในกลุ่ม Gen Z หัวหน้าสาขา คณาจารย์ และบุคลากร ในหลักสูตร
2) จำนวนผลงานทางวิชาการมีจำนวนน้อย ควรส่งเสริมให้อาจารย์ทำวิจัย หรือผลงานสร้างสรรค์ให้มากขึ้น ผลักดันให้เกิดโครงการทำวิจัยร่วมกันของคณาจารย์ในสาขา โครงการวิจัยการพัฒนาทักษะผู้มีอิทธิพลบนสื่อออนไลน์เพื่อการสื่อสารด้านการเปลี่ยนแปลงสังคมในกลุ่ม Gen Z หัวหน้าสาขา คณาจารย์ และบุคลากรในสาขา