# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
หลักสูตรมีการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับนักศึกษาที่บูรณาการไปกับรายวิชา จนเห็นผลที่นักศึกษามีผลงานด้านการวิจัย และการสอบใบประกอบวิชาชีพได้ |
หลักสูตรได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสมาคมวิชาชีพ มาบรรยายให้นักศึกษาฟังอย่างต่อเนื่อง จนมีนักศึกษาสามารถสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพต่างๆ ได้เช่น
นางสาวจื่อลี่ สูว สามารถสอบผ่านหลักสูตร P1 ผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไป หลักสูตร P2 ความรู้เกี่ยวกับตราสารที่มีความซับซ้อน (ตราสารหนี้และกองทุนรวม) และหลักสูตร P3 ความรู้เกี่ยวกับตราสารที่มีความซับซ้อน (สัญญาซื้อขายล่วงหน้า)
หลักสูตร CFP M.1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ โดยมีนักศึกษาที่สามารถสอบผ่านจำนวน 6 คน ได้แก่ นายพชร ว่องเมธากุล นายปิยวัชร์ จิตราวงศ์ นางสาวจื่อลี่ สูว นางสาววีริศรา ไทยรัตน์ นายนนธชัย มั่งมี และนายสุรนนท์ ศุภทรัพย์วิบูล
หลักสูตร CFP M.2 การวางแผนการลงทุน มีนักศึกษาสอบผ่านจำนวน 2 คน ได้แก่ นายปิยวัชร์ จิตราวงศ์ และนายนนธชัย มั่งมี
|
กิจกรรมอบรมเพื่อเตรียมตัวสอบ CFP (ส่วนหนึ่งของโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ รหัสโครงการ 66X009 หลักสูตร Degree ปีการศึกษา 2566) |
รศ.ดร.วงศกร เจริญพานิชเสรี |
2) |
หลักสูตรมีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่มีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันเป็นรูปธรรม ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ในศาสตร์ด้านการลงทุนอย่างแท้จริง |
โครงการมีความร่วมมือกับบริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง และบริษัท เอไอ ควอนท เทค จำกัด จัดกิจกรรมอบรม และแข่งขันเทรดหุ้นให้นักศึกษา |
โครงการก้าวทันเทคโนโลยีนำความรู้สู่ชุมชน รหัสโครงการ 660409 |
รศ.ดร.วงศกร เจริญพานิชเสรี |
3) |
อาจารย์ในหลักสูตรมีความรู้ความสามารถช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้นักศึกษาเผยแพร่ผลงานวิชาการ สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ |
อาจารย์จะส่งเสริมนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถ ต่อยอดจากรายวิชา ให้ไปนำเสนอผลงานวิชาการในระดับชาติ หรือนานาชาติ โดยได้ผลลัพธ์ดังนี้
นางสาววีริศรา ไทยรัตน์ และนายนนธชัย มั่งมี เผยแพร่ผลงานวิชาการ ในการประชุม RSU International Research Conference 2023 ในหัวข้อ “Financial Literacy of Undergraduate Students: A Priori Survey for Curriculum Design” และอีก 1 ผลงานวิชาการจาก นางสาวพลอยชมพู อัคโกศล และนางสาวภัทรัลยา ศิริศักดิ์วัฒนา เผยแพร่ผลงานวิชาการในการประชุมเดียวกัน ในหัวข้อ “Interpolation and Correlation between Inflation and Financial Variables: New Evidence from Thailand” |
ส่วนหนึ่งของโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ รหัสโครงการ 66X009 หลักสูตร Degree ปีการศึกษา 2566 |
รศ.ดร.วงศกร เจริญพานิชเสรี |
4) |
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิและมีตำแหน่งทางวิชาการเกินกว่าระดับคุณภาพที่กำหนด |
ตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพการศึกษา หลักสูตรจะได้รับคะแนนเต็มหากผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อย 3 คนจาก 5 คนมีตำแหน่งทางวิชาการ
สำหรับหลักสูตรสารสนเทศการลงทุน มีผู้รับผิดชอบหลักสูตรจำนวน 4 คน จาก 5 คน ดำรงตำแหน่งทางวิชาการได้แก่
1. รศ.ดร.วงศกร เจริญพานิชเสรี
2. ผศ.วีรวัฒน์ เหลี่ยมมณี
3. ผศ.ดร.พิชิต บุญครอง
4. ผศ.ชุลีกร นวลสมศรี
และจะผลักดันจนกว่าอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกท่านมีตำแหน่งทางวิชาการ |
กิจกรรมทำวิจัยร่วมกัน |
รศ.ดร.วงศกร เจริญพานิชเสรี |
# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
ควรสนับสนุนการพัฒนาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรให้ครบทุกท่าน เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการพัฒนาอย่างแท้จริง และช่วยในการขอตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้นต่อไป |
หลักสูตรได้มีการทำวิจัยร่วมกันทั้งระหว่างอาจารย์ในหลักสูตรและอาจารย์ระหว่างหลักสูตร จนทำให้ปัจจุบัน มีอาจารย์ประจำหลักสูตร 4 ท่านมีตำแหน่งทางวิชาการได้แก่
1. รศ.ดร.วงศกร เจริญพานิชเสรี
2. ผศ.วีรวัฒน์ เหลี่ยมมณี
3. ผศ.ดร.พิชิต บุญครอง
4. ผศ.ชุลีกร นวลสมศรี
ส่วน อ.รวินันท์ ประดิษฐ์แสงทอง ได้มีคุณวุฒิที่สูงขึ้นสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในปีการศึกษา 2565 และพร้อมที่จะขอตำแหน่งวิชาการภายใน 2 ปี |
กิจกรรมทำวิจัยร่วมกันระหว่างอาจารย์ในหลักสูตรและอาจารย์ระหว่างหลักสูตร |
รศ.ดร.วงศกร เจริญพานิชเสรี |
2) |
หลักสูตรควรมีการกระตุ้นและส่งเสริมให้นักศึกษาสอบใบประกอบวิชาชีพในรายวิชา INI 213 อย่างต่อเนื่อง |
หลักสูตรได้ทำหลักสูตรประกาศนียบัตร ที่ปรึกษาและนักวิเคราะห์การลงทุน ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่จาก กระทรวง อว. ซึ่งมีวัตถุประสงค์พัฒนานักศึกษาและบุคคลภายนอก เพื่อสอบใบประกอบวิชาชีพผู้แนะนำการลงทุน |
โครงการ ที่ปรึกษาและนักวิเคราะห์การลงทุน |
รศ.ดร.วงศกร เจริญพานิชเสรี |