# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
หลักสูตรจัดกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ทางวิชาการ ที่เกิดจากการปฏิบัติจริง โดยมีศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางสังคมและกฏหมาย ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้การศึกษากฏหมายเชิงคลินิก |
1. หลักสูตร ฯ จัดให้มีการผนวกการเรียนรู้ทางวิชาการในทางปฏิบัติ โดยให้นักศึกษาเข้าช่วยเหลือประชาชนทางสังคมและกฎหมายในพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านการเปิดโอกาสให้ร่วมรวบรวมข้อมูล และมีส่วนร่วมในกระบวนการให้คำปรึกษาแก่ประชาชนด้านกฎหมายในประเด็นต่าง ๆ ร่วมกับศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางสังคมและกฎหมายที่เพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา
2. หลักสูตร ฯ กำหนดให้รายวิชาในหลักสูตร ฯ มีการผนวกลักษณะการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนรู้ไปพร้อมกับการทำประโยชน์เพื่อประชาชน (Pro bono) อย่างเหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ อย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้น
|
1. โครงการค่ายผู้นำเข้าใจศิลปะวัฒนธรรมผนวกกับโครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการของคลินิคช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย นำนักศึกษาจากรายวิชาหลักวิชาชีพและประสบการณ์นักกฎหมายร่วมลงพื้นที่สำรวจและให้คำปรึกษาประชาชนในเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
2. โครงการหลักหกสุจริตชีวิตสะอาด จากการวางแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการพัฒนาสุขภาวะจังหวัดปทุมธานี นำนักศึกษาจากรายวิชาต่าง ๆ อาทิ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกระบวนการให้ความรู้กฎหมายแก่เด็กและเยาวชน ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี
3. จัดทำหนังสือตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสภาทนายความในการให้นักศึกษาฝึกงานและมีส่วนร่วมให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ประชาชนกับสภาทนายความ
|
1. หัวหน้าหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต อาจารย์นนลพัทธ์ พิตรพิบูลปรียา
2. ผู้อำนวยการศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางสังคมและกฎหมาย อาจารย์เขมมิกา ศรีร้อยคำ
|
2) |
หลักสูตรมีการจัดตั้งวารสารกฏหมายและสังคมรังสิต ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล TCI 2 |
1. รักษามาตรฐานวารสารกฎหมายและสังคมรังสิตให้อยู่ในฐานข้อมูลที่ไม่ต่ำกว่า TCI 2 และเพิ่มมาตรฐานให้อยู่ในฐานข้อมูล TCI 1 อย่างต่อเนื่อง
2. จัดให้มีการตีพิมพ์วารสารกฎหมายและสังคมรังสิตอย่างต่อเนื่อง
3. เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่สนใจสามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการเขียนบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อเข้าตีพิมพ์ได้
|
เชิญชวนประกาศให้นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ เข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการเขียนบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อเข้าตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายและสังคมรังสิต |
1. ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย และบรรณาธิการวารสารกฎหมายและสังคมรังสิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธานี วรภัทร์
2. หัวหน้าหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต อาจารย์นนลพัทธ์ พิตรพิบูลปรียา
|
3) |
มีศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศทางกฏหมาย ให้บริการหนังสือ ตำรา และสื่อการเรียนการสอน |
1. จัดให้มีหนังสือ ตำรา และวารสารเกี่ยวกับกฎหมายให้เพิ่มมากขึ้นและหลากหลายมากขึ้น ที่ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศทางกฎหมาย
2. จัดให้หนังสือ ตำรา และวารสารเกี่ยวกับองค์ความรู้อื่น ๆ นอกเหนือจากกฎหมายเพิ่มมากขึ้น และมีความหลากหลายมากขึ้น ที่ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศทางกฎหมาย
|
1. การสั่งหนังสือเข้าศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศทางกฎหมายอย่างหลากหลายและเหมาะสมภายในงบประมาณที่ได้รับมา
2. การประกาศขอบริจาคหนังสือจากบุคลากร และบุคคลต่าง ๆ เพื่อนำเข้าสู่ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศทางกฎหมาย
|
1. ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศทางกฎหมาย นางสาวกาญจนาพรรณ วงษ์จีน
2. หัวหน้าหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต อาจารย์นนลพัทธ์ พิตรพิบูลปรียา
|
# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
หลักสูตรส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมสร้างผลงานวิชาการ ผ่านศูนย์วิจัยและพัฒนากฏหมาย ของคณะนิติศาสตร์ แต่ยังไม่พบผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลเป็นที่ยอมรับ จึงควรช่วยกันกระตุ้นให้เกิดผลงาน โดยอาจารย์ร่วมกันผลิตผลงานกับนักศึกษาก็ได้
|
1. ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมสร้างผลงานวิชาการซึ่งมุ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลเป็นที่ยอมรับร่วมกับอาจารย์ผู้สอน หรืออาจารย์ท่านอื่น ๆ ของคณะนิติศาสตร์ ในประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายที่นักศึกษามีความสนใจอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น
2. ปลูกฝังทรรศนะคติให้นักศึกษาเล็งเห็นความสำคัญต่อการฝึกฝนและมีส่วนร่วมในการสร้างผลงานเขียนทางวิชาการกฎหมาย อันจะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบวิชาชีพของตนต่อไป
|
1. กิจกรรมเสวนาเกี่ยวกับการเป็นนักกฎหมายและการเป็นนักศึกษากฎหมายในประเด็นต่าง ๆ โดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอก คณะนิติศาสตร์ ในการปฐมนิเทศนักศึกษา
2. กิจกรรมฝึกอบรมการเขียนตอบข้อสอบกฎหมายและการจัดกระบวนการความคิดทางกฎหมาย
|
1. ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย และบรรณาธิการวารสารกฎหมายและสังคมรังสิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธานี วรภัทร์
2. หัวหน้าหลักสูตรนิติศาสรบัณฑิต อาจารย์นนลพัทธ์ พิตรพิบูลปรียา
|
2) |
เมื่อหลักสูตรมีการฝึกฝนทักษะทางด้านวิชาการผ่านกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ต่างๆ จนเกิดการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา เพื่อนำไปสู่การสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือ นวัตกรรม โดยอาจเริ่มจากกรณีศึกษาในวิชาสัมมนากฏหมายธุรกิจ หรือจากการได้ปฏิบัติจริงของการเรียนรู้เชิงคลินิก |
1. จัดให้มีการเสวนาและอบรมเพื่อฝึกฝนทักษะการเป็นนักกฎหมายของนักศึกษาให้มากขึ้น
2. จัดให้มีการฝึกสหกิจศึกษา โดยจัดให้นักศึกษาได้เข้าฝึกงานกับองค์การทางกฎหมายต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น
3. จัดให้มีการศึกษาดูงานนอกห้องเรียนเกี่ยวกับงานกฎหมายในทางปฏิบัติให้มากขึ้น
|
1. โครงการศึกษาดูงานเรือนจำบางขวาง
2. กิจกรรมศึกษาดูงานสำนักงานกฎหมายต่าง ๆ อาทิ Tilleke & Gibbins
3. กิจกรรมเสวนาเกี่ยวกับการเป็นนักกฎหมายและการเป็นนักศึกษากฎหมายในประเด็นต่าง ๆ โดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอก คณะนิติศาสตร์ ในการปฐมนิเทศนักศึกษา
4. กิจกรรมฝึกอบรมการเขียนตอบข้อสอบกฎหมายและการจัดกระบวนการความคิดทางกฎหมาย
5. สหกิจศึกษา
|
1. หัวหน้าหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต อาจารย์นนลพัทธ์ พิตรพิบูลปรียา
2. รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ดร. นิดาวรรณ เพราะสุนทร
|