การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมดิจิทัล [ระบบการศึกษาทางไกลทางอินเทอร์เน็ต]

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรรวมทั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกท่านมีคุณสมบัติที่โดดเด่น มีผลงานวิชาการคุณภาพ สามารถขายในงาน PR ได้ เพื่อดึงดูดยอดผู้เรียนให้เพิ่มมากขึ้น ดำเนินการสร้างความรับรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อนำเสนอความเข้มแข็งทางวิชาการของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง โครงการเตรียมความพร้อมงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา โครงการศุกร์หรรษา ผู้อำนวยการหลักสูตร
2) การปรับปรุงสาระคำสอนในทุกรายวิชาให้มีความทันสมัยสอดรับกับเทคโนโลยีดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลง ทำได้ดีในทุกรายวิชา 1. ประชุมหลักสูตรเพื่อทบทวนเนื้อหารายวิชาให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง 2. ทาบทามอาจารย์ผู้สอนที่มีความพร้อมในการสอน การประชุมหลักสูตร ผู้อำนวยการหลักสูตร
3) อาจารย์ในหลักสูตรที่มีคุณวุฒิสูง สามารถส่งเสริมการทำวิจัยให้นักศึกษาได้ 1. ดำเนินการให้คำปรึกษางานวิจัยกับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ผ่านรูปแบบทั้งออนไลน์และ ออฟไลน์ 2. อาจารย์ประจำหลักสูตร เข้าร่วมในรายวิชา DIM492 Research methodology เพื่อผลักดันหัวข้อวิจัยให้นักศึกษาในรายวิชา 3. ประชุมนักศึกษาที่มีความต้องการเร่งด่วนในการทำงานวิจัย เพื่อพูดคุยปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น 4. จัดโครงการเตรียมความพร้อมงานวิจัยเพื่อเพิ่มความรู้ด้านการทำวิจัยให้นักศึกษา โครงการเตรียมความพร้อมการทำวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา โครงการศุกร์หรรษา ผู้อำนวยการหลักสูตร
4) เป็นหลักสูตร online ทำให้ผู้เรียนสะดวกในการเข้าศึกษาต่อ 1 จัดการเรียนการสอนแบบ block course เรียนทีละวิชา วิชาละ 5 สัปดาห์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเริ่มเรียนในช่วงเวลา ที่ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับช่วงเวลาลงทะเบียนของมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดการรับเข้านักศึกษาได้ตลอดปี 2 สร้างการรับรู้ว่าแม้จะเป็นการเรียนออนไลน์ แต่ก็สามารถได้รับประโยชน์จากการเรียนในหลักสูตรเทียบเท่าการเรียนแบบออฟไลน์ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 3 พยายามปรับปรุงเนื้อหา คลิปสอนให้ทันสมัย ทำให้ผู้เรียนที่ไม่สามารถเข้าเรียนตามเวลาที่กำหนด หรือผู้ที่ต้องการทบทวน สามารถเรียนด้วยตนเองได้ ไม่มี ผู้อำนวยการหลักสูตร
5) มีอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาที่ 100% 1 พยายามติดต่อนักศึกษาตลอดโดยสร้างกลุ่มไลน์ และกำกับให้ อาจารย์ที่ปรึกษาติดตามนักศึกษา โครงการเตรียมความพร้อมงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา โครงการศุกร์หรรษา ผู้อำนวยการหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ปรับกลไกเชิงรุกในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรเพื่อดึงดูดจำนวนผู้เรียนให้เพิ่มมากขึ้น 1. วางแผนสร้าง content ที่ดึงดูดในสื่อสังคมออนไลน์ 2. ประชาสัมพันธ์ผ่านทางคลิปสั้นของบางวิชาในหลักสูตร ไม่มี ผู้อำนวยการหลักสูตร
2) บางรายวิชาสามารถเปิดสอนแก่บุคคลภายนอกได้แบบให้ Certificate ก็ควรทำ เพื่อเพิ่มรายได้แก่หลักสูตร และเพิ่มการประชาสัมพันธ์ 1. อาจมีการปรับเนื้อหาของ certificate ให้มีความทันสมัยมากขึ้น 2. ทำการประชาสัมพันธ์เข้าไปในกลุ่มเป้าหมายของ certificate ไม่มี รศ ดร คริชณะ ฉิมมณี
3) ผลงานวิจัยของนักศึกษาควรยกระดับเข้าสู่การตีพิมพ์ในวารสารวิจัยที่อย่างน้อยอยู่ TCI กลุ่ม 2 ขึ้นไป 1. ผลักดันผ่านอาจารย์ที่ปรึกษาโดยพิจารณาความสามารถและเวลาของนักศึกษา โครงการเตรียมความพร้อมการทำวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ผู้อำนวยการหลักสูตร
4) สร้างกลไกเพื่อให้นักศึกษาจบการศึกษามากขึ้น 1 ประชุมหลักสูตรเพื่อวางแผนการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษารายคน 2 กำกับติดตามการทำวิจัยของนักศึกษา การประชุมหลักสูตร ผู้อำนวยการหลักสูตร
5) สร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการ เพื่อนำองค์ความรู้ใหม่ๆ มาเสริมในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์หลักสูตร 1. มองหาผู้ประกอบการ กลุ่มเครือข่ายที่สามารถเสริมความรู้ให้นักศึกษาได้ 2. อาจารย์ประจำรายวิชาอาจเพิ่มการศึกษาดูงานในแต่ละรายวิชา / การเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสอน ไม่มี ผู้อำนวยการหลักสูตร