การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง (online)

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งในระดับนาชาติและระดับชาติจำนวนมาก แม้ว่าอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะมีผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารทั้งในระดับนาชาติและระดับชาติจำนวนมากแล้วก็ตาม อย่างไรก็ตามการจำนวนหนึ่งอยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ที่ได้รับการสนับสนุน ในกรณีนี้ผู้วิจัยจะต้องจ่ายเองหากไม่ได้ทุนสำหรับดำเนินการวิจียจากสถาบัน แนวทางในการปรับปรุงคือให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเสนอขอทุนจากสถาบันเพื่อมีทุนสำหรับสนับสนุนการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ กิจกรรมส่งเสริมและผลักดันการสนับสนุนการขอทุนการวิจัยจากสถาบันหรือระบุข้อเสนอการตีพิมพ์ในโครงงานการวิจัย ผู้อำนวยการหลักสูตรและรศ.ดร.รัตพงษ์ สอนสุภาพ (อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรฯ)
2) หลักสูตรมีการวางแผนกระบวนการการรับนักศึกษาใหม่ที่สะท้อนจากตัวเลขที่มีจำนวนสูงขึ้น หลักสูตรมีแผนและแนวทางในการทำความร่วมมือร่วมกับองค์กรภายนอกผ่่านการอบรมฯ ระยะสั้นที่ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยของวิทยาลัยฯ และนำเสนอโครงการเทียบโอนหน่วยกิตในการลงทะเบียนเรียนลงเมื่อมาเรียนต่อในระดับปริญาโท โดยใช้แนวคิดการสะสมเครดิต (โดยการออกแบบหลักสูตรทั้งวิชาและเนื้อหาของสาระวิชาให้ครบตามจำนวนชั่วโมงการสอนที่กำหนดโดยมหาวิทยาลัยเพื่อให้สามารเทียบโอนได้) สำหรับการอบรมฯ และความร่วมมือกับองค์กรเน้นองค์กรที่มีเครือข่ายและนำไปสู่ฐานลูกค้า(ทั้งในเมืองและต่างจังหวัด)ที่สามารถเรียนได้หลังเลิกงานตตามวันเวลาที่หลักสูตรฯ กำหนด นอกจากนี้้ยังส่งเสริมให้มีการบริการทางวิชาการเพื่อเผยแพร่หลักสูตรตามวาระการประชุมวิชาการต่างๆ เพิ่มเติมอีกด้วย โครงการอบรมระยะสั้น (รูปแบบการให้บริการฟรีและเก็บค่าธรรมเนียม) และกิจกรรมบริการวิชาการโดยผ่านความร่วมมือกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้อำนวยการหลักสูตร และ ดร.ธัชกร ธิติลักษณ์
3) หลักสูตรมีการกำกับและดูแลนักศึกษาเกี่ยวกับงานวิจัยและการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฐานที่มีค่าคะแนนสูงขึ้น มีการปรับปรุงกระบวนการให้คำปรึกษาและกำกับให้นักศึกษาสามารถเสนอหัวข้อวิจัยที่สนับสนุนประโยชน์ของสังคมและเป็นเรื่องสำคัญโดยสามารถนำเอางานวิจัยไปใช้ได้จริง ทั้งมีการกำกับให้นักศึกษานำเอาบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวาราสารที่มีค่าคะแนนสูงก่อนแล้วจึงส่งวารสารในค่าคะแนนที่มีลำดับต่ำกว่า โครงการและกิจกรรมการให้คำปรึกษานักศึกษาเพื่อการตีพิมพ์วารสารที่มีระดับคุณภาพสูง ผู้อำนวยการหลักสูตรและ ผศ.ดร.บูชิตา สังข์แก้ว
4) ปัญหาของหลักสูตรฯ ในการส่งผลงานตีพิมพ์ของนักศึกษา คือนักศึกษาต้องรอคอยคิวในการลงตีพิมพ์ในวาสารที่มีระดับค่าคะแนนสูง นานและทำให้ไม่สอดคล้องกับการจบของนักศึกษา ทไใ้นักศึกษาเลือกตีพิมพ์ในวาราสารที่มีค่าคะแนนต่ำกว่า เพาระต้องการจบโดยเร็ว กำกับระยะเวลาในการดูแลนักศึกษาโดยย่นระยะเวลาการทำวิจัยให้เร็วขึ้นเพื่อให้ทันต่อรอบของการตีพิพม์ในวารสารที่มีค่าคะแนนสูง และส่งเสนอหลายๆ วารสาร มากขึ้น จัดอบรมและสร้างตารางเวลาในการกำกับของอาจารย์ปรึกษาที่ได้รับมอบหมายและทำการประชุมทุก เดือนเพือติดตามผล ผู้อำนวยการหลีกสูตร และ รศ.ดร.รัตพงษ์ สอนสุภาพ และ ผศ.ดร.บูชิตา สังข์แก้ว

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรประเมินสิ่งสนับสนุนให้ครอบคลุมทุกประเด็น และสอดคล้องกับระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ หลักสูตรจัดให้มีการสะท้อนถึงสิ่งอำนวยสะดวกจากนักศึกษาในทุกเทอม ในทุกประเด็นที่นักศึกษาต้องการ โดยได้นำเอาภาพสะท้อนมาปรับปรุงการให้การสนับสนุนของหลักสูตร โโยเฉพาะเรื่องของแหล่งสืบค้น การสำรวจความเห็นต่อการให้สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ผู้อำนวยการหลักสูตร อาจารย์ผู็รับผิดชอบหลักสูตร และเจ้าหน้าที่ประจำหลักสูตร