# | ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา | แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา | โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ | ผู้รับผิดชอบ |
---|---|---|---|---|
1) | อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีชื่อเสียงและตำแหน่งทางวิชาการ เป็นที่ยอมรับในวงการสายอาชีพ มีความสามารถทางวิชาการ อีกทั้งมีผลงานวิชาการและผลงานวิจัยจำนวนมาก | 1.จัดการวางแผนพัฒนาอาจารย์ในการทำบทความวิชาการและงานวิจัย 2.จัดกลุ่มเฉพาะทางตามความสามารถของอาจารย์ ได้แก่ (1.ธุรกิจการเมือง 2.สังคมการเมือง 3.ธุรกิจสังคม) | 1.จัดอบรมคณาจารย์รุ่นใหม่ เพื่อเขียนบทความวิชาการและงานวิจัย ภาคการศึกษาละ 2 ครั้ง 2.สนับสนุนให้คณาจารย์ได้เผยแพร่ผลงานวิชาการ ระดับประเทศ คือ TCI1 และ ระดับนานาชาติ Scopus | ผู้อำนวยการหลักสูตร |
2) | หลักสูตรมีการปรับปรุงเนื้อหาและการกำกับหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของสังคมในปัจจุบันเป็นอย่างดี | เพิ่มเนื้อหาสาระทางสหวิทยาการ เพื่อความหลากหลายของเนื้อหาดุษฎีนิพนธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลง | เชิญวิทยากร ที่เป็นผู้มีความรู้ ความเชียวชาญ ในด้านสังคม ด้านธุรกิจ ด้านการเมือง มาบรรยายให้นักศึกษา อย่างน้อยวิชาละ 2 ครั้ง | ผู้อำนวยการหลักสูตร และอาจารย์ประจำวิชา |
# | ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา | แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา | โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ | ผู้รับผิดชอบ |
---|---|---|---|---|
1) | เพิ่มแนวทางส่งเสริมให้นักศึกษาเผยแพร่งานวิจัยในระดับฐานข้อมูล TCI 1 หรือวารสารนานาชาติมากขึ้น | วางแนวทางพัฒนานักศึกษาในการเขียนบทความวิจัยไปพร้อมกับอาจารย์ ตั้งแต่ในการเรียนวิชาระเบียบวิธีวิจัย CSI702 | จัดวิทยากรมาอบรมให้ความรู้แก่นักศึกษา และคณาจารย์ ควบคู่กัน ภาคการศึกษาละ 2 ครั้ง | ผู้อำนวยการหลักสูตร และอาจารย์ที่ปรึกษา |
2) | ควรเพิ่มกลยุทธ์การติดตามความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเพื่อให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้แผนการศึกษา | 1.กำหนด timeline ของนักศึกษา แต่ละรหัส 2.กำหนดภาระงานในการเป็นที่ปรึกษาดุษฏีนิพนธ์ของอาจารย์ | ให้คณาจารย์ และ นักศึกษา ส่งรายงานขั้นตอนการทำดุษฎีนิพนธ์ เพื่่อติดตามความก้าวหน้าให้เป็นไปตาม timeline ที่กำหนดไว้ | ผู้อำนวยการหลักสูตร อาจารย์ที่ปรึกษา นักศึกษา |