การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะนิติศาสตร์
หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ตามข้อเสนอแนะ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นผู้มีชื่อเสียง และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และในสาขาวิชาชีพ หลักสูตรได้กำหนดเป้าหมายในข้อนี้ด้วยการมุ่งเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมจริงบนฐานปัญหากฎหมายและนิติกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยและสังคมโลก โดยในปีการศึกษา 2566 มีแนวทางการดำเนินงานที่สนับสนุนให้นักศึกษาปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญทั้งทางวิชาการหรือวิชาชีพจากทั้งหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อสามารถพัฒนาศักยภาพการวิจัยทางนิติศาสตร์และพัฒนางานเขียนเชิงวิชาการให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้มีมาตรฐานตามวารสารนานาชาติได้ จากการที่หลักสูตรได้กำหนดเป้าหมายและมีการดำเนินงานดังกล่าว หลักสูตรได้สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมการประชุมสัมมนาวิชาการในระดับนานาชาติ เพื่อให้มีประสบการณ์และได้แลกเปลี่ยนความเห็นทางวิชาการร่วมกันกับผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ตลอดจนส่งเสริมให้ประสานความเข้าใจเป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างนักศึกษา/อาจารย์ผู้สอนกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศ หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต
2) หลักสูตรเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สังคม และประเทศ หลักสูตรได้กำหนดเป้าหมายในข้อนี้โดยมุ่งการศึกษาค้นคว้าและการทำวิจัยวิทยานิพนธ์โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Studen Center) โดยในปีการศึกษา 2566 เมื่อแนะนำพื้นฐานการทำวิจัยแล้ว จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างแนวคิดแนวทางและหัวข้องานวิจัยด้วยตนเอง การแสวงหาจากการเรียนรู้เพื่อการสร้างนวัตกรรมทางกฎหมายใหม่ๆ ที่ทันสมัยจากการศึกษาเรียนรู้และความต้องการอันมีพื้นฐานทางความคิดและการตัดสินใจของนักศึกษาเอง และการให้กรอบของการเรียนรู้ หัวข้อ ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นปัจจุบันของสังคมไทย และกระแสความต้องการหรือทิศทางของประชาคมโลก ตลอดทั้งสนับสนุนให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลขององค์กรและผู้ทรงคุณวุฒิในระดับชาติและนาๆ ชาติ ทั้งในทางตรงและทางดิจิทัลเนสำคัญ ในปี 2566 หลักสูตรได้สนับสนุนและแนะนำให้นักศึกษาทำการศึกษาตามเป้ากรอบเป้าหมายดังข้างต้น ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สังคม และประเทศ ทำให้เกิดงานการศึกษาค้นคว้าที่สร้างสรรค์และทันสมัย ทันยุคสมัยและความต้องการของสังคมในระดับประเทศ ได้งานที่ตอบสนองความต้องการของสังคมภายใต้ความพึงพอใจหรือตามแรงบันดาลใจ(Motivation) ของผู้เรียนเป็นฐาน มากขึ้น หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรกระตุ้นให้นักศึกษาตีพิมพ์ในวารสาร TCI 1 และวารสารนานาชาติเพิ่มมากยิ่งขึ้น หลักสูตรได้กำหนดเป้าหมายในข้อนี้ด้วยการมุ่งเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมจริงบนฐานปัญหากฎหมายและนิติกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทยและสังคมโลก โดยในปีการศึกษา 2566 มีแนวทางการดำเนินงานที่สนับสนุนให้นักศึกษาปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญทั้งทางวิชาการหรือวิชาชีพจากทั้งหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อสามารถพัฒนาศักยภาพการวิจัยทางนิติศาสตร์และพัฒนางานเขียนเชิงวิชาการให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้มีมาตรฐานตามวารสารนานาชาติได้ จากการที่หลักสูตรได้กำหนดเป้าหมายและมีการดำเนินงานดังกล่าว หลักสูตรได้สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมการประชุมสัมมนาวิชาการในระดับนานาชาติ เพื่อให้มีประสบการณ์และได้แลกเปลี่ยนความเห็นทางวิชาการร่วมกันกับผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ตลอดจนส่งเสริมให้ประสานความเข้าใจเป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างนักศึกษา/อาจารย์ผู้สอนกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
2) หลักสูตรควรวางแผนการรับนักศึกษาให้เป็นไปตามแผนการศึกษาที่ได้กำหนดไว้ ในปี 2566 ได้วางแผนการรับนักศึกษาให้เป็นปตามแผนการศึกษาที่กำหนด โดยได้มีการขอความร่วมมือกับบัณฑิตวิทยาลัยและหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย โดยตลอดปีที่ผ่านมาได้ทำการประชาสัมพันธ์ทั้งในระบบดิจิทัลสื่อสารต่างๆ และการขายตรง อย่างเข้มข้น ในภาพรวมการสมัครมีผู้สมัครเรียนมากขึ้น ในระบบที่ตัดสินใจมีจำนวนประมาณ 10 ราย แต่สามารถลงทะเบียนเรียนได้จริง 8 ราย เห็นได้ว่าเกิดการกระตุ้นและมีการเติบโตของยอดการสมัครและการลงทะเบียนเรียนมากยิ่งขึ้น อุปสรรคที่พบจากการสอบถามคือ อยากเรียนแต่สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันไม่ดี หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
3) หลักสูตรควรกระตุ้นให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรผลิตผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรมีนโยบายในการกระตุ้นให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรผลิตผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จากการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยและคณะนิติศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ได้มีการพัฒนาแหล่วเผยแพร่โดยจัดทำวารสาร “กฎหมายและสังคมรังสิต” TCI 2 เพื่อสร้าพื้นที่รองรับการแผยแพร่งาน ในปี 2566 ทุกท่านมีผลงานวิชาการได้แก่ งานวิจัย หนังสือปรับปรุงใหม่ บทความ เผยแพร่ในระดับชาติและนาๆ ชาติ ตลอดทั้งการนำเสนอ บรรยาย ประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
4) หลักสูตรควรมีมาตรการส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามกรอบเวลา หลักสูตรได้กำหนดเป้าหมายในข้อนี้ด้วยการป้องกันล่วงหน้าไม่ให้มีการตกค้างของนักศึกษาในหลักสูตร โดยในปีการศึกษา 2566 มีแนวทางการดำเนินงานมุ่งเน้นให้ต้องสอบผ่านการวัดคุณสมบัติ (QE) และมีอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ ตามกรอบระยะเวลาในแผนการศึกษาที่วางแผนไว้ ซึ่งสามารถทำได้ โดยสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยการสื่อสารผ่านระบบดิจิทัล ทำให้การให้คำปรึกษาและให้ความรู้ในการเขียนงานวิจัยทางนิติศาสตร์เป็นไปอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ หลักสูตรได้ปรับปรุงระบบและกำหนดกลไลการจัดอาจารย์ที่ปรึกษา และการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา ดังนี้ 1. ให้นักศึกษามีอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญในประเด็นการศึกษาที่นักศึกษาสนใจจากการสัมภาษณ์ตั้งแต่แรกเข้า 2. กระบวนการสอบวัดคุณสมบัติ เป็นการสอบปากเปล่าและทำบทความวิชาการจากการทบทวนวรรณเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งบททบทวนวรรณกรรมที่ได้จะนำไปเป็นส่วนหนึ่งของการเสนอหัวข้อและโครงร่างวิจัย ซึ่งจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบนักศึกษาเป็นรายบุคคล ที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์ในการทำวิจัยในประเด็นการศึกษาที่สอดคล้องกับความสนใจของนักศึกษา ทั้งนี้ การให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ สามารถสื่อสารผ่านระบบดิจิทัลซึ่งรวดเร็ว ทำให้สามารถติดตามความก้าวหน้าได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อนักศึกษาที่จะสามารถพัฒนาหัวข้อและโครงร่างวิจัยให้พร้อมที่จะสอบโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ภายในเวลาที่กำหนด ส่งผลต่อเนื่องให้สามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามกรอบเวลาต่อไป จากการที่หลักสูตรได้กำหนดเป้าหมายและมีการดำเนินงานดังกล่าว นักศึกษาที่เข้ามาเรียนจะมีหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ซึ่งเป็นหัวข้อที่มีความถนัดและน่าสนใจ โดยส่วนใหญ่สอบวัดคุณสมบัติผ่าน และมีอาจารย์ที่ปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ซึ่งเชี่ยวชาญและเหมาะสมกับหัวข้อแล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่า นักศึกษาสามารถผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ตามลำดับ สอดคล้องกับที่หลักสูตรวางไว้ และคาดว่าว่านักศึกษาส่วนใหญ่จะสามารถสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตร หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์