# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีตำแหน่งทางวิชาการระดับศาสตราจารย์ 2 ท่าน อาจารย์ประจำหลักสูตรมีผลงานตีพิมพ์ระดับชาติและนานาชาติ
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เป็นวิทยากรระดับชาติ
ปีที่ผ่านมา อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีผลงานการตีพิมพ์ในระดับชาติ และมีระดับนานาชาติ ซึ่งมีจำนวนการตีพิมพ์ในระดับนึ่ง แต่ได้พยายามส่งเสริมและสนับสนุนการตีพิมพ์ให้มากขึ้น
อุปสรรคที่พบคือ วารสารระดังชาติในสาขานิติศาสตร์ มีน้อย และต้องเข้าคิวกันเป็นเวลานาน กอปรกับราคาค่าธรรมเนียมตีพิมพ์ค่อนข้างสูง ในระดับนานาชาติ อุปสรรคคือ วารสารนิติศาสตร์ นานาชาติตรวจใช้เวลามาก และค่าใช้จ่ายตลอดทั้งค่าธรรมเนียมสูง แต่ปีที่ผ่านมาก็พยายามทำได้ ระดับพอสมควร
จุดแข็งคือ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีความสามารถในการเขียนงานและการนำเสนองานในระดับนานาชาติได้อย่างดี
|
-ได้ผลักดันการทำวารสาร "กฎหมายและสังคมรังสิต" เ พื่อเป็นพื้นที่ในการตีพิมพ์เผยแพร่ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และมีค่าธรรมเนียมพิมพ์ที่ถูกกว่าภายนอก
-ประสานหาพันธมิตรวารสาร TCI และ Scopus ทั้งในและต่างประเทศ
-วางแผนการทำ MOU ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างชาติ ซึ่งได้ดำเนินการประสานงานกับ National University of Laos เพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ และเข้าร่วมเวทีนำเสนอผลงานทางวิชาการในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในภูมิภาค ASEAN และได้รับเชิญเป็นวิทยากรในระดับนานาชาติ ซึ่งในระดับต่อไปก็จะค่อยๆ ขยายไปยังมหาวิทยาลัยอื่นๆอีกต่อไป |
โครงการวารสาร "กฎหมายและสังคมรังสิต" รอผลการประเมิน TCI วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568
ผอ.หลักสูตรฯ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรที่ National University of Laos และร่วมนำเสนอบทความ The Harmful Effects of Alcohol on Humans and Legal Harm Reduction
หารือและประชุมร่าง MOU ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ National University of Laos |
ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ คณบดีคณะนิติศาสตร์
ผศ.ดร.ธานี วรภัทร์ ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
2) |
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นผู้มีคุณวุฒิสูง มีประสบการณ์ทางวิชาการ วิชาชีพ และการวิจัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน การผลิตผลงานทางวิชาการของนักศึกษา ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในด้านต่าง ๆ
-จุดเด่นมาก ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิ และประสบการณ์ ระดับศาสตราจารย์ เมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นในหลักสูตรเดียวกัน จะพบน้อยมาก
-อาจารย์อยู่ในคณะกรรมการ/หน่วยงานที่สำคัญๆ ของประเทศปัจจุบัน เช่น ท่านคณบดี , ผศ.ดร.ธานี วรภัทร์
-นโยบายคณะฯ ผลักดันให้มีผลงานทางวิขาการ ตำรา บทความ วิจัย
-การจัดกิจกรรมที่ให้นักศึกษาได้มีโอกาสในการแสดงผลงานวิชาการยังมีค่อนข้างน้อง
|
-หางานวิจัยเพิ่ม
-ผลักดันให้นักศึกษาเขียนบทความและเผยแพร่ ในระดับชาติ และนำเสนอ ทั้งในและต่างประเทศ
-หาเวทีต่างประเทศให้นักศึกษาที่มีศักยภาพเพียงพอได้มีโอกาสไปนำเสนอผลงาน โดยเฉพาะในระดับ ASEAN ก่อน |
-ปีที่ผ่านมา ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ผศ.ดร.ธานี วรภัทร์ ได้รับทุนวิจัยจากสภาวิจัยแห่งชาติ ทำวิจัยเรื่อง "นวัตกรรมทางนโยบายและกฎหมายในการจัดการกับปัญหายาเสพติดในการลดอันตรายต่อสุขภาพผู้เสพและความปลอดภัยและมั่นคงของสังคมโดยใช้ห้องบริโภคยาเสพติดในประเทศไทย" Innovations in policy and law in dealing with drug problems in reducing harm to the health of consumers and the safety and security of society by using drug consumption rooms in Thailand.
-และวิจัย จาก โครงการนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและดูแลความปลอดภัยผู้เสพกัญชาในพื้นที่ท่องเที่ยว : ศึกษาพื้นที่ต้นแบบถนนข้าวสาร Legal measures to prevent and ensure the safety of cannabis users in tourist areas: Study of the Khao San Road prototype area
-ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ แต่งตำรา "คำอธิบายกฎหมายล้มละลาย" สำนักพิมพ์วิญญูชน (ฉบับใหม่)
-ผศ.ดร.ธานี วรภัทร์ แต่งตำรา "หลักการพื้นฐานของระเบียบวิธีวิจัยทางกฎหมาย" ได้ตีพิมพ์สำนักพิมพ์วิญญูชน.
-โครงการนำเสนอผลงานวิชาการ "The 6th Annual Effective and Good Governance Research Forum. In January 31st 2025. At Faculty of Law and Political Science, National University of Laos. มีนักศึกษาเข้าร่วมนำเสนอ 3 คน อาจารย์ 1 คน |
คณบดีคณะนิติศาสตร์ และ ผศ.ดร.ธานี วรภัทร์ |
3) |
มีคลินิกกฎหมายซึ่งจะเป็นแหล่งในการสนับสนุนการเรียนรู้ และการพัฒนาผลงานทางวิชาการแก่นักศึกษา
จุดแข็ง ; 1.คณะนิติศาสตร์ มีการตั้งคลินิกกฎหมาย เป็นศูนย์ให้คำปรึกษา สนับสนุนการเรียนรู้ และการพัฒนาผลงานทางวิชาการแก่นักศึกษา ตามคำสั่งคณะนิติศาสตร์ ที่ นต.02/2565 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาวิชาการและงานวิจัยด้านกฎหมาย
2.คณะนิติศาสตร์ มีวารสารเข้าฐาน TCI ระดับ 2 ให้การสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการให้กับนักศึกษา
ปัญหาอุปสรรค ; นักศึกษาปริญญาเอกที่มีหัวข้อแล้วจะไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นหลัก / ที่มาขอคำปรึกษามีกจะเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้สอบ QE ยังไม่มีการรับรองหัวข้อและอาจารย์ที่ปรึกษา /ประกอบกับนักศึกษาส่วนใหญ่มีตำหน่งหน้าที่การงานแล้วจึงมาใช้บริการไม่มากนัก
ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา ; มีนักศึกษาที่กำลังเรียนในปีการศึกษาแรกมาขอคำปรึกษาแนะนำ แต่มักเป็นนอกเวลาทำการ หรือขอพบนอกสถานที่ |
แนวทางในการปรับปรุงพัฒนา ; เปิดช่องทางการให้คำปรึกษาในทางสื่อสารสนเทศอื่นๆ เช่น ไลน์ เฟสบุค / เพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น |
1.คลินิกกฎหมายที่มีอยู่
2.กองบรรณาธิการวารสาร "กฎหมายและสังคมรังสิต" |
คณบดีคณะนิติศาสตร์
ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาวิชาการและงานวิจัยด้านกฎหมาย
บรรณาธิการวารสารกฎหมายและสังคมรังสิต
ผู้จัดการวารสารกฎหมายและสังคมรังสิต |
# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
นักศึกษารับเข้าเรียนน้อยกว่า RQF.2 ที่กำหนดไว้ 10 คน
ปัญหา/อุปสรรค ; การประชาสัมพันธ์ที่ต้องเพิ่มมากขึ้น / คู่แข่งมหาวิทยาลัยอื่นๆ เปิดกันมากขึ้น /การแข่งขันในค่าเล่าเรียนที่ถูกกว่า และส่วนลดที่มากของมหาวิทยาลัยต่างๆ
ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา ; หลักสูตรเป็นที่รู้จัดมากขึ้น มีผู้มาสมัครเรียนมากถึง 10 คน แต่ลงทะเบียนเรียนจริง 8 คน จำนวน 2 คนที่ไม่มาเรียนสอบถามพบว่ายังติดปัญหาทางการเงิน ในปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ยอดนักศึกษาเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีผู้สมัครเรียนจำนวน 6 คน ถือเป็นปรากฎการณ์ที่ดีที่ยอดนักศึกษาเริ่มขยับดีขึ้น |
แนวทางในการปรับปรุงพัฒนา :
1.ร่วมมือกับหน่วยสื่อสารของมหาวิทยาลัย และบัณฑิตวิทยาลัย ในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์มากขึ้น และต่อเนื่อง
2.ทำคลิปแนะนำการศึกษา โดยคณาจารย์ /นักศึกษา
3.ทำการเจาะการแนะนำ เชิญเรียนแบบรายบุคคล
4.เพิ่มมาตรการลดราคา
5.เจาะกลุ่มนักศึกษาปริญญาโท ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรังสิต
6.ทำ MOU ทดลองเปิดการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มอาจารย์และนักศึกษา National University of Laos ซึ่งสามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฎษได้ /การขออนุมัติการให้ทุนฯ |
1.โครงการคลิปแนะนำกฎหมายโดยนักศึกษาปริญญาเอก ทำไป 3 ชุด
2.โครงการคลิปแนะนำการเรียนการสอน/เชิญชวนมาสมัครเรียน โดยคณาจารย์ /ผู้บริหาร ทำไป 2 ชุด
3.การทำโปสเตอร์ Online ประชาสัมพันธ์ในไลน์/เฟส กลุ่มนักศึกษาศิษย์เก่าที่เรียนจบปริญญาโท
4.โครงการจัดทำ MOU กับ National University of Laos |
คณบดีคณะนิติศาสตร์
รองคณบดีฝ่ายบริห่าร คณะนิติศาสตร์
ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัฯฑิต
|
2) |
ควรมีการประชาสัมพันธ์หลักสูตร ให้มากยิ่งขึ้น
ปัญหาอุปสรรค ; การสื่อสารให้เป็นที่รู้จักของกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนที่เรียนจบปริญญาโท ทางนิติศาสตร์ที่เป็นศิษย์เก่า และบุคคลทั่วไป ให้เข้าถึงข้อมูล / ระบบการเรียนการสอนของหลักสูตรที่ทันสมัยและเหมาะกับการเรียนในยุคปัจจุบัน/ ราคาไม่แพง / และชื่อเสียง, ผลงาน ของอาจารย์ ยังต้องทำเพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง
ข้อคิดเห็นปีที่ผ่านมา : เห็นได้ว่าหลักสูตรฯ มีจุดเด่นหลายด้าน เมื่อนำมาประชาสัมพันธ์ส่งผลให้มีคนสนใจมากขึ้น และมีผู้สมัครและลงทะเบียนขยับมากขึ้น |
ประสานงานกับหน่วยงานของมหาวิทยาลัยในเรื่องรูปแบบ วิธีการ กลุ่มเป้าหมาย ในการประชาสัมพันธ์
ประสานงานกับหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศ อาจมีการทำข้อตกลงกันในการประชาสัมพันธ์และการให้ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ |
1.การจัดทำคลิปแนะนำหลักสูตร โดยผู้บริหาร/อาจารย์ /นักศึกษา
2.การจัดทำคลิปแนะนำผลงานการตีพิมพ์ของอาจารย์ เช่น ตำรา งานวิจัย ในหลักสูตร
3.ประสานงานทำข้อตกลง MOU กับ National University of Laos ในการร่วมมือทางวิชาการ การประชาสัมพันธ์หลักสูตรฯ และแนะแนวการศึกษาเพื่อมาเรียนกับหลักสูตรของเรา
4.ใช้สื่อดิจิทัลและสื่ออื่นๆ ทุกๆ ประเภท |
คณบดีคณะนิติศาตร์
รองคณบดีฝ่ายบริหาร
ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตร์ |
3) |
ควรนำเครื่องมือ AI มาช่วยงานวิจัยของนักศึกษา
ปัญหาอุปสรรค์; นักศึกษาขาดทักษะในการนำเครื่องมือ AI มาช่วยงานวิจัยของตนเอง
ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา ; พบว่าความล่าช้าในการค้นคว้าเกิดขากการขาดทักษะในการค้นคว้าและเวลา และไม่ได้ใช้ AI ในการมาช่วยทำงานวิจัยของตนเอง /เมื่อมีการแนะนำก็สามารถทำได้ |
ได้เพิ่มเติมความรู้การใช้ AI มาช่วยในงานวิจัย ในวิชา สัมมนาทางกฎหมาย /วิชาระเบียบวิธีวิจัยทางกฎหมาย ในภาคเรียนที่ 1 และ 2 กับ การให้คำแนะนำรายบุคคลจากคลินิกกฎหมาย
|
1.การจัดให้มีการเรียนการสอนการใช้ AI เพื่อการค้นคว้าในวิชา สัมมนากฎหมายขั้นสูง และระเบียบวิธีวิจัย |
อาจารย์ผู้บรรยาย
ผู้อำนวยการหลักสูตรฯ
คลินิกกฎหมาย |
4) |
เพิ่มเติมการวางแผนการเผยแพร่ผลงานของอาจารย์ / การวางแผนพัฒนาส่วนบุคคล
ปัญหาอุปสรรค; แหล่งเผยแพร่วารสารต่างๆ ใช้เวลานาน และเสียค่าธรรมเนียมสูง
ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา ; มีการวางแผนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และสร้างโอกาสในการเผยแพร่ด้วยวิธีการอื่นๆ |
1.ให้เผยแพร่ในวารสาร "กฎหมายและสังคมรังสิต" โดยการลดราคาค่าธรรมเนีบมหรือหากองทุนหรืองบประมาณสนับสนุน
2.แนะนำวารสารฐาน Scopus ให้อาจารย์ทั้งวารสารภายในและภายนอกประเทศ
3.แนวทางเผยแพร่ในสื่อ Online ต่างๆ
4.การเผยแพร่โดยสำนักพิมพ์เอกชน |
1.วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต
2.การทำคลิปแนะนนำผลงานตำรา "หลักการพื้นฐานของระเบียบวิธีวิจัยทางกฎหมาย"
3.การตีพิมพ์ตำรากับสำนักพิมพ์วิญญูชน เช่น ตำรากฎหมายล้มละลาย ของศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ , ตำราหลักการพื้นฐานของระเบียบวิธีวิจัยทางกฎหมาย ของ ผศ.ดร.ธานี วรภัทร์ |
คณบดีคณะนิติศาสตร์
ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
5) |
หลักสูตรมีอัตราการสำเร็จการศึกษาในระดับน้อย ต้องเร่งดำเนินการในประเด็นนี้อย่างเร่งด่วน
ปัญหาอุปสรรค; มาตรฐานการศึกษาของงานวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอก ต้องรักษาไว้ กับ เวลาของผู้เรียนในการทุ่มเทการทำงานวิจัย และ ความยากง่ายของการค้นคว้าข้อมูล
ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา; การให้ความสำคัญกับอาจารย์ที่ปรึกษา และการให้อาจารย์ที่ปรึกษาติดตามในเชิงรุก อย่างสม่ำเสมอ |
การทำให้การให้คำปรึกษาของที่ปรึกษามีการเร่งรัดและเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง
ให้คลินิกวิจัยฯ ของคณะให้ความช่วยเหลือแนะนำเมื่อเกิดการติดขัด
หลักสูตรฯ ช่วยในการสอบถามติดตาม |
โครงการศูนย์ส่งเสริมพัฒนาวิชาการและงานวิจัยด้านกฎหมาย
การติดตามโดยหลักสูตรฯ |
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
ผอ.หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณพิต
เจ้าหน้าที่หลักสูตร |
6) |
-การให้ความช่วยเหลือในด้านงบประมาณ/ทุน ในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ตำรา
การให้ทุนวิจัยที่มากขึ้น
-การจัดทำสื่อ Online และค่าใช้จ่ายในการจัดการเผยแพร่ |
จัดสรรงบประมาณสนับสนุน
|
การจัดสรรงบประมาณหรือความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งทุนวิจัย เขียนตำรา และบทความ |
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและคณะ |