การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัล

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีแผนการรับนักศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ทำให้จำนวนนักศึกษารับเข้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2565 หลักสูตรได้มีการปรับปรุงระบบและกลไก โดยใช้ข้อมูลย้อนกลับจากการสังเกตและการพูดคุยกับนักศึกษาใหม่จากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในการพัฒนาระบบและกลไก โดยปัญหาที่พบ คือนักศึกษาต้องการเรียนหลักสูตรปริญญาตรีสองใบ หรือปริญญาตรีควบปริญญาโท แต่ยังไม่มีความเข้าใจในปริญญาใบที่สองมากพอ ในขณะที่นักศึกษาโอนย้ายเกิดความสับสนในรายวิชาที่สามารถโอนย้ายได้และวิชาที่ต้องเรียนใหม่ในหลักสูตรฯ ส่งผลให้หลักสูตรได้การดำเนินการการติดตาม และประเมินผลการรับนักศึกษา ดังนี้ (1) การรับนักศึกษาใหม่ สาขาได้ประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการปรับปรุงระบบ ซึ่งช่วยให้มีความพร้อมในการแนะนำหลักสูตร โดยสร้างคู่มือโครงสร้างหลักสูตรป.ตรี 3 ปี ปริญาตรี 2 ใบ และปริญญาตรีควบปริญาโท โดยนัดหมายอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรประชุมร่วมกัน โดยสร้างความเข้าใจร่วมเกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตรเพื่อให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสามารถตอบคำถามของผู้สมัครเรียนได้ อีกทั้งยังมีการจัดทำเอกสารออนไลน์สามารถเข้าถึงได้ด้วย QR Code นอกจากนี้หลักสูตรยังเพิ่มช่องทางการติดต่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในปริญญาตรีใบที่สอง และหลักสูตรปริญญาโทเพื่อประกอบการตัดสินใจเข้าเรียนของนักศึกษา (2) การรับนักศึกษาโอนย้าย สาขาได้ปรับปรุงและประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในการแนะนำสำหรับนักศึกษาปี 2565” ซึ่งมีรายละเอียดของหมวดหมู่การแบ่งรายวิชาที่ชัดเจนขึ้น โดยปรับปรุงคู่มือให้นักศึกษาสามารถตรวจสอบรายวิชาที่เรียนไปแล้วหรือรายวิชาที่นักศึกษาสามารถโอนหน่วยกิตได้ โดยเน้นการจัดหมวดหมู่รายวิชาให้ดูง่าย เพื่อลดความสับสนแก่นักศึกษาโอนย้าย โดยสร้างเป็น QR Code เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ อีกทั้ง ได้จัดปฏิทินในการให้คำปรึกษาเรื่องของการโอนย้ายสาขาแก่นักศึกษา สำหรับนักศึกษาที่ต้องการเข้าพบ โดยนักศึกษาสามารถเข้ามาปรึกษาเรื่องของการโอนย้ายได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตามเวลาที่กำหนดในปฏิทินการให้คำปรึกษา หัวหน้าสาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัล และอาจารย์ประจำหลักสูตร
2) หลักสูตรมีการวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน ที่ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาจนทำให้เกิดผลงานเชิงสร้างสรรค์สังคมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยจนได้รับรางวัลในระดับชาติ สาขาวิชาฯจัดประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้ช่วยอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ เพื่อสนับสนุนนักศึกษาในการผลิตผลงานภาพยนตร์ประกอบรายวิชาที่เน้นการปฏิบัติ รวมทั้งสำรวจเครื่องมืออุปกรณ์ที่สามารถทำให้นักศึกษาสามารถผลิตผลงานภาพยนตร์ที่มีคุณภาพเทียบเท่ามืออาชีพ รวมทั้งสำรวจและสั่งซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ที่ตอบสนองความต้องการของนักศึกษา ทำให้การเรียนการสอนในสาขาวิชาฯมีความโดดเด่น นักศึกษาชื่นชอบในการผลิต และสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์สั้นที่มีคุณภาพประกอบการเรียน ส่งประกวดได้รับรางวัลในระดับชาติ หัวหน้าสาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัลและอาจารย์ประจำหลักสูตร
3) หลักสูตรมีแผนบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารอาจารย์ที่สามารถรักษาอาจารย์ให้มีอัตราคงอยู่อย่างสมดุลกับภาระงานในหลักสูตรได้ 1) ส่งเสริมให้อาจารย์มีการพัฒนาตนเอง โดยการเข้าร่วมอบรม สัมมนา ประชุมวิชาการ ศึกษาดูงานในหัวข้อที่ตรงกับสาขาวิชาฯ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และ อบรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี ผลการดำ เนินการ พบว่า อาจารย์ได้มีการพัฒนาตนเองได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด อีกทั้งอาจารย์มีการพัฒนาเพื่อนำ ไปปรับสอนในรายวิชา DFM232 การผลิตภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์ เพื่อบูรณาการการเรียนการสอนร่วมกับองค์กรวิชาชีพบริษัทโซนีเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดโอกาสให้อาจารย์ได้ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้อุปกรณ์กล้องถ่ายทำภาพยนตร์ และจัดกิจกรรม workshop การถ่ายทำภาพยนตร์และซีรีส์ เน้น ฉากแอ็คชั่น โดยใช้การถ่ายทำในระบบสองกล้อง (Multiple Camera System) ทำให้อาจารย์ได้มีการพัฒนาความรู้ได้ทันตามสถานการณ์ปัจจุบัน 2) ส่งเสริมให้อาจารย์ทำผลงานวิชาการ โดยการทำผลงานสร้างสรรค์ โดยได้กำหนดเป้าหมายว่าในปี 2565 จะต้องมีผลงานวิชาการอย่างน้อยคนละ 1 ชิ้น ผลการดำเนินการ พบว่า อาจารย์มีผลงานวิชาการอย่างน้อย 1 ชิ้น ตามเป้าหมาย รวมผลงานทั้งหมด จำนวน 3 ชิ้น ดังนี้ 1) อาจารย์วาจวิมล เดชเกตุ มีงานสร้างสรรค์ 2 ชิ้น 2) ผศ.อนุสรณ์ ศรีแก้ว มีงานสร้างสรรค์ 1 ชิ้น ซึ่งถือว่าเป็นการดำเนินงานด้านการพัฒนาอาจารย์ของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามเป้าหมายและเห็นผลในเชิงประจักษ์ 3) อาจารย์ทุกคนต้องรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี เพื่อประเมินการปฏิบัติงานส่วนบุคคลโดยมีคณะกรรมการจากวิทยาลัยนิเทศศาสตร์เป็นผู้พิจารณาในแต่ละหัวข้อ ผลการดำเนินการ พบว่าอาจารย์ได้ผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เป็นไปตามเป้าหมาย 4) อาจารย์ต้องกำหนดแผนพัฒนาตนเองรายปี และให้มีการประเมินผลงานของอาจารย์เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการกระตุ้น พิจารณาข้อบกพร่อง และหาแนวทางการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ให้ดีขึ้น ผลการดำเนินการ พบว่า อาจารย์ได้มีการปฏิบัติงานได้ตามแผนที่เสนอไว้ 5) ส่งเสริมให้อาจารย์เป็นวิทยากรในการบริการวิชาการทั้งภายในและภายนอก เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ของอาจารย์ และพัฒนาศักยภาพของหลักสูตร ผลการดำเนินการ พบว่า อาจารย์ทุกคนได้มีส่วนร่วมเป็นวิทยากรในโครงการบริการวิชาการที่จัดโดยหลักสูตร และวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ ทั้งภายในและภายนอก หัวหน้าสาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัล
4) หลักสูตรมีการบูรณาการกิจกรรมกับการเรียนการสอน สาขาวิชาฯกำหนดโครงการประจำสาขาคือ โครงการภาพยนตร์ต้นแบบ ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมศักยภาพนักศึกษาในการผลิตภาพยนตร์สั้นที่มีคุณภาพและสามารถส่งเข้าประกวดในเวทีการประกวดระดับประเทศ โดยมีการคัดเลือกกลุ่มนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา DFM 233 การผลิตภาพยนตร์ ผ่าน คณะกรรมการที่สาขาวิชาฯจัดตั้ง ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัลทุกคน ทำหน้าที่คัดเลือก กลุ่มนักศึกษาที่สามารถนำเสนองานผลิตภาพยนตร์สั้นที่มีคุณภาพดีที่สุด เพียง 1 กลุ่ม เข้าร่วม โครงการภาพยนตร์ต้นแบบ และส่งเสริมนำผลงานที่นักศึกษาผลิตร่วมโครงการ เข้าร่วมประกวดในเวทีประกวดภาพยนตร์สั้นระดับประเทศ จนได้รับรางวัลในระดับชนะเลิศ สาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัล และอาจารย์ประจำหลักสูตร
5) หลักสูตรมีการจัดสรรอุปกรณ์การเรียนเพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อการจัดกรเรียนการสอน ปีภาคการศึกษา 2565 มีการปรับปรุงกระบวนการด้วยการมอบหมายอาจารย์ผู้สอนรายวิชาผลิตประสานงานเจ้าหน้าที่จัดคิวการยืมอุปกรณ์ และชี้แนะการเลือกใช้อุปกรณ์ตามความเหมาะสมของการผลิต อุปกรณ์บางประเภทนักศึกษาสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ เช่น กล้องถ่ายภาพยนตร์ อาจใช้กล้อง DSLR หรือ กล้องจากโทรศัพท์มือถือ โดยนักศึกษาได้รับการรับรองจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาเห็นชอบอนุมัติให้ใช้ถ่ายทำงานปฏิบัติได้ กรณีนักศึกษาต้องการใช้เครื่องมืออุปกรณ์การถ่ายทำเร่งด่วนไม่สามารถรอคิวอุปกรณ์การถ่ายทำได้ เจ้าหน้าที่สามารถให้คำแนะนำเช่ายืมอุปกรณ์จากบริษัทของศิษย์เก่าภาพยนตร์รังสิตที่ได้รับการประสานงานให้ลดราคาการเช่ายืม โดยมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรประสานงานในส่วนนี้กับบริษัทศิษย์เก่า หัวหน้าสาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัล และอาจารย์ประจำหลักสูตร
6) หลักสูตรมีระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษ ที่ให้ความสำคัญกับการพิจารณาคุณสมบัติของอาจารย์ โดยมีการเพิ่มคุณสมบัติการมีความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่เน้นที่ผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถในการเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ดิจิทัล และพร้อมก้าวสู่การเป็นมืออาชีพในสายงานทางด้านภาพยนตร์ในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจารย์ประจำหลักสูตร และ อาจารย์พิเศษ สาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัล เป็นอาจารย์ที่มีความรู้และมีประสบการณ์โดยตรงในด้านวิชาชีพทางด้านการผลิตภาพยนตร์ ทำให้นักศึกษาได้รับประโยชน์โดยตรงทั้งการถ่ายทอดความรู้ในเชิงทฤษฎีประกอบการปฏิบัติงานผลิตภาพยนตร์ รวมทั้งการแนะนำนักศึกษาเข้าฝึกงาน ทำโครงการสหกิจ และสามารถต่อยอดสู่สายวิชาชีพ รายวิชาบังคับบางวิชาอาจารย์ประจำหลักสูตร เชิญ วิทยากรมืออาชีพเพื่อมาสอนในหัวข้อที่นักศึกษาสามารถได้รับความรู้และเรียนรู้ทักษะได้อย่างดี สร้างประโยชน์ต่อนักศึกษาและนำช่องทางนำนักศึกษาสู่สายวิชาชีพผ่านวิทยากรอาจารย์เชิญมาเป็นวิทยากร หัวหน้าสาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัล และอาจารย์ประจำหลักสูตร
7) หลักสูตรมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน รวมทั้งมีการวางกลยุทธ์การสอนทั้งในระบบห้องเรียนและการสอนนอกห้องเรียน ส่งผลให้นักศึกษามีพัฒนาการเรียนรู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เกี่ยวกับการผลิตสื่อภาพยนตร์ดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่นักศึกษาได้รับรางวัลทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับประเทศ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการทำงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากผลความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตใหม่มีค่าเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2564 อาจารย์ประจำหลักสูตรกำหนดแนวทางการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาที่เน้นการผลิตภาพยนตร์ เป็นงานกลุ่ม อาจารย์กำหนดให้นักศึกษานำเสนอบท นำเสนอแนวทางการผลิต ก่อนไปสู่ขั้นตอนการผลิตต่อไป การคุยงานกลุ่มระหว่างอาจารย์และนักศึกษา เป็นไปในลักษณะนอกเวลาเรียน เป็นช่วงเวลาที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ และแนะนำแลกเปลี่ยนความคิด นำไปสู่การพัฒนาต่อยอดให้การศึกษาบรรลุเป้าหมาย อาจารย์สามารถส่งเสริมนักศึกษาสู่การคิดผลิตภาพยนตร์ที่ดีมีคุณภาพ นักศึกษาสามารถสอบถามในทุกเรื่องที่สงสัย และรับทราบการผลิตที่ดีมีผลต่อคุณภาพผลงาน ร่วมทั้งวิทยากรที่เชิญมาให้ความร่วมมือในการให้คำปรึกษา คอมเม้นท์งานผลิตของนักศึกษา เป็นอีกทางเลือกในการสร้างสรรค์ภูมิความรู้ให้กับนักศึกษาจนสามารถสร้างสรรค์คุณภาพงานผลิตภาพยนตร์สั้นที่มีคุณภาพในระดับชนะการประกวด หัวหน้าสาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัลและอาจารย์ประจำหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรมุ่งพัฒนาและส่งเสริมอาจารย์ประจำหลักสูตรให้เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมอาจารย์ประจำหลักสูตรให้สร้างสรรค์ผลงานวิชาการในลักษณะของการสร้างสรรค์งานภาพถ่ายประกอบบทความวิชาการ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเองในการขอตำแหน่งวิชาการต่อไป นอกจากนี้มีการสนับสนุนให้อาจารย์ประจำหลักสูตรวางแผนศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก
2) หลักสูตรควรวางแผนและการจัดการความเสี่ยงด้านนักศึกษา เพื่อให้อัตราการคงอยู่และอัตราการสำเร็จการศึกษาเป็นไปตามแผนและระยะเวลาของหลักสูตร - สาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัล ใช้ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อทำหน้าที่ให้ข้อมูลและตรวจสอบการลงทะเบียนเรียน ปัญหาการเรียน และการนักศึกษาที่มีปัญหาต้องพำักการเรียน ควรวางแผนเรียนภายหลังการกลับมาเรียนต่อให้สำเร็จการศึกษา ไม่ทิ้งการเรียนหรือลาออกกลางคัน ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาจัดสรรให้อาจารย์ประจำหลักสูตรดูแลนักศึกษาแต่ละชั้นปี และพร้อมให้คำปรึกษาทั้งในระบบออนไลน์ และนัดพบตัวต่อตัววางแผนการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา ที่เลือกลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา ด้วยจำนวนวิชาตามแผนการลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษากำหนดไว้ หัวหน้าสาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัล และอาจารย์ประจำหลักสูตร
3) หลักสูตรควรมีกระบวนการติดตามนักศึกษาที่มีผลการเรียน IP การลดจำนวนนักศึกษาที่มีผลการเรียน IP ในรายวิชาที่มีการปฏิบัติงานกลุ่ม สาขาวิชาฯจัดประชุมอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการวางแผนการสอนและการทำงานกลุ่มปฏิบัติของนักศึกษา เสร็จสิ้นภายในภาคการศึกษา นอกจากนี้มีการกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่เน้นการปฏิบัติ ต้องทำงานประสานร่วมกับผู้ช่วยอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ที่ดูแลในส่วนของอุปกรณ์เครื่องมือปฏิบัติ จัดระบบการยืมอุปกรณ์เพื่อการผลิตงานภาพยนตร์ของนักศึกษา โดยพิจารณาคิวการยืมอุปกรณ์ของนักศึกษาอย่างเป็นระบบ และตรวจสอบอุปกรณ์ให้เกิดความเพียงพอเหมาะสมกับรายวิชาในสาขาฯ ตลอดจนมีการจัดซื้ออุปกรณ์ที่สำคัญเพื่อทดแทนเครื่องมืออุปกรณ์ที่มีจำนวนจำกัดและจำเป็นในการผลิตงานของนักศึกษา คือ อุปกรณ์กล้องในการถ่ายทำภาพยนตร์พร้อมอุปกรณ์ประกอบครบชุด ไม่มี หัวหน้าสาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัล