การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัล

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีแผนการรับนักศึกษาและมีการดำเนินการด้านการรับนักศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ทำให้มีจำนวนนักศึกษารับเข้ามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง - มีการประชาสัมพันธ์ผลงานของนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าไปยังช่องทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นจุดเด่นที่นักศึกษาส่วนมากที่ติดตามข่าวสารรับรู้ถึงชื่อเสียงและผลงานของสาขา - การปรับปรุงหลักสูตรที่ให้นักศึกษาสามารถจบการศึกษาได้ในระยะเวลา 3 ปี สาขาวิชาได้จัดกิจกรรมรุ่นพี่กับนักศึกษาใหม่ได้ทำหนังสั้นร่วมกัน เป็นกิจกรรมที่ดีในการสร้างความร่วมมือระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนก่อนการเรียนจริง และโครงการภาพยนตร์ต้นแบบ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
2) หลักสูตรมีการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาที่ก่อให้เกิดการสร้างผลงานสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนเพื่อการบริการวิชาการทางสังคมได้เป็นอย่างดี จนเห็นผลประจักษ์อย่างเป็นรูปธรรมจากรางวัลระดับประเทศที่ได้รับอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการส่งเสริมศักยภาพนักศึกษาผ่านกิจกรรมทั้งในระดับสาขา ระดับคณะ และในด้านวิชาชีพภายนอก การจัดโครงการประจำปีของสาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัลร่วมกับมหาวิทยาลัยรังสิตคือ โครงการภาพยนตร์ต้นแบบ สนับสนุนนักศึกษาสาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัลทุกชั้นปีร่วมโครงการผลิตภาพยนตร์สั้นภายใต้การสนับสนุนโครงการด้วยงบประมาณการผลิตของมหาวิทยาลัยรังสิตในรูปแบบโครงการ และมีการตรวจสอบคุณภาพผลงานจากอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อส่งประกวดในเทศกาลการประกวดภาพยนตร์สั้นระดับประเทศ รวมทั้งการส่งประกวดในเวทีการประกวดที่จัดโดย มหาวิทยาลัยรังสิต คือ การประกวดภาพยนตร์สั้น Sun Short Film ผลงานภาพยนตร์สั้นนักศึกษาสาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัลได้รับรางวัลต่อเนื่องเป็นประจำในเวทีต่างๆ ส่งผลต่อการประชาสัมพันธ์หลักสูตรและสร้างผลสำเร็จเพื่อให้นักศึกษาใช้เป็นผลงานอ้างอิงการทำงานต่อไป -โครงการภาพยนตร์ต้นแบบ -การส่งเสริมนักศึกษาส่งผลงานประกวดภาพยนตร์สั้นในเวทีประกวดต่างๆ โดย ให้คำปรึกษาเรื่องบทภาพยนตร์ ให้คำแนะนำการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ประกอบการถ่ายทำภาพยนตร์สั้น และพิจารณาการให้ยืมอุปกรณ์การถ่ายทำภาพยนตร์ คือ ประเภทกล้องและอุปกรณ์ประกอบการถ่ายทำที่เหมาะสมกับการผลิตภาพยนตร์ อุปกรณ์ประกอบการจัดแสงฉากภาพยนตร์ และเครื่องบันทึกเสียงประกอบการถ่ายทำภาพยนตร์ -กิจกรรมร่วมกับโรงเรียนที่ต้องการให้สาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัล ร่วมอบรมและผลิตภาพยนตร์สั้นให้กับนักเรียนในโรงเรียน เป็นการประชาสัมพันธ์หลักสูตรผ่านนักเรียนมัธยมที่เข้าร่วมกิจกรรม และเป็นการฝึกฝนนักศึกษาสาขาวิชาฯ ร่วมปฏิบัติการผลิตภาพยนตร์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
3) หลักสูตรมีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่อำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอและมีการจัดการทรัพยากรที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น จึงทำให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยเฉพาะสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการปรับปรุงห้องปฏิบัติการและอุปกรณ์ต่างๆ ให้มีความสมบูรณ์รองรับการใช้งานของนักศึกษา โดยสาขาวิชาได้ปรับปรุงห้องปฏิบัติการถ่ายภาพและห้องเบิกจ่ายอุปกรณ์การถ่ายทำภาพยนตร์ในปีการศึกษา 2566 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ประจำหลักสูตรไม่มีผลงานวิชาการประเภทบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ ดังนั้นหลักสูตรสามารถวางแผนการบริหารและพัฒนาอาจารย์ให้มีศักยภาพที่สูงขึ้นเพื่อส่งผลต่อคุณภาพหลักสูตรต่อไป ส่งเสริมให้อาจารย์ประจำหลักสูตรเข้ารับการอบรมการผลิตผลงานทางวิชาการเพื่อขอตำแหน่งผลงานทางวิชาการ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
2) หลักสูตรควรวางแผนระยะยาวด้านอัตรากำลังอาจารย์ในการรับอาจารย์ใหม่ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรเพื่อการวางแผนการบริหารอาจารย์และการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์ให้เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการต่อไป -หลักสูตรดำเนินการขออัตราอาจารย์ใหม่ในปีการศึกษาถัดไป -อาจารย์ประจำหลักสูตร 1 คน อยู่ในขั้นตอนการศึกษาระดับปริญญาเอก และคาดว่าสำเร็จการศึกษาดุษฎีบัณฑิตในปีการศึกษา 2568 -อาจารย์ประจำหลักสูตร 1 คน อยู่ระหว่างดำเนินการขอตำแหน่งทางวิชาการ - การส่งเสริมอาจารย์ประจำหลักสูตรเข้าสู่การอบรมเพื่อเข้าสู่การขอตำแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ประจำหลักสูตร
3) นักศึกษาบางส่วนไม่สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด ควรติดตามนักศึกษาโดยเฉพาะในวิชาปฏิบัติ สาขาวิชาได้ดำเนินการแก้ไขในปีการศึกษา 2567 โดยในรายวิชาปฏิบัติ ลดการให้ผลการเรียนเป็นเกรด IP โดยอาจารย์ผุ้สอนในรายวิชาปฎิบัติ เร่งรัดให้นักศึกษาผลิตผลงานให้ทันตามระยะเวลาที่กำหนด อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร