การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรมีการปรับปรุงกระบวนการรับนักศึกษาโดยปรับปรุงรูปแบบการประชาสัมพันธ์หลักสูตรส่งผลให้ในปีการศึกษา 2565 มีจำนวนนักศึกษารับเข้าเกินกว่าเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนด และดำเนินการเรื่องการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาเพื่อให้เข้าใจหลักสูตรและมีอัตราคงอยู่ที่ดีขึ้น 1.หลักสูตรได้มีการประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทาง เช่น การใช้เพจสาขาวิชาในโซเชียลมีเดียเพื่อแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับหลักสูตร นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอความน่าสนใจของหลักสูตรในงานแสดงผลงานและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อดึงดูดนักเรียนที่สนใจให้มาสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้มากขึ้น ทั้งยังมีการติดตามผู้สนใจที่ทำการสอบถามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีเพิ่มขึ้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการรับนักศึกษาที่มีคุณสมบัติตรงกับหลักสูตรนี้เพิ่มขึ้นได้ด้วย 2.หลักสูตรมีโครงการ เช่น การสอนเกรียนให้เซียนสื่อในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย นับได้ว่าเป็นการเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับสาขาวิชา นักศึกษาที่มีโอกาสได้รับการแนะแนวนอกสถานที่จะสามารถมีความคิดที่น่าสนใจและมีคุณภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังสร้างโอกาสให้นักศึกษาเข้าถึงแหล่งข้อมูลและเส้นทางการเรียนรู้ที่หลากหลาย 3.หลักสูตรมีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา ซึ่งนับได้ว่าเป็นแนวทางที่สร้างพื้นที่ให้นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะและความสามารถในทางปฏิบัติจริง นอกจากนี้ยังสร้างโอกาสให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จากกิจกรรมอีกด้วย หัวหน้าสาขาวิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
2) หลักสูตรมีการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา เพื่อเข้าสู่วิชาชีพในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และการได้รับรางวัลในระดับชาติ จัดเวทีการประกวดของนักศึกษาเองภายในมหาวิทยาลัยและส่งเสริมเวทีประกวดภายนอกในเทศกาลต่างๆ หัวหน้าสาขาวิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
3) มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรมีการออกแบบหลักสูตร และสาระรายวิชาในหลักสูตรที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน มีหลักสูตรหรือรายวิชาที่เป็นความร่วมมือกับสถานประกอบการ เพื่อให้สอดคล้องกับรายวิชา และมีการต่อยอดเรื่องการบรูณาการรายวิชา เพื่อการประกวดทางวิชาชีพ และได้รับรางวัลระดับชาติ ที่เป็นจุดที่ควรพัฒนาและแนวทางปรับปรุง และหลักสูตรมีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ และเชื่อมโยงกับการนำไปใช้ได้จริง หัวหน้าสาขาวิชาการเขียนบทและกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรควรมีกระบวนการส่งเสริมให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่กำหนด หลักสูตรฯ มีแผนการติดตามและการทำความเข้าใจเรื่องการทำปริญญานิพนธ์เพื่อสำเร็จการศึกษา หัวหน้าสาขาวิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
2) หลักสูตรส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตผลงานทางวิชาการ เพื่อผลักดันการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ส่งเสริมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรในการทำงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ หัวหน้าสาขาวิชาการเขียนบทและกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
3) เก็บข้อมูลเพื่อการต่อยอดการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา หลักสูตรมีการเก็บข้อมูล การใช้บัณฑิตจากผู้มีส่วนได้เสียนำข้อมูลมาปรับปรุง วิธีการให้คำปรึกษา และวิธีการจัดการปัญหาของนักศึกษาจากองค์กรภายนอก เพื่อความเป็นสากล หัวหน้าสาขาวิชาการเขียนบทและกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร