การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัลและแบรนด์ดิ้ง

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) จุดเด่น หลักสูตรมีจุดแข็งด้านคุณภาพอาจารย์ โดยมีอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 4 คน แนวทางเสริม ส่งเสริมให้อาจารย์ได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ในสาขาวิชาชีพที่ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดจัดการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น มีกิจกรรมที่จัดขึ้นให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้มาพูดคุยกันเพื่ออัพเดทเทรนด์ที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัลและการสื่อสารแบรนด์อยู่เสมอ โดยจะจัดขึ้นภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง รวม 2 ครั้งต่อปีการศึกษา กิจกรรม IMC Trend & Research Talk อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
2) จุดเด่น หลักสูตรมีการพัฒนาระบบสารสนเทศของตนเองเพื่อการส่งเสริมการพัฒนาของนักศึกษาให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจจุบัน แนวทางเสริม ควรมีการสำรวจความต้องการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา เพื่อสามารถจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ได้เหมาะสม สอดคล้องตามความต้องการของนักศึกษา และความจำเป็นในการดำเนินการของหลักสูตร จัดให้มีการสำรวจความต้องการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา เพื่อสามารถจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ได้เหมาะสม สอดคล้องตามความต้องการของนักศึกษา และความจำเป็นในการดำเนินการของหลักสูตร - อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
3) มีระบบ และกลไกการดำเนินงานในทุกองค์ประกอบที่ชัดเจน และมีผลดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามระบบที่ได้วางไว้ และมีแนวโน้มในการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จัดให้มีระบบและกลไลการดำเนินงานในทุกองค์ประกอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้การพัฒนาหลักสูตรเกิดประสิทธิภาพสูงสุด - อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
4) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีคุณวุฒิปริญญาเอกมากถึงร้อยละ 80 และดำรงตำแหน่งทางวิชาการร้อยละ 80 เช่นกัน แสดงถึงคุณภาพอาจารย์ที่สอดคล้องเป็นจุดเด่นของหลักสูตร มีการจัดให้มีการพูดคุยเรื่องของการผลิตผลงานวิจัยรวมถึงหัวข้องานวิจัยที่น่าสนใจ อีกทั้งยังให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีตำแหน่งทางวิชาการในระดับรองศาสตราจารย์ ได้แก่ รศ.ดร. พิทักษ์ ชูมงคล มาให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนตำราเพื่อใช้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ โดยจะจัดขึ้นภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง รวม 2 ครั้งต่อปีการศึกษา IMC Research Talk อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรมีแนวทางในการดำเนินการ เพื่อรักษาอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาให้ดียิ่งขึ้น หลักสูตรมีวิธีการเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาใหม่ผ่านการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร ใช้ระบบรุ่นพี่รุ่นน้องเพื่อให้นักศึกษาสามารถปรึกษารุ่นพี่ได้นอกเหนือจากการปรึกษาอาจารย์ และการวางระบบการดูแลให้คำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษาที่ครอบคลุมและปรับตามสถานการณ์และความต้องการของนักศึกษาทั้งแบบออนไลน์และออนไซต์ กิจกรรม IMC Meeting Day อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
2) หลักสูตรควรมีการพัฒนากระบวนการในการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา เพื่อให้มีอัตราการสำเร็จการศึกษาที่สูงขึ้น หลักสูตรพัฒนากระบวนการในการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาทั้งด้านการควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี การพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งการเพิ่มกิจกรรมภายในหลักสูตร รวมถึงการติดตามเรื่องการทำปริญญานิพนธ์อย่างใกล้ชิด โครงการสัมมนาเปิดโลกทัศน์วิชาชีพสื่อสารการตลาดและแบรนด์ดิ้ง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
3) ควรรักษาระบบการติดตามความก้าวหน้าในการทำปริญญานิพนธ์ที่ได้ดำเนินการอยู่เพื่อลดอัตรานักศึกษาตกค้างได้อย่างต่อเนื่อง การจัดประชุมกับนักศึกษาที่กำลังเริ่มทำปริญญานิพนธ์ โดยได้เพิ่มประเด็นในการพูดคุยกับนักศึกษาเรื่องของหัวข้อในการทำปริญญานิพนธ์ผ่านการยกตัวอย่างหัวข้อปริญญานิพนธ์ภายใต้ยุทธศาตร์ชาติทางด้านการเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน เช่น การสื่อสารการตลาดกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยุคใหม่ การสื่อสารการตลาดกับผู้ประกอบการยุคใหม่ แนวทางการสื่อสารเพื่อสังคมของภาครัฐ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้จัดทำสื่ออินโฟกราฟฟิก (Infographic) เพื่อธิบายขั้นตอนการทำวิจัยโดยละเอียดเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวิจัยเพิ่มขึ้น กิจกรรม “กระตุ้นต่อมเอ๊ะ กับการคิดหัวข้อวิจัยด้านการสื่อสารแบรนด์” ขึ้น นำการบรรยายโดย รศ.ดร. พิทักษ์ ชูมงคล และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรท่านอื่นๆ เป็นวิทยากรกลุ่ม อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
4) การเพิ่มยอดรับนักศึกษาด้วยการประชาสัมพันธ์จุดเด่นสาขาในด้านการเรียนการสอนและใช้ประโยชน์จากคุณวุฒิอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรประกอบการประชาสัมพันธ์ เพิ่มความถี่ในการประชาสัมพันธ์หลักสูตรมากขึ้น โดยนำเสนอประเด็นเรื่องของคุณวุฒิอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรประกอบการประชาสัมพันธ์ - อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร