# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
ผศ.อรรถญา หลักสูตรฯ มีกระบวนการเตรียมความพร้อมที่ดีให้กับนักศึกษา ส่งผลต่อแนวโน้มอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาที่ดีขึ้นต่อเนื่อง
ผศ.ดร.ชัชญา หลักสูตรมีการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ที่โดดเด่นผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย โดยสร้างหลักคิดการดูแลนักศึกษาผ่านความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยกิจกรรมต่างๆ นักศึกษาต่างชาติต่างวัฒนธรรมสามารถเข้ามามีส่วนร่วมและสร้างให้นักศึกษาลดความกังวลใจและสามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดี
ดร.มัติกร หลักสูตรให้ความสำคัญต่อการดำเนินการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาในหลากหลายด้าน และให้ความสำคัญต่อการจัดเตรียมแหล่งการเรียนรู้ทางวิชาการ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา
|
การปรับปรุงหรือการพัฒนาที่สามารถนำมาต่อยอดจากผลการรายงานข้างต้นได้ มีดังนี้
1. หลักสูตรฯ สามารถเพิ่มการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างนักศึกษาจากประเทศต่างๆ ด้วยการเสริมสร้างประสบการณ์และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้รับความรู้และความเข้าใจที่หลากหลายผ่านกิจกรรมมากยิ่งขึ้น เช่น การเปิดโอกาสให้กิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางอาหาร ศิลปวัฒนธรรม หรือกิจกรรมที่เน้นการแสดงที่สะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของทุกกลุ่มวัฒนธรรมที่มีอยู่ในหลักสูตรฯ
2. หลักสูตรฯ สามารถสร้างโอกาสในการฝึกฝนทักษะในการปรับตัวและการเรียนรู้ให้กับนักศึกษา เช่น การสนับสนุนการฝึกทักษะการแก้ปัญหา การปรับตัวต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และการส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างการปฏิบัติจริง |
กิจกรรมการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม |
ผศ.ดร. ดวงทิพย์ เจริญรุกข์ |
2) |
ผศ.อรรถญา หลักสูตรฯ มีการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาในศตวรรษที่ 21 ผ่านโครงการและกิจกรรมที่หลากหลาย และผลักดันให้เข้าสู่ในระดับนานาชาติ ในการศึกษา Double Degree
ผศ.ดร.ชัชญา การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หลักสูตรมีแนวทางพัฒนานักศึกษาที่โดดเด่น มีระบบและกลไกที่ชัดเจนว่าต้องการเพิ่มทักษะการเรียนรู้ใดบ้าง เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ |
แนวทางการปรับปรุง/พัฒนาที่สามารถนำมาพัฒนาต่อได้ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพของหลักสูตร คือ
1. หลักสูตรฯ สามารภเสริมสร้างโอกาสให้นักศึกษาในการทำงานแบบปฏิบัติการที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและอุตสาหกรรมรูปแบบนานาชาติ โดยการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการทำงานจริงและโครงการที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพนิเทศศาสตร์
2. หลักสูตรฯ สามารถเพิ่มทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและการทำงานร่วมกันในทีม เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความร่วมมือที่ดีในการทำงานในศตวรรษที่ 21 ในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง |
กิจกรรมงาน Final Project |
คณาจารย์ในหลักสูตรฯ และผู้สอนในรายวิชานิเทศศาสตร์ |
3) |
ผศ.อรรถญา หลักสูตรฯ มีการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตผลงานทั้งด้านวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่เป็นงานระดับชาติและนานาชาติ |
การปรับปรุงและพัฒนาที่หลักสูตรฯ สามารถนำมาปรับใช้เพื่อส่งเสริมและเพิ่มคุณภาพของการผลิตผลงานด้านวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีระดับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ สามารถทำได้โดย หลักสูตรฯ สามารถสร้างพื้นที่ที่เชื่อมโยงนักศึกษาและนักวิจัย ที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้และการทำงานร่วมกันในโครงการวิจัยและสร้างสรรค์ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ |
กิจกรรมในรายวิชา ICA 492 Senior Project / Thesis |
ที่ปรึกษาของนักศึกษา ในรายวิชา ICA 492 |
# |
ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา |
แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา |
โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ |
ผู้รับผิดชอบ |
1) |
ผศ.อรรถญา หลักสูตรควรมีแนวทางผลักดันให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่กำหนดตามหลักสูตร เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อมาตรฐานหลักสูตร |
จากข้อมูลการรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงานของหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นานาชาติ) ปีการศึกษา 2565 เรื่อง หลักสูตรฯ ควรมีแนวทางผลักดันให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่กำหนดตามหลักสูตร เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อมาตรฐานหลักสูตร นั้น หลักสูตรฯ มีแนวทางการปรับปรุง/พัฒนา คือ
1. หลักสูตรฯ จะทำการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยการให้การคำแนะนำและทางเลือกที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการเรียนการสอนที่อาจเกิดขึ้น
2. มีระบบให้การติดตามนักศึกษาที่ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม และการให้บริการที่สามารถช่วยเสริมสร้างความสามารถในการประสบความสำเร็จในการศึกษา |
วิชา ICA 492 : Senior Project / Thesis |
คณาจารย์ใน รายวิชา ICA 492 : Senior Project / Thes |
2) |
ผศ.ดร.ชัชญา หลักสูตรควรมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การสอน มุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง โดยที่ร้อยละ 80 ของรายวิชาที่เปิดสอนทั้งหมดในปีการศึกษา |
แนวทางการปรับปรุง/พัฒนาที่สามารถนำมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว คือ
1. หลักสูตรฯ จะทำการคัดกรองและปรับปรุงรูปแบบการสอนเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้น โดยการใช้เทคนิคการสอนที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
2. หลักสูตรฯ จะให้การสนับสนุนทางเทคโนโลยีที่ช่วยในกระบวนการการเรียนรู้ของนักศึกษา เช่น การใช้แพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์ หรือเครื่องมือการสนับสนุนการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นทางการ |
รายวิชาในหลักสูตรฯ |
คณาจารย์ในหลักสูตรฯ |
3) |
ดร.มัติกร ถึงแม้หลักสูตรจะให้ความสำคัญต่อการรักษาอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาอย่างเป็นระบบเพิ่มมากขึ้น แต่แนวโน้มการคงอยู่ของนักศึกษาในปีที่ผ่านมายังคงมีเป็นจำนวนน้อย ดังนั้นหลักสูตรยังคงต้องให้ความสำคัญต่อประเด็นนี้เป็นพิเศษ |
แนวทางการปรับปรุง/พัฒนาเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาในหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นานาชาติ) ปีการศึกษา 2565 เพื่อให้ความสำคัญต่อการรักษาอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น คือ หลักสูตรฯ จะสร้างแผนการที่สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะของนักศึกษาโดยเฉพาะ เช่น การเสนอโครงงาน หรือกิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของนักศึกษาเพื่อจำนำไปต่อยอดในรายวิชา ICA 492 ได้
|
กิจกกรรมเรื่องการเขียน Research Proposal |
คณาจารย์ในหลักสูตรฯ |