การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยนิเทศศาสตร์
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชามัลติมีเดีย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สาขาวิชามีระบบและกลไลการพัฒนาในแต่ละประเด็นที่ชัดเจน และมีผลการประเมินที่ดีขึ้นต่อเนื่องทุกปีการศึกษา ออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาชีพในลักษณะรูปแบบการเรียนรู้เป็น Project based และให้จัดโครงงานที่สอดคล้องการโลกวิชาชีพใหม่ ๆ ของการปรับปรับเปลี่ยนไปของภูมิทัศน์สื่อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถประกอบวิชาชีพอิสระได้ด้วยตนเองตามแนวโน้มของการประกอบอาชีพของคนรุ่นใหม่ หลักสูตรกำหนดเป้าหมายการออกแบบการเรียนรู้ รายวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรลักษณะโครงงานเป็นฐาน (project based) ร้อยละ 80 ของรายวิชาที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2566 การดำเนินการประชุมผู้บริหารหลักสูตรร่วมกันวางแผนออกแบบการเรียนการสอนในรายวิชาชีพในลักษณะรูปแบบการเรียนรู้เป็น Project based ให้เป็นไปตามเป้าหมาย หลักสูตรกำหนดเป้าหมายส่งเสริมให้นักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวด ร้อยละ 50 ของรายวิชาชีพที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2566 การดำเนินการให้อาจารย์ผู้สอนในรายวิชีพที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการประกวดผลงานในเวที่ต่างๆ ให้ปรับกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานระหว่างเรียนหรือโครงงานปลายภาคให้สามารถส่งผลงานของนักศึกษาเข้าร่วมประกวดได้ ผศ.ดร.สำราญ แสงเดือนฉาย
2) มีผลงานนักศึกษาที่เป็นรูปธรรม และได้รับรางวัลในเชิงประจักษ์ ซึ่งสะท้อนการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาของสาขาวิชา ส่งเสริมให้นักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวดในเวทีต่าง ๆ เพื่อให้องค์ สถาบัน สถานประกอบการต่าง ๆ เกิดการรับรู้ในทักษะวิชาชีพของนักศึกษาในเชิงประจักษ์ หลักสูตรกำหนดเป้าหมายส่งเสริมให้นักศึกษาส่งผลงานเข้าประกวด ร้อยละ 50 ของรายวิชาชีพที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2566 การดำเนินการให้อาจารย์ผู้สอนในรายวิชีพที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการประกวดผลงานในเวที่ต่างๆ ให้ปรับกิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานระหว่างเรียนหรือโครงงานปลายภาคให้สามารถส่งผลงานของนักศึกษาเข้าร่วมประกวดได้ โครงการพี่สอนน้อง ผศ.ดร.สำราญ แสงเดือนฉาย และ ดร.ณวัฒน์ อินทอง
3) มีการวางแผนในการพัฒนานักศึกษาทั้ง 4 ชั้นปี ผ่านรายวิชาและการจัดโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของนักศึกษาในแต่ละชั้นปี -การทบทวน และกระบวนการพัฒนาศักยภาพให้นักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะและมีอัตลักษณ์ ตามภารกิจของหลักสูตร มีการสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษาตามแผนบันใด 4 ขั้น ได้แก่ การศิดสร้างสรรค์ (ปี 1) การออกแบบ (ปี 2) การผลิตสื่อ (ปี 3) และบริหารจัด การเป็นผู้ประกอบ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (ปี 4) ที่มีทักษะจำเป็นต่อการประกอบอาชีพหรือการเป็นผู้ประกอบการในอนาคต -กิจกรรมเสริมสร้างนักมัลติมีเดียรุ่นใหม่ เป็นกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างนักศึกษาให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ตามภารกิจของหลักสูตร ในการพัฒนานักศึกษาเพื่อก้าวสู่โลกวิชาชีพมัลติมีเดียหลังจากจบการศึกษา ตามแผนพัฒนาแบบขั้นบันได 4 ขั้น ของหลักสูตร ได้แก่ ขั้นที่ 1 (ปี 1) การคิดเชิงสร้างสรรค์ ขั้นที่ 2 (ปี 2) ด้านการออกแบบ ขั้นที่ 3 (ปี 3) ด้านการผลิตสื่อ และ ขั้นที่ 4 (ปี 4) บริหารจัดการสื่อและการเป็นผู้ประกอบการ 1.โครงการนักมัลติมีเดียรุ่นใหม่ (ปี 1) 2.โครงการสร้างสรรค์สื่อมัลติมีเดียเพื่อสังคม เป็นโครงการฝึกทักษะประสบการณ์การผลิตวีดิทัศน์ (ปี 2) 3. โครงการการประกวดแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อสิ่งแวดล้อม “รางวัลอาจารย์สุธีร์ (ปี 3) 4. โครงการพัฒนาศักยภาพและความพร้อมด้านมัลติมีเดีย (ปี 4) 1. ผศ.ดร.สำราญ แสงเดือนฉาย 2. ผศ.ดร.จิรัชฌา วิเชียรปัญญา 3. ดร.ณวัฒน์ อินทอง 4. ดร.มัติกร บุญคง 5. อาจารย์นฤชา เชยกลิ่นเทศ
4) อาจารย์มีผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับอาเซียน เห็นควรให้สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเผยแพร่ในระดับอาเซียนหรือนานาชาติต่อไป ส่เงสริมคณาจารย์ส่งผลงานสร้างสรรค์ในระดับอาเซียนและนานาชาติเพิ่มขึ้น โครงการระบบพี่เลี้ยง (อาจารย์ผู้เคยได้รับรางวัลเป็นพี่เลี้ยงให้กับอาจารย์ผู้สนใจสร้างสรรค์ผลงาน) ผศ.ดร.สำราญ แสงเดือนฉาย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) เพิ่มผลงานวิชาการประเภทผลงานวิจัย เนื่องจากผลงานส่วนมากเป็นผลงานสร้างสรรค์ ที่ค่อนข้างนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนได้ยาก ส่งเสริมให้อาจารย์นำความรู้จากผลงานสร้างสรรค์ มาพัฒนาเนื้อหาสาระในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมให้ทำงานวิจัยมากขึ้น โครงการพี่เลี้ยง ดร.มัติกร บุญคง
2) ควรมีระบบฐานข้อมูล คลังความรู้ปริญญานิพนธ์ของนักศึกษา ที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาในรุ่นต่อไปได้ พัฒนาระบบการจัดเก็บผลงานโครงการปริญญานิพนธ์อย่างเป็นระบบให้สามารถสืบค้นได้ ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลเว็บไซต์ ดร.ณวัตน์ อินทอง
3) ควรมีแนวทางหรือแผนการแก้ไขปัญหานักศึกษาที่ไม่เรียนให้จบการศึกษาตามแผนการศึกษา 4 ปี เนื่องจากการประกอบอาชีพ ทบทวนระบบอาจารย์ที่ปรึกษาและที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์ ปรับปรุงการดำเนินการการวางแผนการเรียน และการวางแผนการทำปริอญญานิพนธ์ โครงน้องพี่ร่วมเรียนรู้ร่วมสร้างสรรค์โครงงานปริญญานิพนธ์ ผศ.ดร.สำราญ แสงเดือนฉาย
4) สนับสนุนให้คณาจารย์ในสาขาวิชาได้มีการพัฒนาด้านการวิจัย เนื่องจากผลงานของคณาจารย์ส่วนใหญ่เป็นผลงานสร้างสรรค์ ให้คณาจารย์เข้ารับการอบรมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยโดยตรง เนื่องจากการอบรมในปีการศึกษา 2566 ส่วนใหญ่เป็นประเด็นด้านการออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมแหล่งสนับสนุนทุนวิจัย และการอบรมให้คณาจาย์สามารถเข้าถึงได้ โครงการระบบพี่เลี้ยง ผศ.ดร.จิรัชฌา วิเชียรปัญญา
5) อาจารย์บางท่านยังไม่มีตำแหน่งทางวิชาการ ควรสนับสนุนให้อาจารย์ทำวิจัยเพื่อยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น ส่งเสริมแหล่งสนับสนุนทุนวิจัย และการอบรมให้คณาจาย์สามารถเข้าถึงได้ โครงการระบบพี่เลี้ยง 1. ผศ.ดร.สำราญ แสงเดือนฉาย 2. ผศ.ดร.จิรัชฌาวิเชียรปัญญา