การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะรังสีเทคนิค

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ผู้บริหารและคณาจารย์มีวิสัยทัศน์ในการวางระบบการดูแลนักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ สังเกตได้จากอัตราการคงอยู่ของนักศึกษามีแนวโน้มดีต่อเนื่อง 3 ปี และมีแนวโน้มอยู่ในช่วง 95 - 100 % - - -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรผลักดันให้คณาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ โดยใช้แผนพัฒนารายบุคคลเพื่อวางแผนนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง พัฒนาอาจารย์ภายในคณะทางด้านวิจัยและการเขียนหนังสือตำรา การขอตำแหน่งทางวิชาการ จัดทำเป็นระบบการดำเนินการขอตำแหน่งวิชาการของคณะเพื่อให้อาจารย์ภายในสามารถปฏิบัติตามได้ต่อไป -กิจกรรมการจัดการความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเขียนหนังสือตำราเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ -กิจกรรมการเขียนแผนพัฒนาอาจารย์รายบุคคล โดยมีการระบุการพัฒนาอาจารย์ทางด้านการเขียนหนังสือตำราและการทำวิจัย การเตรียมความพร้อมในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) ควรหาแนวทางรวบรวมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ และให้ความรู้ทางด้านวิชาชีพ จัดทำเป็น Course Online ในรูปแบบ RT MOOC สำหรับศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า หรือประชาชนทั่วไป สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ ประชุมทางด้านวิชาการของคณะเพื่อ พิจารณาข้อมูล เนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้องทางด้านวิชาชีพรังสีเทคนิค เพื่ออาจจะเป็นประโยชน์สำหรับการนำไปใช้ประกอบวิชาชีพสำหรับนักรังสีเทคนิค และผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ กิจกรรม การวิเคราะห์ เนื้อหาทางด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพรังสีเทคนิค ที่เป็นประโยชน์ต่อนักรังสีเทคนิค และบุคคลที่สนใจทางด้านรังสีทางการแพทย์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะมีผลงานวิจัยที่มีคุณค่าสูงและปริมาณมากเมื่อเทียบกับจำนวนอาจารย์ แต่ผลงานจะเป็นของอาจารย์ 1- 2 ท่าน จึงควรสนับสนุนการทำวิจัยของอาจารย์ท่านอื่นเพื่อให้มีผลงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น สนับสนุนให้อาจารย์ที่เคยได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตแล้ว ผลักดันให้ขอทุนวิจัยภายนอก พัฒนาอาจารย์ภายในคณะทางด้านวิจัยและการเขียนหนังสือตำรา การขอตำแหน่งทางวิชาการ จัดทำเป็นระบบการดำเนินการขอตำแหน่งวิชาการของคณะเพื่อให้อาจารย์ภายในสามารถปฏิบัติตามได้ต่อไป -กิจกรรมการจัดการความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเขียน บทความวิจัย หนังสือตำราเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ -กิจกรรมการเขียนแผนพัฒนาอาจารย์รายบุคคล โดยมีการระบุการพัฒนาอาจารย์ทางด้านการเขียนหนังสือตำราและการทำวิจัย การเตรียมความพร้อมในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) มีการจัดการประชุมระดับชาติและนานาชาติที่จะช่วยในการเผยแพร่ผลงานวิจัยของนักศึกษาและอาจารย์ได้เป็นอย่างดี - - -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สนับสนุนการเป็นนักวิจัยพี่เลี้ยง ในการช่วยเหลืออาจารย์รุ่นใหม่ในการทำวิจัย และเพิ่มประสบการณ์ทำวิจัย การเขียนขอทุนวิจัย การเขียนบทความวิจัย สนับสนุนให้อาจารย์ที่เคยได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตแล้ว ผลักดันให้ขอทุนวิจัยภายนอก พัฒนาอาจารย์ภายในคณะทางด้านวิจัยและการเขียนหนังสือตำรา การขอตำแหน่งทางวิชาการ จัดทำเป็นระบบการดำเนินการขอตำแหน่งวิชาการของคณะเพื่อให้อาจารย์ภายในสามารถปฏิบัติตามได้ต่อไป -กิจกรรมการจัดการความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเขียน บทความวิจัย หนังสือตำราเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ -กิจกรรมการเขียนแผนพัฒนาอาจารย์รายบุคคล โดยมีการระบุการพัฒนาอาจารย์ทางด้านการเขียนหนังสือตำราและการทำวิจัย การเตรียมความพร้อมในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) งานบริการวิชาการของคณะตรงตามแผนงานบริการวิชาการที่มุ่งเน้นบริการชุมชน - - -
2) งานบริการวิชาการของคณะสามารถนำไปใช้ในการขอทุนวิจัยของ สสส. ได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อคณะ มหาวิทยาลัย และชุมชน - - -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ประเมินผลการบริการวิชาการอย่างรอบด้านและใช้ในการปรับปรุงการบริการวิชาการในปีถัดไป ประชุมกรรมการบริการวิชาการ เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินการของโครงการทางด้านบริการวิชาการของคณะรังสีเทคนิค นำจุดบกพร่อง ปัญหาและอุปสรรคจากผลการดำเนินการ มาเพื่อแก้ปัญหาโครงการที่จัดครั้งถัดไป กิจกรรมทบทวนโครงการบริการวิชาการของคณะเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนาต่อยอด รองคณบดีฝ่ายบริหาร

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - - - -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีผลการดำเนินงานในการจัดทำแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม แต่ไม่พบหลักฐานอ้างอิง ดังนั้นขอเสนอแนวทางการจัดทำแผนให้สมบูรณ์ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ SWOT ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กำหนดวัตถุประสงค์ของแผน กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ หลังจากนั้น ทำการประเมินความสำเร็จตัวชี้วัดตามวัตุประสงค์ของแผนที่ตั้งไว้ ประชุมคณะกรรมการคณะเพื่อวิเคราะห์ SWOT ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กำหนดวัตถุประสงค์ของแผน กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ หลังจากนั้น ทำการประเมินความสำเร็จตัวชี้วัดตามวัตุประสงค์ของแผน กิจกรรมวิเคราะห์ ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ของคณะ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะรังสีเทคนิคสามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ โดยอัตราการได้งานทำของบัณฑิตหลังสำเร็จการศึกษาภายใน 1 ปีอยู่ที่ร้อยละ 100 - - -
2) มีการจัดการความรู้จากแนวปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ โดยโครงการจัดการความรู้ของคณะได้รับรางวัลแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) รางวัลชมเชย 2 เรื่อง แนวทางเสริมจุดแข็ง คณะควรจัดกิจกรรม PLC เพื่อให้อาจารย์ในคณะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำแนวทางปฏิบัติที่ดีที่ได้รับรางวัลดังกล่าวไปปฏิบัติและต่อยอดต่อไป - - -
3) มีการกำหนด Managerial competency สำหรับอาจารย์ที่มีตำแหน่งบริหาร และ Functional competency สำหรับอาจารย์ประจำคณะ นอกเหนือไปจากสมรรถนะที่มหาวิทยาลัยกำหนด แนวทางเสริมจุดแข็ง คณะควรใช้ประโยชน์จากการกำหนด Competency อย่างจริงจัง โดยประเมินสมรรถนะอาจารย์ เพื่อหา Gap competency และนำไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาอาจารย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ควรใช้แนวทางดังกล่าวนี้กับบุคลากรสายสนับสนุนด้วยเช่นกัน - - -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรสรรหาอาจารย์เพิ่ม เพื่อให้ได้สัดส่วนกับจำนวนนักศึกษาที่มีอยู่ และสอดคล้องกับข้อกำหนดของคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค ระบบการประชาสัมพันธ์รับสมัครอาจารย์ทั่วไปหรือทาบทามโดยใช้ระบบและกลไกของมหาวิทยาลัยรังสิตเพื่อให้สามารถรองรับการรับนักศึกษาได้ตามเกณฑ์กรรมการวิชาชีพ -ให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกแก่บุคคลทั่วไป -ส่งเสริมการเข้าถึงนักศึกษาปริญญาโท ปริญญาเอกเชิงรุก ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับทางรังสีเทคนิค ตามมหาวิทยาลัยต่างๆเพื่อประชาสัมพันธ์ สรรหา อาจารย์ตามเป้าหมายที่กำหนด -กิจกรรมประชาสัมพันธ์การรับสมัครอาจารย์ จากนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอก รวมถึงอาจารย์รังสีเทคนิคจากที่อื่นที่สนใจ -กิจกรรมประชาสัมพันธ์การให้ทุนการศึกษาแก่ผู้ที่สนใจเป็นอาจารย์คณะรังสีเทคนิค เพื่อกระตุ้นเหนี่ยวนำให้เกิดความสนใจมากขึ้น คณบดี รองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) ควรเพิ่มโครงการพัฒนาการเรียนการสอนให้มากขึ้น ประชุมกรรมการคณะเพื่อค้นหาโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเรียนการสอนของคณะรังสีเทคนิค โดยวิเคราะห์จากโครงการเดิมที่มีอยู่ ผลการดำเนินการและปัญหาอุปสรรคที่จะสามารถพัฒนาต่อยอดได้ในโครงการอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการวิเคราะห์ปัญหาทางด้านการเรียนการสอนเพื่อคิดค้นโครงการต่างๆเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนในคณะมากขึ้น กิจกรรมวิเคราะห์โครงการทางด้านการพัฒนาการเรียนการสอน รองคณบดีฝ่ายบริหาร
3) ควรจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลทั้งสายผู้บริหาร สายสอน และสายสนับสนุน ให้ชัดเจน สนับสนุนช่วยเหลือการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล เพื่อตอบสนองต่อสมรรถนะของอาจารย์และบุคลากรทางด้านสนับสนุน คณะรังสีเทคนิค ที่มีต่อยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ในแต่ละด้าน กิจกรรมการเขียนแผนพัฒนารายบุคคล รองคณบดีฝ่ายบริหาร