การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะรังสีเทคนิค

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) จากปี 2565 มีผลประเมินหลักสูตรเท่ากับ 3.72 และในปี 2566 เท่ากับ 3.82 ถือว่าการบริหารจัดการหลักสูตรอยู่ในระดับดีขึ้น - กิจกรรมประชุมกำกับมาตรฐานวิชาการ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และหลักสูตร คณะกรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรช่วยกันหาแนวทางเพิ่มคุณวุฒิอาจารย์และตำแหน่งทางวิชาการ 1.พัฒนาอาจารย์ภายในคณะทางด้านวิจัยและการเขียนหนังสือตำรา การขอตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งขณะนี้ได้มีอาจารย์ในคณะอยู่ระหว่างการขอตำแหน่งทางวิชาการซึ่งจะดำเนินการบุกเบิกเป็นตัวอย่างให้กับอาจารย์ภายในคณะ และจะจัดทำเป็นระบบการดำเนินการขอตำแหน่งวิชาการของคณะเพื่อให้อาจารย์ภายในสามารถปฏิบัติตามได้ต่อไป 2.สนับสนุนให้อาจารย์นำเสนอผลงานวิชาการ โดยเริ่มจากงานประชุมวิชาการระดับชาติ หรือ นานาชาติ ที่ทางมหาวิทยาลัยรังสิตจัดขึ้น และผลักดันต่อยอดในการตีพิมพ์ลงในวารสารระดับชาติและนานาชาติตามลำดับ ที่มีชื่อเสียงในอนาคต -กิจกรรมการสนับสนุนงานวิจัยให้อาจารย์เริ่มนำเสนอผลงานวิจัย RSU interconference และส่งเสริมการส่งงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร Journal of current sciences and technology -กิจกรรมการจัดการความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเขียนหนังสือตำราเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ -กิจกรรมการเขียนแผนพัฒนาอาจารย์รายบุคคล โดยมีการระบุการพัฒนาอาจารย์ทางด้านการเขียนหนังสือตำราและการทำวิจัย การเตรียมความพร้อมในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) ควรหาแนวทางพัฒนาโครงการ/กิจกรรมนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับให้เป็นงานวิจัยและพัฒนา พัฒนาระบบการเรียนการสอนทางด้านระเบียบวิธีวิจัย วิชาสัมมนา วิชาโครงการพิเศษเพื่อที่จะบูรณาการทางด้านวิจัยต่อยอดให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเผยแพร่ตีพิมพ์ลงใน งานประชุมวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศหรือวารสารที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมส่งเสริมนักศึกษานำเสนอผลงานเกี่ยวกับงานวิจัยสร้างสรรค์และนวัตกรรมตามบริบทของมหาวิทยาลัยรังสิตทั้งในและนอกประเทศ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
3) ควรหาแนวทางถอดบทเรียนจากกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษา เพื่อนำไปสู่การเป็นต้นแบบสำหรับดำเนินกิจกรรมนักศึกษา สำรวจผู้ใช้บัณฑิตที่เกี่ยวข้องกับด้านรังสีเทคนิคเพื่อนำข้อมูลมาพูดคุยพัฒนาต่อยอด ประชุมหารือเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักศึกษา เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาในการไปประกอบวิชาชีพในอนาคต โครงการพัฒนาคุณลักษณะและพฤติกรรมของนักศึกษาตามอัตลักษณ์และกรอบมาตรฐาน และการถ่ายทอดความสำเร็จจากพี่สู้น้อง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ในคณะมีศักยภาพสูง ในการขอทุนวิจัยได้จำนวนมาก ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน - - รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) อาจารย์มีผลงานตีพิมพ์ที่มีคุณภาพสูง และมีผลงานนวัตกรรมซึ่งควรพัฒนาไปสู่งานระดับชาติและนานาชาติ - - รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) เนื่องจากผลงานตีพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นรายชื่ออาจารย์กลุ่มเดิม จึงควรมีการถ่ายทอดประสบการณ์การทำวิจัย หรือการติพิมพ์ผลงานให้กับอาจารย์ที่ยังไม่เริ่มทำวิจัยหรืออาจารย์ใหม่ สนับสนุนให้อาจารย์ที่เคยได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตแล้ว ผลักดันให้ขอทุนวิจัยภายนอก พัฒนาอาจารย์ภายในคณะทางด้านวิจัยและการเขียนหนังสือตำรา การขอตำแหน่งทางวิชาการ จัดทำเป็นระบบการดำเนินการขอตำแหน่งวิชาการของคณะเพื่อให้อาจารย์ภายในสามารถปฏิบัติตามได้ต่อไป -กิจกรรมการจัดการความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเขียน บทความวิจัย หนังสือตำราเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ -กิจกรรมการเขียนแผนพัฒนาอาจารย์รายบุคคล โดยมีการระบุการพัฒนาอาจารย์ทางด้านการเขียนหนังสือตำราและการทำวิจัย การเตรียมความพร้อมในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีโครงการบริการวิชาการที่ต่อเนื่อง (โครงการ world radiography day) ที่สามารถให้ประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชน และสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย - - รองคณบดีฝ่ายบริหาร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) โครงการสร้างความตระหนักและตื่นตัวในโรคกระดูกพรุน (โครงการใหม่) เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนโดยรวม สามารถขยายผล เป็นโครงการบริการวิชาการต่อเนื่องไปในชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดปทุมธานีได้ ทั้งชุมชนในเขตเมือง และชุมชนภาคการเกษตรของจังหวัดปทุมธานี ซึ่งสามารถต่อยอดเป็นงานวิจัยร่วมกับชุมชนได้ ประชุมหารืออาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการสร้างความตระหนักและตื่นตัวในโรคกระดูกพรุน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยร่วมกับชุมชน กิจกรรมประชุมหารืออาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการสร้างความตระหนักและตื่นตัวในโรคกระดูกพรุน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยร่วมกับชุมชน รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีระบบกลไกในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มีการติดตามตรวจสอบ มีการประเมินความสำเร็จ มีการนำผลการประเมินมาปรับใช้ มีการเผยแพร่กิจกรรมสู่สาธารณะ - - รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ในโอกาสต่อไป ควรปรับการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการทางศิลปวัฒนธรรมให้ชัดเจน เฉพาะที่สอดคล้องกับภารกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม/ กำหนดเกณฑ์การวัดให้ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การวัดและประเมินผลโครงการ -ประชุมคณะกรรมการคณะเพื่อปรับการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการทางด้านบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้ชัดเจน เฉพาะที่สอดคล้องกับภารกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และกำหนดเกณฑ์การวัดให้เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์มากที่สุด กิจกรรมประชุมคณะกรรมการคณะเพื่อปรับการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการทางด้านบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้ชัดเจน เฉพาะที่สอดคล้องกับภารกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และกำหนดเกณฑ์การวัดให้เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์มากที่สุด รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะมีการบริหารจัดการที่ปรับเปลี่ยนตามสภาพการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดภาระงาน และความรับผิดชอบของบุคลากรสายสนับสนุน เป็นต้น - - รองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) คณะมีผู้นำที่เข้มแข็ง และบริหารงานแต่ละพันธกิจของคณะอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล มีการดำเนินงาน ประเมินและสรุปผลเพื่อนำไปปรับปรุง ทั้งด้านบริหารความเสี่ยง และการจัดการความรู้ที่ครบถ้วนตามพันธกิจ - - รองคณบดีฝ่ายบริหาร
3) ผู้บริหารใช้การบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วน - - รองคณบดีฝ่ายบริหาร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) เมื่อพิจารณาประเด็นการไม่บรรลุเป้าหมายของคุณวุฒิ และตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ ควรหาแนวทางพัฒนามาตรการในการให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ต่อไป 1.พัฒนาอาจารย์ภายในคณะทางด้านวิจัยและการเขียนหนังสือตำรา การขอตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งขณะนี้ได้มีอาจารย์ในคณะอยู่ระหว่างการขอตำแหน่งทางวิชาการซึ่งจะดำเนินการบุกเบิกเป็นตัวอย่างให้กับอาจารย์ภายในคณะ และจะจัดทำเป็นระบบการดำเนินการขอตำแหน่งวิชาการของคณะเพื่อให้อาจารย์ภายในสามารถปฏิบัติตามได้ต่อไป 2.สนับสนุนให้อาจารย์ที่เคยได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจากสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิตแล้ว ผลักดันให้ขอทุนวิจัยภายนอก พัฒนาอาจารย์ภายในคณะทางด้านวิจัยและการเขียนหนังสือตำรา การขอตำแหน่งทางวิชาการ จัดทำเป็นระบบการดำเนินการขอตำแหน่งวิชาการของคณะเพื่อให้อาจารย์ภายในสามารถปฏิบัติตามได้ต่อไป -กิจกรรมการจัดการความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเขียน บทความวิจัย หนังสือตำราเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ -กิจกรรมการเขียนแผนพัฒนาอาจารย์รายบุคคล โดยมีการระบุการพัฒนาอาจารย์ทางด้านการเขียนหนังสือตำราและการทำวิจัย การเตรียมความพร้อมในการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) การกำหนดความสำเร็จตาม OKR ของแต่ละยุทธศาสตร์ ควรกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล นำ OKR ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมาทบทวน แผนการดำเนินงานและผลการดำเนินงานในปีก่อน เพื่อนำมาพัฒนา ในการวางแผนและเขียน การวัดผลสำเร็จใน OKR สำหรับในยุทธศาสตร์แต่ละด้าน เพื่อวางแผนงบประมาณและโครงการ ในปีต่อไป กิจกรรมประชุมคณะกรรมการคณะนำ OKR ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมาทบทวน แผนการดำเนินงานและผลการดำเนินงานในปีก่อน เพื่อนำมาพัฒนา ในการวางแผนและเขียน การวัดผลสำเร็จใน OKR สำหรับในยุทธศาสตร์แต่ละด้าน คณะกรรมการคณะ