การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะวิทยาศาสตร์

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) การบริหารจัดการหลักสูตรมีคุณภาพดี - กำหนดจำนวนนักศึกษา ในแต่ละกลุ่มเรียน ให้สอดคล้องกับห้องเรียน - เพิ่มบทคัดย่องานวิจัย ทั้งภาษาไทย / ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่สอน สอนให้นักศึกษาได้รับทราบถึงความก้าวหน้าด้านวิชาการในหัวข้อนั้นๆ นักศึกษาคุ้นเคยกับการอ่านงานวิจัยจากวารสารวิชาการ - คณาจารย์ผู้สอน ในหลักสูตร
2) อาจารย์มีคุณวุฒิ มีความเชี่ยวชาญ และมีศักยภาพสูง อาจารย์ทุกท่านพัฒนาตนเอง ตามความรับผิดชอบในรายวิชา หลักสูตร และตำแหน่งวิชาการ ทั้งด้านวิชาการ วิจัย บริการวิชาการและ การทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม ตาม การจัดสรรเวลาที่เหมาะสม อาจารย์ ได้รับรางวัลระดับชาติ และนานาชาติ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ทุกคน
3) มีความร่วมมือภายในองค์กร ระหว่างอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาดี ทำให้การพัฒนางาน การจัดกิจกรรมต่างๆ ประสบผลสำเร็จ มีการกำหนดบุคลากร ผู้ประสานงาน ที่รู้เนื้อหางานที่ดี มีประสบการณ์ ทำให้ การประสานงานระหว่างอาจารย์และ นักศึกษาทั้ง ภาคภาษาไทยและ นานาชาติ พัฒนาไปในทิศทางที่เหมาะสมยิ่งขึ้น นักศึกษา ทั้ง ภาคภาษาไทยและ ภาษาต่างชาติ ได้ร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน มีความคุ้นเคยกันมากขึ้น หลักสูตร เจ้าหน้าที่สำนักเลขานุการ อาจารย์ผู้ประสานงานของหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ส่งเสริมความก้าวหน้า ด้านการดำรงตำแหน่งทางวิชาการให้มากขึ้น และสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง อาจารย์ทุกท่านเลือกทำวิจัยในสาขาที่ตนถนัด ทั้งด้านการสอน และการวิจัยเฉพาะด้าน โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยหรือต่างประเทศ โครงการพัฒนางานวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการของบุคลากรและนักศึกษา รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) ส่งเสริมความสามารถในด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมชีวการแพทย์ ให้แก่นักศึกษา เพื่อให้บัณฑิตมีเอกลักษณ์ตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัย เชิญชวนนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ วิจัยของอาจารย์ จัดโครงการ Young Research Innovation in Biomedical Science คณะ/หลักสูตร คณาจารย์ในหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะฯ สามารถสร้างระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ด้านงานวิจัยและวิชาการ ส่งผลให้มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ และการประชุมวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติเป็นจำนวนมาก การกระตุ้นและส่งเสริมและพัฒนาให้อาจารย์รุ่นใหม่ ได้มีโอกาสเขียนบทความวิจัยให้ตีพิมพืในวารสารระดับนานาชาติ โดยอบรมจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่างๆที่มีผลงานการเขียนบทความในระดับนานาชาติ โครงการถ่ายทอดประสบการณ์เรื่องเทคนิคการเขียน manuscript เพื่อตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย
2) คณะฯ สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะความร่วมมือกับหน่วยงานภายใน ได้แก่ สถาบันวิจัย และหน่วยงานภายนอกอีก 11 สถาบัน จัดประชุมวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ เป็นช่องทางการเผยแพร่ผลงานวิจัยและเป็นการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัย อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่นักศึกษาและอาจารย์ของคณะฯ ในอนาคต ส่งเสริมให้คณาจารย์และนักศึกษาในระดับปริญญาตรีเข้าร่วมการนำเสนอผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ โครงการร่วมจัดประชุมวิชาการ The 9th RSU International Research Conference on Sciences and Technology (RSUSCI-2024) รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ถึงแม้ว่าในปีการศึกษา 2565 คณะฯ ได้พยายามปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงาน เพื่อให้อาจารย์และนักวิจัยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีการศึกษาก่อนหน้าแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้น คณะฯ ควรมีแนวทางส่งเสริม สนับสนุน และกระตุ้นเตือนให้อาจารย์และนักวิจัยขอรับทุนสนับสนุนทั้งจากแหล่งทุนภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ กำหนดเป็นแผนพัฒนารายบุคคลของอาจารย์ในคณะวิทยาศาสตร์ในการขอทุนวิจัยระดับภายในและภายนอกสถาบัน กิจกรรมการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล คณะวิทยาศาสตร์

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) จำนวนอาจารย์และบุคลากร มีมากเพียงพอ และมีศักยภาพดำเนินการกิจกรรมด้านบริการด้านวิชาการ จัดกิจกรรมบริการวิชาการให้กับชุมชนและบริการวิชาการขั้นสูงให้กับนักวิชาการโดยใช้ศักยภาพของแต่ละสาขาวิชาเพิ่มมากขึ้น โครงการบริการชุมชนหลักหก รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย
2) มีเครือข่ายร่วมดำเนินการที่เข้มแข็ง ทั้งภายในมหาวิทยาลัยรังสิต และต่างสถาบัน เพิ่มความร่วมมือกับชุมชนไกล้เคียงและให้บริการวิชาการตามความต้องการของชุมชน โครงการบริการชุมชนหลักหก รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย
3) สามารถสร้างเครือข่าย กับเป้าหมายผู้รับบริการได้อย่างประสบผลสำเร็จ จนเกิดกิจกรรมที่ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงการให้บริการวิชาการตามแนวทางจากผลการประเมินในปีที่ผ่านมาเพื่อให้การปริการวิชาการมีประสิทธิภาพมากที่สุด โครงการบริการชุมชนหลักหก และโครงการบริการวิชาการแบบมีรายได้ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) เพิ่มกิจกรรมหรือโครงการบริการวิชาการแบบมีรายได้ ให้มากขึ้น ส่งเสริมการจัดบริการวิชาการแบบมีรายได้จากบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ โดยหารูปแบบกิจกรรมที่เป็นที่ต้องการของนักวิชาการและบุคคลทั่วไปต้องการเรียนรู้ กิจกรรมบริการวิชาการแบบมีรายได้ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะฯ สามารถบริหารจัดการระบบกลไกการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมได้อย่างโดดเด่น ทั้งการกำหนดผู้รับผิดชอบการจัดทำแผนและกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ การกำกับติดตามให้เกิดการดำเนินงานตามแผน การประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนโครงการ/กิจกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้ทุกโครงการ/กิจกรรม ประสบผลสำเร็จในระดับสูง คณะฯ จะสร้างและขยายเครือข่ายความร่วมมือในการทำกิจกรรม/โครงการ ให้มากและเข้มแข็งยิ่งขึ้น ทั้งบุคลากรและนักศึกษา ผ่านการถ่ายทอดระบบการจัดการความรู้ภายในคณะฯ โครงการสัมมนานักศึกษาและบุคลากรสู่ความเป็นเลิศ ผศ.สุเทพ มงคลเลิศลพ
2) ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรรมของคณะฯ ประสบความสำเร็จในระดับสูง คือ การกำหนดผู้รับผิดชอบที่เป็นความร่วมมืออย่างเข้มแข็งระหว่างฝ่ายบริหารกิจการนักศึกษา บุคลากร และนักศึกษา ผ่านรูปแบบคณะกรรมการทั้ง 3 ชุด ประกอบด้วย คณะกรรมการกิจการนักศึกษา คณะกรรมการบริหารสโมสรบุคลากร และคณะกรรมการนักศึกษา ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ดีและควรเป็นแนวทางการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องต่อไป คณะฯ จะสร้างและขยายเครือข่ายความร่วมมือในการทำกิจกรรม/โครงการ ให้มากและเข้มแข็งยิ่งขึ้น ทั้งบุคลากรและนักศึกษา ผ่านการถ่ายทอดระบบการจัดการความรู้ภายในคณะฯ โครงการสัมมนานักศึกษา บุคลากรสู่ความเป็นเลิศ ผศ.สุเทพ มงคลเลิศลพ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะฯ ควรริเริ่มการดำเนินงานเพื่อกำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมให้เป็นแบบอย่าง และแสดงถึงเอกลักษณ์ของคณะวิทยาศาสตร์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ในอนาคต คณะฯ จะดำเนินการทบทวนกาจัดทำแผนกิจกรรม/โครงการ โดยขอความเห็น/ความร่วมมือกับสถาบันส่งเสริมศิลปวัฒธธรรม เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของคณะวิทยาศาสตร์ในระดับชาติ โครงการพิธีพระราชทานเพลิงศพอาจารย์ใหญ่ ผศ.สุเทพ มงคลเลิศลพ
2) คณะฯ ควรกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนกิจกรรม/โครงการในด้านนี้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมที่กำหนดโดยสถาบันส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาสังคม ของมหาวิทยาลัยรังสิต คณะฯ จะดำเนินการ ทบทวนและกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนกิจกรรม/โครงการ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยสถาบันส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาสังคมของมหาวิทยาลัย พิธีไหว้ครู ทำบุญรดน้ำขอพร วันสงกรานต์ ผศ.สุเทพ มงคลเลิศลพ

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะวิทยาศาสตร์ มีโครงสร้างการบริหารคณะและกำหนดบทบาทหน้าที่ ชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร มีระบบและกลไกในการบริหาร ที่เข้มแข็ง ทำให้การดำเนินงานในรอบปีการศึกษา 2565 มีผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายแผนปฏิบัติการประจำปี และควบคุมการใช้จ่ายให้อยู่ในงบประมาณที่จำกัด กล่าวได้ว่าดำเเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล แนวทางเสริมจุดแข็ง การนำผลการประเมินการดำเนินงานในอดีต มาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงาน ที่ยังมีผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามเป้าหมายท้้งในด้านการประก้นคุณภาพ และด้านการดำเนินงานตามแผน ยังไม่มีแผนการปรับปรุง ยังไม่มีแผนการปรับปรุง ยังไม่มีแผนการปรับปรุง
2) ด้วยจำนวนและศักยภาพทางวิชาการ ของบุคลากรของคณะ ประกอบกับการบริหารจัดการที่เป็นระบบและใช้กระบวนการคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อาจารย์ประจำมีผลงานเชิงประจักษ์ ที่ได้รับรางวัลในระดับสากล และระดับประเทศ รวมทั้งรางวัลที่ได้รับจากมหาวิทยาลัย แนวทางเสริมจุดแข็งในด้านนี้ คือ การสร้างทีมนักวิจัย และนวัตกรรม ที่ประกอบด้วยคณาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอก และมีประสบการณ์การวิจัยและนวัตกรรมเป็นผู้นำทีม ร่วมกับผู้ที่มีประสบการณ์น้อย ในการสร้างใหม่หรือต่อยอดขยายผลการวิจัยที่มีอยู่เดิม แบบมุ่งเป้าการนำไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม หรือชุมชน จัดประชุมระดมความคิดเห็นถึงข้อเสนอที่อาจจะเป็นไปได้สำหรับ บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ จัดซื้ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย เพื่อเน้นนวัตกรรม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์
3) คณบดี และผู้บริหาร ใช้หลักธรรมภิบาล ในการบริหารและพัฒนาบุคลากรของคณะซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ได้รับความร่วมมือในการทำงาน การมีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินงานตามแผน การติดตามประเมินผล ทำให้การขับเคลื่อนเป้าหมายโครงการหรือกิจกรรมพัฒนา ประสบความสำเร็จ แนวทางเสริมจุดแข็ง ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานในทุกภาคส่วน ควรเพิ่มการวิเคราะห์ปัจจัยอุปสรรค ปัจจัยสนับสนุน ความสำเร็จที่เกิดขึ้น และนำมาใช้ในการปรับปรุงการเนินงาน ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้บุคลากรได้แสดงความคิดเห็น เพื่อสะท้อนประสิทธิภาพการบริหารจัดการของผู้บริหารทุกระดับ ปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไข ทางคณะมีการรายงานผ่านการประชุมคณะรวมถึง การวิเคราะห์ปัจจัยอุปสรรคและสนนับสนุน โครงการจัดทำงบประมาณที่สอดคล้องกับการพัฒนาหลักสูตร บุคลากร และคณะ คณบดี/บุคลากร /คณาจารย์ คณะวิทย์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะควรมีแผนปรับปรุงการดำเนินงานหลักสูตร ที่ยังมีผลการดำเนินงานทางการเงินไม่เป็นไปตามเป้าหมายด้านคุณภาพ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และประสิทธิผลในการดำเนินงานของหลักสูตรในทุกมิติ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ หาแนวทางร่วมสนับสนุนให้หลักสูตรมีความโดดเด่นมากขึ้นสอดคล้องกับความต้องการพัฒนาของประเทศ - คณบดี/บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์
2) การทำให้การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการคณะมีความชัดเจนมากขึ้น โดยการสร้างความยอมรับ และความเชื่อมั่นในระบบการประกันคุณภาพให้กับบุคลากรคณะทั่วทุกภาคส่วนเป็นเรื่องสำคัญ ขอเสนอแนะให้มีการประชุมหรือสัมมนาวิชาการ ในหัวข้อการบริหารอย่างมีคุณภาพทั้งในระดับหลักสูตรและระดับคณะ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความเข้าใจและการยอมรับในการขับเคลื่อนเป้าหมายคุณภาพในทุกองค์ประกอบ การค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี ที่จะทำให้การดำเนินงานในทุกมิติประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมาย นำหัวข้อที่เสนอแนะ เสนอต่อที่ประชุมคณะ เพื่อรับทราบ และตัดสินใจในการดำเนินการร่วมกันและหาแนวทาง ดำเนินการด้านการประกันคุณภาพอย่างสร้างสรรค์ - คณบดี/บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์
3) ด้วยความสามารถของคณบดีและผู้บริหารคณะ เสนอให้พิจารณาความเป็นไปได้และความพร้อมที่ก้าวไปสู่ระบบการประกันคุณภาพสากลทั้งในระดับหลักสูตร และระดับคณะ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาที่สามารถเปรียบเทียบได้อย่างชัดเจน ทางคณะประเมินตนเองว่า น่าจะยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมในการประกันคุณภาพสู่ระดับสากล ยังเห็นด้วยที่กรรมการเสนอให้ปรับปรุงในหลากหลายประการ - คณบดี/บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์