การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ทางคณะมีความเข้มแข็งในการให้คำปรึกษาสะท้อนออกมาในคะแนนประเมินอาจารย์ที่ปรึกษา ในปีการศึกษา 2565 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 4.75 จากการมีระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ระบบอาจารย์หัวหน้าสตูดิโอ ช่วยวางแผนการเรียนการสอน และเสริมสร้างทักษะด้านต่างๆ ในการเรียนรู้ และใช้ชีวิตในสังคมให้นักศึกษา ระบบ One Stop Service กำกับดูแลแก้ไขปัญหาเร่งด่วนทุกเรื่องของนักศึกษาทุกชั้นปี โดยทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ หัวหน้าหลักสูตร อาจารย์ที่ปรึกษา รองคณบดีทั้ง 3 ฝ่าย และระบบ Smart Team ประกอบด้วยรองคณบดี 3 ฝ่าย หัวหน้าหลักสูตร และเจ้าหน้าที่จำนวน 3 ท่าน เพื่ออำนวยความสะดวก และให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาที่เข้าใหม่ในปีการศึกษา 2565 ทบทวนแผนการดำเนินงาน ปรับปรุงข้อมูลและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ปีการศึกษา 2566 รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร
2) มีการให้บริการข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษา และกิจกรรมนอกหลักสูตร ผ่านช่องทางหลัก Online ที่ FaceBook และทางคณะฯ ได้มีกิจกรรมสร้างความรู้ควบคู่กับการนำเสนอช่องทางแหล่งงานนอกเวลา 2 โครงการ และมีกลุ่มข่าวสารกิจกรรมนอกหลักสูตรที่มีอาจารย์ประจำและศิษย์เก่าของคณะฯ ร่วมก่อตั้งและดำเนินการ ทบทวนแผนการดำเนินงาน ปรับปรุงข้อมูลและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ FB คณะฯ FB ชั้นปี FB รายวิชา FB กิจกรรม FB ชมรมศิษย์เก่า Website คณะฯ Website วิทยานิพนธ์ Website อาจารย์ที่ปรึกษา รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีฝ่ายบริหาร
3) การเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงาน โดยนำข้อสอบปีที่ผ่านมาของการสอบขอรับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพของสภาสถาปนิกให้นักศึกษาทดสอบเพื่อทราบระดับความรู้ความสามารถก่อนเลือกเข้ารับการอบรม และทดสอบอีกครั้งหลังผ่านการอบรมแล้วโดยการอบรมแบ่งเป็นหมวดความรู้ ทักษะ และเครื่องมือ เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการฝึกงาน สหกิจศึกษาให้กับนักศึกษา โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญใน แต่ละด้านเป็นวิทยากรจากภายนอก รวมทั้งอาจารย์ภายในคณะมาเป็นผู้อบรม ทั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้ บัณฑิตที่จบไปแล้ว และบุคคลภายนอกที่สนใจสามารถเข้าร่วมได้ด้วย ทบทวนแผนการดำเนินงาน ปรับปรุงข้อมูลและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ โครงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาสหกิจ และ FB : ARCHRSU Co-operative Education 2024 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
4) มีการจัดทำแผนจัดกิจกรรม โครงการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ และโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ออกแบบเชิงปฏิบัติการ (4+1) โดยในแผนการจัดกิจกรรมนักศึกษา ให้ดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตาม มาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ ครบถ้วน ทบทวนแผนการดำเนินงาน มอบหมายภาระงาน จัดอาจารย์ประจำคณะฯ เป็นผู้สอนนักศึกษาใหม่ของคณะฯ ในรายวิชา GenEd ภาคเรียน S/2566 และ โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ออกแบบเชิงปฏิบัติการ (660779) รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีฝ่ายบริหาร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์มีการทำผลงานวิชาการเพื่อก้าวเข้าสู่ขอตำแหน่งวิชาการให้มากขึ้น แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2566 เพื่อดำเนินการ โครงการส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัย นวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ (660784) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และ รองคณบดีฝ่ายบริหาร

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีระบบสารสนเทศและกลไกในการวิจัยที่ง่ายต่อการเข้าถึงสำหรับคณาจารย์ และมีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัยในการทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในการยื่นขอทุนวิจัยและการขอตำแหน่งทางวิชาการ update ข้อมูล และประชาสัมพันธ์ การจัดทำฐานข้อมูลแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัย ช่องทางการนำเสนอผลงานวิชาการ และงานสร้างสรรค์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีการจัดตั้งคณะกรรมการในการจัดประชุมวิชาการ ระดับนานาชาติ และดำเนินงานเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ระดับนานาชาติร่วมกับองค์กรภายนอก ปรับเปลี่ยนบุคลากรในการดำเนินงานเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา แต่งตั้งคณะกรรมการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เพื่อร่วมงานจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ International Design Symposium ครั้งที่ 12 ประจำปีการศึกษา 2566 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ควรส่งเสริมให้คณาจารย์เผยแพร่บทความทางวิชาการในวารสารในฐานข้อมูล TCI และ วารสารในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ประชาสัมพันธ์ และให้การสนับสนุนค่าธรรมเนียมตีพิมพ์ การเผยแพร่บทความทางวิชาการของอาจารย์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ควรส่งเสริมให้คณาจารย์เข้าถึงทุนวิจัยภายนอกเพิ่มมากขึ้น ประชาสัมพันธ์ โครงการอบรมพัฒนาสมรรถนะการทำงานวิจัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีฝ่ายบริหาร

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีการบูรณาการระหว่างการบริการวิชาการกับการวิจัยที่ได้รับทุนจากหน่วยงานภายนอกและก่อให้เกิดรายได้ ทบทวนแผนงาน งานบริการวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภายนอก เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ เป็นโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้จากภายใน [Transformative Learning] ทำให้นักศึกษาเข้าใจตนเองและนำไปสู่การเป็น Change Agent ทบทวนแผนงาน โครงการสหกิจศึกษา รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ควรมีการจัดทำแผนการบริการวิชาการของคณะฯ ที่มีวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จระดับแผน คลอบคลุมทั้งการบริการวิชาการแบบให้เปล่าและการบริการวิชาการแบบเฉพาะ ทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมา แผนการบริการวิชาการของคณะฯ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ควรประเมินความสำเร็จตามวัตุประสงค์ของกิจกรรม/โครงการทางบริการทางวิชาการ นอกเหนือจากการประเมินความพึงพอใจ ทบทวนปรับปรุงแบบประเมิน แบบประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม/โครงการบริการทางวิชาการ ที่ปรับปรุงแล้ว รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
3) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สามารถส่งเสริมให้คณาจารย์นำผลงานการบริการวิชาการไปเผยแพร่ในรูปแบบของบทความวิชาการ หรือบทความวิจัย เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านวิชาการ ตลอดจนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2566 โครงการส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัย นวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ (660784) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีฝ่ายบริหาร

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของคณะนั้น คือ มีโครงการที่ปฏิบัติต่อเนื่อง และยาวนานมาตั้งแต่ก่อตั้งคณะ จนกลายเป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาจากสมัยโบราณ อย่างเช่น กิจกรรมครอบครูช่าง และเป็นกิจกรรมที่สร้างความร่วมแรงร่วมใจระหว่างคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และวิทยาลัยการออกแบบ เป็นวัฒนธรรมอันดี ให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำกิจกรรมระหว่างคณะ สร้างปฏิสัมพันธ์ และ เครือข่ายนักศึกษา ทบทวนรูปแบบ วิธีการ และรายละเอียดของงาน โครงการพิธีไหว้ครูครอบครูช่าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (660780) รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร และรองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) มีการบูรณาการการเรียนการสอนกับกิจกรรมด้านทำนุบารุงศิลปะและวัฒนธรรมในรายวิชา ARC412 Architectural Conservation Studio ในหมวดวิชาชีพเลือกของคณะฯ สร้าง มาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ผลการดำเนินงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดจิต เศวตจินดา ได้รับรางวัล CDAST Awards 2566 นักวิชาการและวิชาชีพระดับดีเด่น สาขา สถาปัตยกรรมในโครงการเชิดชูเกียรติบุคลากรสมาชิกสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ณ วันที่ 29 เมษายน 2566 ทบทวนผลการดำเนินงาน เพื่อให้การสนับสนุนกิจกรรม ห้องส่วนกลาง RSU VERNADOC COMMON ROOM และ โถงจัดแสดงงาน RSU VERNADOC GALLERY ผศ.ดร.สุดจิต เศวตจินดา
3) โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ออกแบบเชิงปฏิบัติการ (4+1) เป็นโครงการที่มีส่วนช่วย ให้นักศึกษาให้ความสนใจเกี่ยวกับรากฐานทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งเป็นการปลูกฝังให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในรากฐานศิลปะและสถาปัตยกรรมในอดีตที่ส่งผลต่อ คนในชุมชนและการพัฒนาในอนาคต และบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน ในชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 1 ทบทวนแผน โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ออกแบบเชิงปฏิบัติการ (660779) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และ หัวหน้าหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - - - -

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีความครบถ้วนในการจัดทำแผนพัฒนาของคณะที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรังสิตและเชื่อมโยงกับผลการวิเคราะห์จาก SWOT ทบทวน และปรับปรุงแผนพัฒนาคณะฯ แผนพัฒนาคณะฯ ฉบับปรับปรุง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร
2) มีความครบถ้วนในการเชื่อมโยงจากแผนพัฒนาของคณะเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา และกลยุทธ์การเงินของคณะซึ่งได้รับการจัดทำเป็นรายละเอียดในรูปแบบที่ชัดเจนและครบถ้วนตามกระบวนการ ทบทวนแผน และปรับกลยุทธ์ จัดทำรายงานเพื่อการประกันคุณภาพ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร และรองคณบดีฝ่ายบริหาร
3) มีความครบถ้วนในการวิเคราะห์การใช้จ่ายเงินของคณะที่ชัดเจน ทบทวนแผนการดำเนินงาน จัดทำรายงานเพื่อการประกันคุณภาพ รองคณบดีฝ่ายบริหาร
4) คณะมีระบบ กลไก และการดำเนินงานที่ครบถ้วนของ PDCA ในการบริหารจัดการที่ครบถ้วนตามพันธกิจของคณะ และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ที่ส่งผลให้คณะก้าวสู่ความสำเร็จในทุกพันธกิจของคณะ ได้แก่ การบริหารความเสี่ยงในทุกประเด็นที่มหาวิทยาลัยกำหนด การพัฒนาบุคลากรทั้งสายการสอนและสายสนับสนุน การบริการวิชาการ งานวิจัยของคณาจารย์ การประกันคุณภาพของหลักสูตร เป็นต้น ทบทวนแผนการดำเนินงาน จัดทำรายงานเพื่อการประกันคุณภาพ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีฝ่ายบริหาร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ติดตามและผลักดันในการเพิ่มจำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งวิชาการ และอาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก 1) แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2566 เพื่อพิจารณาดำเนินการกิจกรรม ส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ 2) สนับสนุนให้อาจารย์ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก 1) โครงการส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัย นวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ (660784) 2) การลาศึกษาต่อระดับปริญญาเอกของอาจารย์ ในปีการศึกษา 2566 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีฝ่ายบริหาร