การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะฯ มีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการ เผยแพร่ผลงานของอาจารย์และนักศึกษา โดย คณะฯ มีนโยบายทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ซึ่งในปีการศึกษา2566 อาจารย์และนักศึกษาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีผลงานสร้างสรรค์เผยแพร่ ใน ระดับนานาชาติ และได้รับรางวัลผลงานดีเด่น ในงาน The 12th International Arts & Design Symposium 2024 “Work in Progress” : The Devil is in The Details จัดโดยสภาคณบดีศิลปะและการออกแบบแห่งประเทศไทย สมาคมสถาปนิกสยามใน พระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมช่างภาพแห่งประเทศไทย สมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย ร่วมกับวิทยาลัยการออกแบบ คณะดิจิทัลอาร์ต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เพิ่มโอกาสในการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมพัฒนานักศึกษาร่วมกับเครือข่ายองค์กรภายนอก ทั้งในและต่างประเทศ โครงการส่งเสริมการพัฒนาความเป็นสากลให้แก่นักศึกษาและบุคลากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต รหัสโครงการ 670061 โครงการส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัย นวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ รหัสโครงการ 670212 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และรองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) คณะมีระบบการจัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการและการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาที่หลากหลาย ทั้งระบบอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตัว ระบบอาจารย์หัวหน้าชั้นปี ในการให้คำปรึกษาด้านวิชาการ ร่วมการวางแผนการเรียน และติดตามกำกับดูแลผลการเรียนของนักศึกษารายชั้นปี และเสริมทักษะด้านต่าง ๆ ในการเรียนรู้และใช้ชีวิตในสังคม การเรียนรู้ตลอดชีวิต การพร้อมเผชิญความเปลี่ยนแปลงและมีความเป็นผู้นำ ควรให้มีการประเมินความสำเร็จให้ชัดเจนในทุกระบบเพื่อเข้าสู่การเป็น good practice เพิ่มกลไลการให้นักศึกษาทุกคนต้องเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาประจำตัวเพื่อตรวจสอบแผนการเรียนต้นเทอม และนำแผนที่ได้รับการตรวจรับรองแล้วนำส่งให้อาจารย์ผู้สอนวิชาหลักในรายวิชาต่อเนื่อง คือ วิชาออกแบบสถาปัตยกรรม วันพบอาจารย์ที่ปรึกษา อังคารสัปดาห์ที่สองของวันเปิดภาคเรียน รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
3) คณะฯ มีการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบ sandbox model แต่ละชั้นปีโดยบูรณาการผลลัพธ์การเรียนรู้ของแต่ละรายวิชา (CLOs) ในชั้นปีนั้นๆ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย ผลลัพธ์การเรียนรู้รายชั้นปี (YLOs) ของหลักสูตร โดยทีมอาจารย์ผู้สอนทุกวิชาประจำชั้นปี และมี Director แต่ละชั้นปีกำกับดูแลและติดตามผล ใช้กลไลความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพในการมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนการสอน การทัศนศึกษาดูงาน การบรรยายพิเศษ การอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับนักศึกษาเพื่อเตรียมเข้าสู่การปฏิบัติงานสหกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าหลักสูตร
4) คณะฯ ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยความร่วมมือกับสถาบันและองค์กรจากต่างประเทศ ได้แก่ The 1st RSU-UII joint workshop “Revitalizing cross cultural heritage in Bangkok& Ayutthaya” กับประเทศอินโดนิเซีย การลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ในการทำกิจกรรมวิชาการ ได้แก่ การฝึกงาน สหกิจศึกษา กับ บริษัท มิยะกะวะโคคิ จำกัด และ บริษัทมิยะกะวะ ดาต้า ซัพพอร์ตเซ็นเตอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น การจัดการเรียนการสอน Special Project การออกแบบ โรงพยาบาล ร่วมกับ บริษัท อีเอ็มดีไซน์ แอนด์แมนเนจเม้นท์ จำกัด และการออกแบบโครงการอสังหาริมทรัพย์ กับ บริษัท บลูปริ๊น เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ 1. รักษาความต่อเนื่องของกิจกรรมความร่วมมือกับสถาบันและองค์กรจากต่างประเทศ "RSU-UII joint workshop" กับประเทศอินโดนิเซีย 2. เพิ่มเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรภายนอก โครงการส่งเสริมการพัฒนาความเป็นสากลให้แก่นักศึกษาและบุคลากร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต รหัสโครงการ 670061 และ โครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยรังสิต (MOU) รหัสโครงการ 670185 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ด้านการบริการนักศึกษา ต้องการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการให้คำปรึกษา การบริหารการจัดการ และการให้บริการแก่นักศึกษาอย่างเป็นระบบให้กับทีมอาจารย์ที่ปรึกษา เช่น การบันทึก ผลประเมิน และติดตามผลการให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ การเชื่อมโยงข้อมูการ ดำเนินงานของ Smart Team ในระบบ One Stop Service ที่สามารถส่งต่อข้อมูลและบันทึกข้อมูลการให้ ความช่วยเหลือแก่ นักศึกษาในความดูแลให้แก่อาจารย์ที่ปรึกษาอย่างเป็นระบบ เป็นต้น รวมทั้งควรจัดทำ ระบบการประเมินผล การดำเนินการให้ชัดเจนเพื่อการติดตามและให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาตาม เป้าหมายของหลักสูตร ทบทวนกลไกและกระบวนการ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการให้แก่อาจารย์ที่ปรึกษา รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
2) การประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมนักศึกษา คณะมีการรายงานความสำเร็จตามกิจกรรม แต่ยังไม่ได้สะท้อนว่ากลุ่มกิจกรรมทั้งหมดได้ impact วัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมนักศึกษา เช่นภาพรวมร้อยละการเข้าร่วมและความพึงพอใจเฉลี่ย และภาพรวมร้อยละนักศึกษาที่มีผลลัพธ์ตาม tqf 5 ด้านเฉลี่ยแต่ละด้านจากทุกกิจกรรมอยู่ในระดับดี 3.51 ขึ้นไป เพื่อนำผลไปปรับปรุงแผน เพื่อตอบโจทย์จำนวน ประเภทผลลัพธ์ที่มุ่งหวัง และวิธีการดำเนินงานของโครงการที่คาดว่าจะทำให้เกิดผลลัพธ์ดังกล่าวเป็นไปตามแผนได้ในปีต่อไป ทบทวนกลไกการได้ข้อมูล และการนำผลประเมินไปใช้วิเคราะห์วางแผนการดำเนินงานจัดกิจกรรมนักศึกษา บรรจุในวาระการประชุมคณะกรรมการอาจารย์ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (สถ.3110/004/2567) รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) จุดแข็ง คณาจารย์มีผลงานสร้างสรรค์ทั้งระดับชาติและนานาชาติจำนวนมาก รวมถึงมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการฐาน TCI 1-2 จำนวน 2 บทความ จุดที่ควรพัฒนา เพิ่มจำนวนบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการให้มากชึ้น กำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติในเกณฑ์การประเมินผลการปฎิบัติงานประจำปี สนับสนุนค่าแปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ สนับสนุนค่าตีพิมพ์ผลงาน ประชาสัมพันธ์แหล่งเผยแพร่ในวารสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง รองคณบดีฝ่ายบริหาร และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) จุดที่ควรพัฒนา คณะฯ ควรส่งสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ขอทุนวิจัยให้มากขึ้น ข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยสามารถของบสนับสนุนทุวิจัยจากสถาบันวิจัย (ม รังสิต) เพิ่มขึ้นได้ถึง 100,000-150,000 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการให้ทุน คณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (สถ.3110/030/2567) โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเขียนหัวข้อโครงการวิจัยนำเสนอแหล่งทุนภายนอก รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะมีบุคลากรที่มีคุณภาพและมีองค์ความรู้ด้านวิชาชีพที่สามารถนำไปสู่การประยุกต์และสร้างสรรค์ผลงานวิชาการ และการศึกษา ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและนอกสถานศึกษา สนับสนุนเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงานวิชาชีพ และการเป็นวิทยากรรับเชิญจากองค์กรภายนอก นอกเหนือจากเวลาที่ใช้ในการสอนตามตาราง สนับสนุนให้ทำงานบริการวิชาการโดยบูรณาการกับรายวิชาที่เปิดสอน การผลิตผลงานทางวิชาการ และตำรา การปฏิบัติวิชาชีพของอาจารย์ประจำ โครงการบริการวิชาการและบูรณาการการเรียนการสอน วิชา ARC423 Special Topic For Architectural Design เพื่อจัดทำ โครงการผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองเก่ามุกดาหารและพื้นที่ย่ายเมืองเก่าริมฝั่งโขง จังหวัดมุกดาหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) คณะมีกิจกรรมและโครงการที่ต่อยอดจากการศึกษาภายในห้องเรียนสู่การเรียนรู้จริงภายนอกและสามารถนำองค์ความรู้ทั้งหมดมาช่วยเหลือและพัฒนาพื้นที่ต่างๆในย่านเมืองเก่าและชุมชน ทบทวนการดำเนินงาน โครงการบริการวิชาการและบูรณาการการเรียนการสอน วิชา ARC423 Special Topic For Architectural Design เพื่อจัดทำ โครงการผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองเก่ามุกดาหารและพื้นที่ย่ายเมืองเก่าริมฝั่งโขง จังหวัดมุกดาหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ กฤตพร ลาภพิมล
3) คณะมีการบริการวิชาการอย่างต่อเนื่องในการให้ความรู้ผ่านการจัดงานนิทรรศการ และการตีพิมพ์ข้อมูลสู่สาธารณชน ทบทวนการดำเนินงาน งานนิทรรศการผลงาน RSU VERNADOC (ภายนอก) งานนิทรรศการผลงาน SYMPOSIUM (ภายนอก) งานนิทรรศการผลงาน THESIS (ภายนอก) โครงการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ รหัสโครงการ 670215 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) เพิ่มเติมและขยายขอบเขตการศึกษาและการบริการวิชาการทั้งภายในสถานศึกษาและภายนอกสถานศึกษา ทบทวนการดำเนินงาน โครงการบริการวิชาการ รหัสโครงการ 670217 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) ส่งเสริมให้บุคลากรนำความรู้ด้านบริการวิชาการเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ เพื่อการชี้นำสังคมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในมิติใหม่ใหม่ ทบทวนการดำเนินการ พัฒนางานวิจัยเพื่อบูรณาการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก พัฒนาชุมชนและประชาชนในมิติต่างๆ ตาม KR 2.3 ในหัวข้อโครงการ แนวทางการพัฒนาพื้นที่และออกแบบสถาปัตยกรรมในพื้นที่คานเรือศรีเจริญ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้มรดกวัฒนธรรมที่มีชีวิต (ทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัย) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และ คณะทำงาน ได้แก่ ดร. ปาริษา มูสิกะคามะ ดร. ศศิกาญจน์ ศรีโสภณ และ อ. อามาล ภักดีธรรม ฉิมวิไลทรัพย์
3) ส่งเสริมให้บุคลากรส่งผลงานเพื่อสร้างชื่อเสียงและส่งผลงานเพื่อรับการสนับสนุนงานบริการวิชาการที่ก่อให้เกิดรายได้ ทบทวนการดำเนินงาน โครงการออกแบบอาคารเรียนคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
4) แนวทางปฏิบัติ การสนับสนุนให้บุคลากรและนักศึกษามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม/โครงการ โดยเน้นการสร้างสรรค์ผลงานต่อชุมชนสังคม จากการนำแนวปฏิบัติการเรียนการสอนภายในห้องเรียน สู่การชี้นำสังคมในยุคสมัยใหม่อย่างถูกต้อง และเป็นแบบอย่างที่ดี เกิดการยอมรับในผลงานจากบุคคลภายนอก สู่การมีชื่อเสียงขององค์กร ทบทวนการดำเนินการ โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ออกแบบเชิงปฏิบัติการ รหัสโครงการ 670062 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะมีความต่อเนื่องในการจัดกิจกรรมและโครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดยถือปฏิบัติจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่างสมบูรณ์ รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมขององค์กรมาโดยตลอด ทบทวนการดำเนินการ โครงการพิธีไหว้ครูครอบครูช่าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ รหัสโครงการ 670178 รองคณบดีฝ่ายบริหาร ร่วมกับประธานคณะคณะกรรมการดำเนินโครงการพิธีไหว้ครู – ครอบครูช่าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
2) คณะได้สอดแทรกกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้เข้ากับยุคสมัยในแต่ละรายวิชาเพื่อส่งเสริมและต่อยอดวัฒนธรรมสู่การศึกษาทั้งภายในและภายนอก ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาร่วม workshop กับองค์กรภายนอก โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาให้คำแนะนำและดูแลตลอดโครงการ โครงการ ISWA2024 International Workshop โครงการ Academic Program Special Project “Shopping Therapy” เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2568 (Bangkok Design Week 2025) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และอาจารย์อนุธร พลพงษ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ
3) คณะมีการบูรณาการโครงการกับรายวิชา เพื่อให้นักศึกษาในคณะมีความรู้และความเข้าใจอย่างถูกต้องในการประยุกต์ใช้ทั้งตนเอง ผู้อื่นและสังคม ทบทวนการดำเนินการ โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ออกแบบเชิงปฏิบัติการ รหัสโครงการ 670062 ในรายวิชา ออกแบบสถาปัตยกรรมชั้นปีที่ 1 2 และ 4 โครงการบริการวิชาการและบูรณาการการเรียนการสอน วิชา ARC423 Special Topic For Architectural Design ซึ่งเป็นวิชาชีพเลือก เพื่อจัดทำ โครงการผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะเมืองเก่ามุกดาหารและพื้นที่ย่ายเมืองเก่าริมฝั่งโขง จังหวัดมุกดาหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ส่งเสริมงานกิจกรรมให้มีความหลากหลายและต่อยอดผลงานสู่การชี้นำสังคมในมิติวัฒนธรรมมากขึ้น และสนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรส่งผลงานเข้าประกวดอันจะเป็นการสร้างชื่อเสียงด้านวัฒนธรรม และเป็นผลงานที่ประจักษ์ต่อสังคม ทบทวนการดำเนิน โครงการ ISWA2024 International Workshop โครงการ Academic Program Special Project “Shopping Therapy” เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2568 (Bangkok Design Week 2025) โครงการประกวดแบบจัดโดยสมาคมสถาปนิกสยาม โครงการประกวดแบบจัดโดยองค์กรภาคเอกชน รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) ปรับเพิ่มกิจกรรม เพิ่มความหลากหลายในงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม หรือเพิ่มกิจกรรมจากเดิมที่มีอยู่ และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของนักศึกษาและบุคลากร ในการ ทำงานด้านทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม ทบทวนการดำเนินงาน สนับสนุนโครงการความร่วมมือกับภายนอกเพิ่มขึ้น โครงการ ISWA2024 International Workshop โครงการ Academic Program Special Project “Shopping Therapy” เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2568 (Bangkok Design Week 2025) โครงการประกวดแบบจัดโดยสมาคมสถาปนิกสยาม โครงการประกวดแบบจัดโดยองค์กรภาคเอกชน รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะมีการดำเนินการในการนำผลการวิเคราะห์ SWOT มาจัดทำแผนกลยุทธ์ ที่สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ ของคณะและมหาวิทยาลัย เชื่อมโยงไปสู่การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา การบริหาร จัดการ ของ คณะเป็นไปตามยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่คณะได้วางไว้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย มีการ ดำเนินงานต่อเนื่อง และมีกระบวนการในการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพของหลักสูตรอย่าง ต่อเนื่อง ประชุมกรรมการคณะฯ เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางการปรับปรุง/พัฒนา การประชุมคณะกรรมการคณะฯ คณบดี
2) คณะฯ มีการจัดโครงสร้างการบริหารคณะฯ ที่ดี ให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการวางแผน ติดตาม และตรวจสอบ รวมถึงการร่วมกันพิจารณาปัญหา อุปสรรค และความเสี่ยง เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข และ ปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม หรืออย่างน้อยให้ลดปัญหา และความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นให้น้อยลง การมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกิจการต่างๆ การมีส่วนร่วมในการประเมิน สามารถเลือกปฏิบัติงานที่ตนเองมีความถนัดตามศักยภาพ การประชุมกรรมการคณะฯ การประชุมบุคลากรคณะฯ กิจกรรมโครงการของคณะ คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน คณบดี และรองคณบดีฝ่ายบริหาร
3) คณะมีนโยบาย การบูรณาการรายวิชา (Sand Box Model) ในชั้นปีโดยกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ ร่วมกัน (YLOs) และมีการประชุมติดตามผลการดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามที่กำหนด รวมทั้งมีการประชุม ย่อย ของแต่ละกลุ่มวิชาในแต่ละชั้นปีแบบไม่เป็นทางการตลอดเวลาเพื่อป้องกัน ปัญหาเฉพาะหน้าที่ เกิดขึ้นระหว่างภาคการศึกษา การใช้กลไกความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพ ในการมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนการสอน External Peer Review Sharing Talk วิทยากร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) การจัดทำรายงานสรุป การประชุมย่อยต่างๆ ให้มีความชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อสามารถนำข้อสรุปที่ได้จากรายงาน มาใช้ในการพัฒนาทางด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น จัดทำบันทึกรายงานการประชุม รายงานการประชุม ประธานคณะกรรมการแต่ละชุด
2) คณะควรรายงานผลสำเร็จตาม key result ของการพัฒนาบุคลากรคณะ เพื่อใช้ประกอบการปรับปรุงแผน IDP จัดทำรายงานผลสำเร็จตาม key result ของการพัฒนาบุคลากรคณะ แผน IDP ที่ปรับปรุงแล้ว รองคณบดีฝ่ายบริหาร