การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรในระดับปริญญาตรีที่หลากหลายครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ หลักสูตรวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การบริการ และพิจารณาปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้ทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งพิจารณา เปิดรายรายวิชาใหม่ในกลุ่มวิชาชีพเลือก และพัฒนากลุ่มวิชาชีพเลือกใหม่ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การบริการในปัจจุบัน เพื่อเป็นการให้โอกาสแก่นักศึกษาในการเลือกเรียนรู้เพิ่มเติมในทักษะที่สนใจ การปรับปรุง RQF 3 ของรายวิชาแต่ละหลักสูตร และการพิจารณาเปิดรายรายวิชาใหม่ และพัฒนากลุ่มวิชาชีพเลือกใหม่ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การบริการของหลักสูตร รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
2) ข้อมูลกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ให้นักศึกษามีโอกาสที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนอกหลักสูตรที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ทางด้านอุตสาหกรรมบริการ โครงการร่วมมือกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โครงการพัฒนาทักษะที่เน้นไปที่ทักษะที่เป็นประโยชน์ในอุตสาหกรรมบริการ ได้แก่ 1. พลังบวก (Positive Energy) 2. จิตใจบริการ (Service Mindset) 3. ความพร้อมทางนานาชาติ (International Readiness Information) 4. ความพร้อมทางการค้นคว้าข้อมูล (Literacy Readiness) 5. แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Thinking) 6. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) กิจกรรมอาสาสมัคร ค่ายอาสา การฝึกงาน รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
3) ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีแนวทางการช่วยเหลือ สนับสนุนการเรียน และการใช้ชีวิตด้านอื่นๆของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีประสิทธิภาพ ให้คำแนะนำทางการศึกษาและอาชีพแก่นักศึกษา สนับสนุนทักษะการดูแลตัวเองและการพัฒนาทักษะชีวิตของนักศึกษา ประกาศตารางวันให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา การสร้างกลุ่มไลน์ที่คอยตอบปัญหาต่างๆ ให้กับนักศึกษาได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งการจัดกิจกรรม Homeroom ของอาจารย์ที่ปรึกษษแต่ละชั้นปี อย่างน้อยปีการศึกษาละ 2 ครั้ง รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และคณาจารย์ทุกท่าน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) การพัฒนาผลงานทางวิชาการของอาจารย์เพื่อขอมีตำแหน่งทางวิชาการอย่างเป็นระบบชัดเจน สนับสนุนอาจารย์ในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในวารสารทางวิชาการที่มีชื่อเสียง ส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการ เช่น การประชุมวิชาการ และสัมมนาทางวิชาการ และการเปิดโอกาสให้นักศึกษาร่วมสร้างผลงานทางวิชาการ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ในงาน The 9th RSU International Research Conference (RSUCON-2024) โครงการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่สังคมท้องถิ่น เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการจัดกิจกรรมประชุมวิชาการกับสถาบันอื่นๆ เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ กิจกรรมฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนอาจารย์ในการเขียนบทความวิชาการ/บทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ในวารสารวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณาจารย์มีผลงานวิชาการจำนวนมาก ส่งเสริมการตีพิมพ์ในกลุ่มวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติที่มีคุณภาพในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวารสารที่มีรายชื่อในฐานข้อมูล ISI Web of Science, Scopus และ TCI ของประเทศไทย เป็นต้น รวมทั้งสนับสนุนให้คณาจารย์ผู้ทำวิจัย ขอรับการรับรองจริยธรรมการวิจัย เพื่อสามารถนำผลงานไปขอตำแหน่งทางวิชาการได้ในอนาคต จัดกิจกรรมสัมมนา การประชุม หรือการอบรมที่เปิดโอกาสให้คณาจารย์ได้พบปะและแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยควรพัฒนาระบบที่ช่วยจัดการด้านผลงานวิชาการของคณาจารย์ เพื่อการจัดเก็บและสืบค้นที่สะดวกขึ้น สร้างระบบที่ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ในด้านการตีพิมพ์ จัดทำ Google Sheet รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบทความ วารสาร และผลงานตีพิมพ์ที่สำเร็จของคณาจารย์แต่ละหลักสูตร และให้คณาจารย์เข้ามาอัพเดทข้อมูลได้ตลอดเวลา รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และคณาจารย์
2) วิทยาลัยควรวางแผนเกี่ยวกับการขอทุนวิจัยทั้งภายในและภายนอกเพิ่มเติม สนับสนุนให้คณาจารย์ขอทุนวิจัยภายใน และ สนับสนุนคณาจารย์ในการพัฒนาโครงการวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรม ให้คำปรึกษาและสนับสนุนคณาจารย์ในกระบวนการขอทุนวิจัย เชิญผู้ที่เคยขอทุนวิจัยมาแบ่งปันประสบการณ์และคำแนะนำ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ไม่มีปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ความต่อเนื่องในการมีกิจกรรมร่วมกันระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ ควรได้รับการพัฒนาต่อยอดไปสู่งานวิจัยและพัฒนาสำหรับพื้นที่นั้นๆ สนับสนุนให้นักศึกษามีโอกาสที่จะมีประสบการณ์ในการทำงานในโครงการบริการวิชาการ ด้วยการมีกิจกรรมบริการวิชาการร่วมกัน รวมทั้งสนับสนุนการวิจัยที่เชื่อมโยงกับความต้องการและปัญหาในท้องถิ่น นำนักศึกษาเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการกับศูนย์พัฒนาหลักหก สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะให้ความสำคัญในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ทั้งในการมีระบบและกลไก และแผนปฏิบัติการ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ได้มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการ ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และออกแบบให้มีกลไกในการขับเคลื่อน ดังนี้ 1. คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย กำหนดแนวทางส่งเสริมการดำเนินงานด้านกิจการนักศึกษา งานส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานักศึกษา งานด้านกิจกรรมของนักศึกษา และงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ซึ่งประกอบไปด้วย อธิการวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และมีผู้อำนวยการหลักสูตรทั้ง 6 สาขาวิชา และเลขานุการวิทยาลัยเป็นกรรมการและเลขานุการ 2. คณะกรรมการสโมสรนักศึกษาวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา (สโมสรนักศึกษา) ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรี 6 สาขาวิชา โดยมีรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษามีหน้าที่จัดทำแผนกิจกรรมนักศึกษาและดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการวางแผนและการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยยึดหลักการ “กิจกรรมของนักศึกษา โดยนักศึกษา เพื่อนักศึกษา” 3. อธิการวิทยาลัยปฏิบัติหน้าที่รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ทำหน้าที่ส่งเสริม กำกับดูแล และเป็นที่ปรึกษาการจัดกิจกรรมของนักศึกษาในส่วนงานกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของนักศึกษานั้น ตามโครงสร้างการบริหารงานของคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ได้กำหนดคณะกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินโครงการกิจกรรมต่างๆ ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ตามคำสั่งเรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ประจำปีการศึกษา 2565 การจัดกิจกรรมทางด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาลัยจะให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมนักศึกษา โดยในการวางแผนการจัดกิจกรรมนักศึกษาประจำปีการศึกษา 2565 ของวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ได้เริ่มดำเนินการวางแผนและจัดทำตั้งแต่ปลายปีการศึกษา 2564 โดยฝ่ายกิจการนักศึกษา และคณะกรรมการสโมสรนักศึกษา วิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา จัดประชุมจัดกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อกำหนดกิจกรรมในโครงการพัฒนานักศึกษา ได้แก่ 1. โครงการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ประจำปีการศึกษา 2565 2. โครงการพัฒนานักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2565 : RSU COTH Jamboree 2022 เพื่อนำเสนอของบประมาณ ประจำปีการศึกษา 2565 จากมหาวิทยาลัย โครงการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ประจำปีการศึกษา 2565 เป็นโครงการที่จัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยกำหนดวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษา 2) เพื่อส่งเสริมพัฒนานักศึกษาทางด้านร่างกาย อารมณ์และสังคม 3) เพื่อสร้างจิตสำนึกในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาของชาติและท้องถิ่นให้แก่นักศึกษา 4) เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ และพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 5) เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาสำหรับการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา กิจกรรมที่จัดตามโครงการมีดังนี้ 1) บริการให้คำปรึกษาการใช้ชีวิตแก่นักศึกษา 2) ส่งเสริมพัฒนานักศึกษาทางด้านร่างกาย อารมณ์และสังคม 3) กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของชาติและท้องถิ่น และรักษาสภาพแวดล้อม 4) กิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา โครงการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ประจำปีการศึกษา 2565 ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากมหาวิทยาลัย จำนวนเงิน 140,000 บาท ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ประจำปีการศึกษา 2565 เฉพาะกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของชาติและท้องถิ่น และรักษาสภาพแวดล้อม มีดังนี้ 1. โครงการ COTHS Ambassador 2022 วิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา มอบหมายให้กรรมการสโมสรนักศึกษาของวิทยาลัย จัดกิจกรรม COTHS Ambassador 2022 เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของนักศึกษาให้เหมาะสมกับการทำหน้าที่บริการบนพื้นฐานของการอนุรักษ์ความเป็นไทย ลักษณะของกิจกรรมจะดำเนินการใน 2 ลักษณะควบคู่กันไป ได้แก่ 4) การประกวดทูตกิจกรรม เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพให้เป็นแบบอย่างที่ดีของนักศึกษา และเป็นตัวแทนนักศึกษาของวิทยาลัยในการทำกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกวิทยาลัย ตามอัตลักษณ์ของ COTHS Ambassador คือ “สวย หล่อ เก่ง ดี สุภาพ และมีจิตอาสา” การดำเนินการเริ่มตั้งแต่เริ่มเปิดภาคการศึกษาที่ 1 กรรมการสโมสรนักศึกษาจะรับสมัครนักศึกษาเพื่อคัดเลือกเป็นทูตกิจกรรม มีการเก็บตัวฝึกซ้อม ทำกิจกรรมต่างๆ และดำเนินการคัดเลือกให้ได้ทูตกิจกรรมก่อนวันจัดกิจกรรมไหว้ครูของมหาวิทยาลัย 5) การประกวดพานพุ่มดอกไม้ ธูปเทียนสำหรับไหว้ครู โดยวิทยาลัยรับสมัครนักศึกษาเพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนประดิษฐ์พานพุ่มไหว้ครู และพานพุ่มสำหรับกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ ของชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการอบรมและฝึกซ้อมการทำพานพุ่มดอกไม้ธูปเทียนจากวิทยากรทั้งจากอาจารย์ภายใน และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัย ซึ่งกิจกรรมแรกที่ดำเนินการในแต่ละปีการศึกษาคือการประดิษฐ์พานพุ่มดอกไม้ ธูปเทียนสำหรับไหว้ครูประจำปีการศึกษา 2565 เมื่อตัวแทนจัดทำพานพุ่มดอกไม้ ธูปเทียนสำหรับไหว้ครูเสร็จเรียบร้อยแล้ว วิทยาลัยก็จะมอบหมายให้ ทูตกิจกรรม (ตามกิจกรรมที่ 1) เป็นตัวแทนของนักศึกษาวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ถือพานพุ่มในพิธีไหว้ครูของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 นอกจากนี้ทูตกิจกรรมประจำปีการศึกษา 2565 ยังได้เป็นตัวแทนของวิทยาลัยไปร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ร่วมการแสดง “มารยาทไทย” เพื่อแสดงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติตลอดทั้งปีการศึกษา 2. การบูรณาการการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนรายวิชาต่างๆ การพัฒนาหลักสูตรชองสาขาวิชาต่างๆ แต่ละหลักสูตรได้พัฒนารายวิชาที่มีการปลูกฝังจิตสำนึกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่นักศึกษา หลายวิชา ได้แก่ 1) สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการ - รายวิชาอารยธรรมไทยเปรียบเทียบสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ - รายวิชางานมัคคุเทศก์ - รายวิชาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน - รายวิชาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาดังกล่าวนี้ นอกจากจะเรียนภาคทฤษฎีในชั้นเรียนแล้ว อาจารย์ผู้สอนนำนักศึกษาไปศึกษาดูงานและปฏิบัติงานในสถานที่จริงทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทย เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดความซาบซึ้งในศิลปะและวัฒนธรรมไทย สร้างจิตสำนึกในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่นักศึกษา โดยมหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณในการเดินทางไปศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัตินอกสถานที่ให้แก่นักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน 2) สาขาวิชาศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหาร - รายวิชาศิลปะการประกอบอาหารไทย - รายวิชาศิลปะการประกอบเครื่องจิ้มไทย - รายวิชาศิลปะการประกอบอาหารว่างไทย - รายวิชาศิลปะการประกอบอาหารไทยชาววัง - รายวิชาศิลปะการประกอบอาหารไทยประจำถิ่น - รายวิชาศิลปะการประกอบอาหารไทยนอกระบบ - รายวิชาการประกอบธุรกิจอาหารไทยในต่างแดน - รายวิชาศิลปะการประกอบอาหารไทยผสานวัฒนธรรม ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาดังกล่าวนี้ นักศึกษาจะได้เรียนรู้ และปฏิบัติการประกอบอาหารไทยที่เป็นศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญ ซึ่งปัจจุบันอาหารบางประเภทแทบจะไม่มีจำหน่ายหรือหาซื้อได้ในท้องตลาด หรือไม่เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป ทำให้นักศึกษาที่ได้เรียนในรายวิชาดังกล่าวนี้ได้เกิดความซาบซึ้งในศิลปะและวัฒนธรรมไทย เห็นคุณค่าในศิลปะและวัฒนธรรมไทย สร้างจิตสำนึกในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่นักศึกษา อธิการวิทยาลัย
2) คณะมีนโยบายและดำเนินการตามนโยบายในการนำศิลปะและวัฒนธรรมไทยเข้าสุ่กระบวนการเรียนการสอนในบางรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รายวิชาด้านศิลปะอาหาร รายวิชาด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น วิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ได้มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการ ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และออกแบบให้มีกลไกในการขับเคลื่อน ดังนี้ 1. คณะกรรมการบริหารวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย กำหนดแนวทางส่งเสริมการดำเนินงานด้านกิจการนักศึกษา งานส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานักศึกษา งานด้านกิจกรรมของนักศึกษา และงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ซึ่งประกอบไปด้วย อธิการวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และมีผู้อำนวยการหลักสูตรทั้ง 6 สาขาวิชา และเลขานุการวิทยาลัยเป็นกรรมการและเลขานุการ 2. คณะกรรมการสโมสรนักศึกษาวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา (สโมสรนักศึกษา) ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาระดับปริญญาตรี 6 สาขาวิชา โดยมีรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษามีหน้าที่จัดทำแผนกิจกรรมนักศึกษาและดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการวางแผนและการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยยึดหลักการ “กิจกรรมของนักศึกษา โดยนักศึกษา เพื่อนักศึกษา” 3. อธิการวิทยาลัยปฏิบัติหน้าที่รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ทำหน้าที่ส่งเสริม กำกับดูแล และเป็นที่ปรึกษาการจัดกิจกรรมของนักศึกษาในส่วนงานกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของนักศึกษานั้น ตามโครงสร้างการบริหารงานของคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ได้กำหนดคณะกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินโครงการกิจกรรมต่างๆ ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ตามคำสั่งเรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ประจำปีการศึกษา 2565 2. การบูรณาการการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนรายวิชาต่างๆ การพัฒนาหลักสูตรชองสาขาวิชาต่างๆ แต่ละหลักสูตรได้พัฒนารายวิชาที่มีการปลูกฝังจิตสำนึกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่นักศึกษา หลายวิชา ได้แก่ 1) สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการ - รายวิชาอารยธรรมไทยเปรียบเทียบสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ - รายวิชางานมัคคุเทศก์ - รายวิชาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน - รายวิชาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาดังกล่าวนี้ นอกจากจะเรียนภาคทฤษฎีในชั้นเรียนแล้ว อาจารย์ผู้สอนนำนักศึกษาไปศึกษาดูงานและปฏิบัติงานในสถานที่จริงทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทย เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดความซาบซึ้งในศิลปะและวัฒนธรรมไทย สร้างจิตสำนึกในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่นักศึกษา โดยมหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณในการเดินทางไปศึกษาดูงานและฝึกปฏิบัตินอกสถานที่ให้แก่นักศึกษาและอาจารย์ผู้สอน 2) สาขาวิชาศิลปะและเทคโนโลยีการประกอบอาหาร - รายวิชาศิลปะการประกอบอาหารไทย - รายวิชาศิลปะการประกอบเครื่องจิ้มไทย - รายวิชาศิลปะการประกอบอาหารว่างไทย - รายวิชาศิลปะการประกอบอาหารไทยชาววัง - รายวิชาศิลปะการประกอบอาหารไทยประจำถิ่น - รายวิชาศิลปะการประกอบอาหารไทยนอกระบบ - รายวิชาการประกอบธุรกิจอาหารไทยในต่างแดน - รายวิชาศิลปะการประกอบอาหารไทยผสานวัฒนธรรม ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาดังกล่าวนี้ นักศึกษาจะได้เรียนรู้ และปฏิบัติการประกอบอาหารไทยที่เป็นศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญ ซึ่งปัจจุบันอาหารบางประเภทแทบจะไม่มีจำหน่ายหรือหาซื้อได้ในท้องตลาด หรือไม่เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป ทำให้นักศึกษาที่ได้เรียนในรายวิชาดังกล่าวนี้ได้เกิดความซาบซึ้งในศิลปะและวัฒนธรรมไทย เห็นคุณค่าในศิลปะและวัฒนธรรมไทย สร้างจิตสำนึกในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่นักศึกษา อธิการวิทยาลัย
3) คณะมีนโยบายและดำเนินการตามนโยบายในการทำงานร่วมกันของคณาจารย์ นักศึกษาและบุคลากรสายสนับสนุนในโครงการที่เกี่่ยวข้องกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การศึกษา 2565 วิทยาลัยไม่ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 (Action Plan 2565) ของวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา เนื่องจากไม่มี OKR ทางด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอยู่ในแผนยุทธศาสตร์พัฒนาวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา พ.ศ. 2565-2569 อย่างไรก็ตามวิทยาลัยได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ จึงได้จัดทำโครงการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อเชิดชูเกียรติยศของผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ โดยมีอาจารย์ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน ชั้นที่ 5 เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ (บ.ภ.) 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 4 มาราคม 2566 รวมจำนวน 6 คน ในกิจกรรมดังกล่าวมีการให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก่คณาจารย์ และบุคลากรของวิทยาลัย เพื่อสร้างความตระหนักในความสำคัญของสถาบันหลักทั้งสาม คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้มีจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่นอกแผนงบประมาณประจำปีของมหาวิทยาลัย โครงการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อเชิดชูเกียรติยศของผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ อธิการวิทยาลัย
4) แนวทางเสริมจุดแข็ง - เพิ่มรายละเอียดให้ชัดเจนในการแสดงผลการประเมินการบริหารจัดการและการดำเนินการในงานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม รวมถึงการนำผลประเมินมาปรับปรุงแก้ไขสำหรับการดำเนินงานในปีการศึกษาถัดไป ในปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬาจึงได้เพิ่มโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของชาติ ประจำปี 2564 เข้าไปในแผนฯ และวิทยาลัยได้จัดทำโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของชาติ ประจำปี 2564 เสนอมหาวิทยาลัยและได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินงานตามโครงการนี้ จำนวน 40,000 บาท และได้ดำเนินการโครงการตามแผนการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับดีมาก และผลจากการประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2565 ให้บรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติการของวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ประจำปีการศึกษา 2565 แผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาติและท้องถิ่นให้แก่นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรของวิทยาลัยได้ดียิ่งขึ้น ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยไม่ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 (Action Plan) ของวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา เนื่องจากไม่มี OKR ทางด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอยู่ในแผนยุทธศาสตร์พัฒนาวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา พ.ศ. 2565-2569 อย่างไรก็ตาม วิทยาลัยได้ได้ตระหนักถึงความสำคัญถึงคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาติและท้องถิ่นให้แก่นักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรโดยได้จัดเป็นกิจกรรมอยู่ในโครงการต่างๆ ในแผนปฏิบัติการประจำปี เช่น โครงการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา โครงการพัฒนานักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2565 : RSU COTHS Jamburee 2022 โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เชิดชูเกียรติยศของอาจารย์ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยฝ่ายกิจการนักศึกษาเป็นผู้จัดโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมดังกล่าว วิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ได้นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะการดำเนินงานตามโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในปีการศึกษา 2565 เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย ครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ซึ่งมีความเห็นและข้อเสนอแนะการจัดทำโครงการในปีการศึกษา 2566 ดังนี้ 1. ควรจัดเป็นโครงการต่อเนื่องประจำทุกปี 2. ควรบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้มากขึ้นด้วย 3. ควรบูรณาการกับการวิจัย/การจัดทำผลงานทางวิชาการของอาจารย์ควบคู่ไปด้วยกัน 4. ควรดำเนินการจัดการความรู้ (Knowledge management) เพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) สำหรับการดำเนินงานต่อไป 5. ควรนำความรู้ที่จากการดำเนินงานมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน คณะกรรมการดำเนินโครงการได้นำผลการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ในปี 2566 โดยได้จัดทำโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย และมอบหมายหน้าที่ให้รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และผู้อำนวยการหลักสูตรเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการโครงการและการจัดกิจกรรม โครงการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา โครงการพัฒนานักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2565 : RSU COTHS Jamburee 2022 โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เชิดชูเกียรติยศของอาจารย์ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อธิการวิทยาลัย ฝ่ายกิจการนักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยไม่มีการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2565 (Action Plan) ของวิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา วิทยาลัยควรสนับสนุนส่งเสริมให้นักศึกษาและอาจารย์ได้ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยให้ติดตามกระแสนิยมจากต่างชาติควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้มีความทันสมัย ทันโลก โดยระมัดระวังมิให้หลงลืมเอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย ดังนั้น วิทยาลัยจึงควรมีการรณรงค์และดำเนินกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างต่อเนื่อง และปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมให้น่าสนใจและมีความเป็นสากล รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั้งทางสื่อออนไลน์และออฟไลน์ให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมไทยมากยิ่งขึ้น วิทยาลัยการท่องเที่ยว การบริการ และกีฬา ได้นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะการดำเนินงานตามโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในปีการศึกษา 2565 เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย ครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ซึ่งมีความเห็นและข้อเสนอแนะการจัดทำโครงการในปีการศึกษา 2566 ดังนี้ 1. ควรจัดเป็นโครงการต่อเนื่องประจำทุกปี 2. ควรบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้มากขึ้นด้วย 3. ควรบูรณาการกับการวิจัย/การจัดทำผลงานทางวิชาการของอาจารย์ควบคู่ไปด้วยกัน 4. ควรดำเนินการจัดการความรู้ (Knowledge management) เพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) สำหรับการดำเนินงานต่อไป 5. ควรนำความรู้ที่จากการดำเนินงานมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน คณะกรรมการดำเนินโครงการได้นำผลการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ในปี 2566 โดยได้จัดทำโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย และมอบหมายหน้าที่ให้รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และผู้อำนวยการหลักสูตรเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการโครงการและการจัดกิจกรรม คณบดี และฝ่ายกิจการนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะมีกระบวนการในการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคณะ กลยุทธ์การเงินและแผนปฏิบัติการ ที่ครบถ้วนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย วิทยาลัยวางระบบ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ตามรูปแบบของมหาวิทยาลัย รวมถึงแผนการจัดการบริหารงบประมาณและจำทำแผนปฏิบัติการ ขับเคลื่อนตามแต่ละหลักสูตรภายใต้วิทยาลัย เน้นย้ำความสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย 1.โครงการส่งเสริมกิจกรรมของนักศึกษา โครงการ “ค่ายผู้นำสร้างเสริมประสบการณ์ กับสโมสรนักศึกษา วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ ประจำปี 2566 (COTH Smart Leaders 2023) โครงการ “ส่งเสริมทูตวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา 2566” (COTH Ambassador 2023) โครงการพัฒนานักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2566 : RSU COTH Jamboree 2023 โครงการค่ายจิตอาสาพัฒนาชุมชน ประจำปีการศึกษา 2566 โครงการความสุขและการรับรู้คุณค่าของตัวเองเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตของนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 2.โครงการการขับเคลื่อนตามหลักสูตร COTH & RSU Strategy Implementation For CAT/ATM/HOS/ITS/TRM คณบดี และรองคณบดีทั้ง 3 ฝ่าย
2) คณะมีการดำเนินงานครบถ้วนในแผนบริหารความเสี่ยง และแผนพัฒนาบุคลากร วิทยาลัยมีการจำทำแผนการลบริหารความเสี่ยง ตามแผนการพัฒนาบุคคลากร IDP นำผลความเสี่ยงต่างๆมาวิเคราะห์ และจัดทำลำดับความเสี่ยง ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย กิจกรรม วิเคราะหฺ์ IDP ของแต่ละหลักสูตร นำผลมาสู่การจัดการบริหารความเสี่ยงของวิทยาลัย รองคณบดีฝ่ายบริหารและผู้อำนวยการหลักสูตร
3) คณะมีนโยบายและดำเนินการตามนโยบายในการส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรที่เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ขับเคลื่อนแนวทางความร่วมมือ กับองค์กรการศึกษา ผ่าน P2A และการลงนามความร่วมมือ ในด้านวิชาการ การวิจัย และเรียนรู้จากสถานประกอบการและการฝึกงานของนักศึกษา จัดทำแผนนโยบายความร่วมมือที่เป็นได้จริงๆ กับสถาบันทางการศึกษาต่างประเทศ การส่งเสริม ความร่วมมือ ของจากหลักสูตรในด้านต่างๆ กับสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศ ต่างประเทศ และสถานประกอบการวิชาชีพ รองคณบดีฝ่ายบริหาร
4) คณะมีกระบวนการที่ครบถ้วนในการดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษา ดำเนินการตามแผนประกันคุณภาพ ตามนโยบายมหาวิทยาลัย จัดตั้งทีมงานและการการจัดทำ time line ในการจัดการด้านประกันคุณภาพในแต่ละปีการศึกษา โครงการอบรม การประกันคุณภาพ ของมหาวิทยาลัย คณบดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และวิจัย รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะควรมีการนำผลการดำเนินการที่ยังไม่บรรลุเป้าหมายและมีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง มาพิจารณาในการจัดทำแนวทางและแผนงานในการบรรลุเป้าหมายและลดความเสี่ยง ได้แก่ การขอตำแหน่งวิชาการของคณาจารย์ การเพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของบุคลาการและนักศึกษา เป็นต้น วิเคราะห์ การดำเนินงานที่ยังไม่บรรลุผลสำเร็จ มาจัดทำ พร้อมกับวิเคราะห์ ผลการบริหารความเสี่ยง จัดทำแผนการแก้ไข วางแผนระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ในการดำเนินการ 1.ด้านการขอตำแหน่งทางวิชาการ วิเคราะห์และจัดทำแผนการพัฒนารายบุคคล นำสรุปต่อวิทยาลัย 2.การเพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของบุคลาการและนักศึกษา -ด้านบุคคลการ ส่งเสริม และให้ทางบุคคลากรของวิทยาลัยทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน เข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษ โดยมีการกำหนดจำนวนการเข้าร่วม 4 ครั้งต่อปีหรือ 2ครั้งต่อภาคการศึกษาเป็นอย่างน้อย กำหนดตัวชี้วัดคือผลสอบวัดผลสัมฤิทธ์ทางภาษาอังกฤษ - นักศึกษา ได้กำหนดให้ทุกหลักสูตร เข้าร่วมโครงการตามแผน Internationalization นโยบายของมหาวิทยาลัย ให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการ Peer Mentor Intercultural Challenges Facing the Hospitality Industry ภาคการศึกษาที่ 2/2566 รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย