การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) 1. ควรมีการติดตามและรายงานประเมินผลการจัดบริการแก่นักศึกษาและศิษบ์เก่าตามโครงการ/กิจกรรม 1. มีการจัดบริการแก่นักศึกษาและศิษย์เก่าด้านต่าง ๆ การบริการนักศึกษามีทั้งด้านวิชาการและด้านการใช้ชีวิต ควรติดตามและรายงานการประเมินผลให้ครบทุกกิจกรรม และควรเพิ่มการประเมินผลความสำเร็จของโครงการ/กิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรมนั้น ๆ ให้ชัดเจนขึ้น หรืออาจพัฒนาเครื่องมือที่ใช้วัดประเมินผลการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาแต่ละด้านในภาพรวม และติดตามต่อเนื่อง 1.โครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและทักษะภาษาอังกฤษ (รหัสโครงการ 670845) 2. โครงการแข่งขันตอบปัญหาสมุนไพรในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (รหัสโครงการ 670853) 3. โครงการค่ายสมุนไพรไฮบริด (รหัสโครงการ 670820) 4. โครงการกพัฒนาทักษะและวิชาชีพทางการแพทย์แผนตะวันออก (รหัสโครงการ 670849) 5. โครงการอนุรักษ์สมุนไพรในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (โครงการพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา) (รหัสโครงการ 670834) 6. ฝึกปฎิบัติทักษะเวชกรรมไทย 1-4 (รหัสโครงการ 670826) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ (โครงหารพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและทักษะภาษาอังกฤษ) ดร.นันทพงศ์ ขำทอง (โครงการแข่งขันตอบปัญหาสมุนไพรในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) อ.สมพร ผลกระโทก (โครงการอนุรักษ์สมุนไพรในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์) รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา (โครงการค่ายสมุนไพรไฮบริด) พจ.กิตติพันธุ์ ศรีเทพ/ พจ.พรพรรณ ทรัพทย์เอี่ยม (โครงการกพัฒนาทักษะและวิชาชีพทางการแพทย์แผนตะวันออก) ฝึกปฎิบัติทักษะเวชกรรมไทย 1-4 (ดร.ปิยะพงษ์ ชูชนะ)
2) - - ไม่มี -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) 1. สัดส่วนอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการมีไม่มาก ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ร้อยละ 60 ควรมีแผนการพัฒนาอาจารย์สู่ตำแหน่งทางวิชาการ มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนา และติดตามกำกับให้เป็นไปตามเป้าหมาย ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยฯและคณะกรรมการวิชาการวิทยาลัยฯ ให้มีการติดตามแผนพัฒนาการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการสำหรับบุคลากร ตำแหน่ง อาจารย์ประจำ จัดทำแบบสำรวจในรูปแบบ google form การวางแผนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการในต้นการศึกษา และสิ้นสุดการศึกษา รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) 2. มีจำนวนอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอกเกือบเป็นไปตามเกณฑ์เป้าหมาย อาจารย์ที่กำลังศึกษาต่อ ป.เอก 1 คน เมื่อสำเร็จ ทางวิทยาลัยจะมีจำนวนอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอกเป็นไปตามเกณฑ์เป้าหมาย ควรมีแผนพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณวุฒิปริญญาเอกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยฯและคณะกรรมการวิชาการวิทยาลัยฯ ให้มีการติดตามแผนพัฒนาการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการสำหรับบุคลากร ตำแหน่ง อาจารย์ประจำ และส่งเสริมให้อาจารย์ที่ยังไม่สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกลาศึกษาต่อได้ตามการพิจารณาการบริหารภาระงานในหลักสูตร กำหนดคุณสมบัติเกณฑ์รับอาจารย์ใหม่ที่สำเร็จการศึกษาวุฒิการศึกษาปริญญาเอก ทดแทนอาจารย์ที่ลาออก ในปีการศึกษา 2567 รับอาจารย์ใหม่หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต วุฒิการศึกษา ปร.ด. จำนวน 1 อัตรา และอาจารย์ใหม่หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต 2 อัตรา และอยู่ในระหว่างการวางแผนการมอบทุนการศึกษาให้นักศึกษาศิษย์เก่าเรียนในระดับปริญญาโท วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก โดยศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาในระดับมหาบัณฑิตต้องใช้ทุนในการสอนชดเชยตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อเตรียมความพร้อมในระหว่างที่อาจารย์ประจำลาศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก รองคณบดีฝ่ายบริหารและหัวหน้าหลักสูตร (รับผิดชอบด้านการรับบุคลากรใหม่)
3) - - - -
4) - - - -
5) - - - -

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) 1. ควรเพิ่มความร่วมมือในการทำวิจัยที่ของผู้ร่วมวิจัยทั้งภายในและภายนอกสถาบัน วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออกส่งเสริมให้บุคลากรมีความร่วมมือกับบุคลากรที่มีความสามารถหลากหลายศาสตร์ทั้งในและนอกวิทยาลัย รวมถึงนอกมหาวิทยาลัยเพื่อให้นักวิจัยมีการแลกเปลี่ยนความรู้ในสาขาเฉพาะด้านที่ตนถนัด และออกแบบงานวิจัยให้ตรงกับสายงาน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการออกแบบงานวิจัยตามความชำนาญที่ตนเองถนัดและตามอุปกรณ์เครื่องมือที่สามารถปฏิบัติงานวิจัยได้จริงในวิทยาลัย หรือควรหาความร่วมมือกับนักวิจัยภายนอก ที่สามารถเอื้ออำนวยความสะดวกด้านสารเคมี อุปกรณ์การวิจัย รวมถึงทุนวิจัยร่วมกัน หรือสำรวจสถานที่ทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยที่สามารถขอความอนุเคราะห์การใช้สถานที่สำหรับทำวิจัย การออกแบบงานวิจัยที่สามารถส่งตัวอย่างในการทดสอบจากภายนอก อีกทั้งจะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาอนุมัติทุนวิจัย รวมถึงการต่อยอดการขอตำแหน่งทางวิชาการในสาขาที่ถนัดหรือสาขาที่เกี่ยวข้องในอนาคตได้ วิทยาลัยมีกิจกรรมส่งเสริมให้งบประมาณในการศึกษาวิจัยเบื้องต้นสำหรับบุคลากรภายใน โครงการละ 10,000 บาท ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องที่ยังดำเนินการอยู่ มีการวางแผนจัดตั้งศูนย์พัฒนาด้านนวัตกรรมสมุนไพร/งานวิจัย นอกจากนี้วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก สนับสนุนให้นักวิจัยน้องใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ หรือยังไม่มีทุนวิจัยสามารถศึกษาหรือขอความร่วมมือกับนักวิจัย/อาจารย์รุ่นพี่ เป็นนักวิจัยพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาโครงงานวิจัย เพื่อเรียนรู้ทักษะ และการวางแผนงานวิจัยเพื่อเขียนโครงร่างงานวิจัยในอนาคตได้ คณะกรรมการวิจัยพัฒนางานวิจัย (คำสั่งที่ 009/2567 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนางานวิจัย ณ วันที่ 20 ก.พ. 2567) ผศ.ดร.สกันท์ วารินหอมหวล (ศูนย์พัฒนาด้านนวัตกรรมสมุนไพร/งานวิจัย)
2) 2. ควรพัฒนาห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก วช. และมีสหคลินิกการแพทย์แผนตะวันออก ที่สามารถรองรับการวิจัยได้ ควรมีการวางแผนการปรับปรุงห้องปฏิบัติการให้ทันสมัยมีความปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐานจาก วช. มีการมอบหมายงานและการวางแผนจัดตั้งศูนย์พัฒนาด้านนวัตกรรมสมุนไพรและการบริหารจัดการเครื่องมือ spray dry ผศ.ดร.สกันท์ วารินหอมหวล (ศูนย์พัฒนาด้านนวัตกรรมสมุนไพร/งานวิจัย)

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) 1. อาจารย์ขอทุนสนับสนุนวิจัยในภาพรวมของวิทยาลัยน้อย ควรส่งเสริมให้อาจารย์ทำวิจัยและขอทุนสนับสนุนการขอทุนวิจัยจากภายในและนอกสถาบันให้มากขึ้น วิทยาลัยมีการสนับสนุนให้บุคลากร/นักวิจัย ทำงานกันเป็นทีม เพื่อผลักดันให้อาจารย์มีศักษยภาพด้านการวิจัยได้เต็มที่ และบุคลากร/นักวิจัยที่มีผลงานทางวิชาการ จะได้รับการพิจารณาประเมินประจำปีเป็นกรณีพิเศษ นอกนี้จากนี้วิทยาลัยอยู่ในระหว่างการวางแผนร่างโครงร่างงานวิจัย เพื่อเสนอต่อศูนย์ความเป็นเลิศด้านการแพทย์บูรณาการและสารธารณะสุข ประจำปี 2567 วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ได้แต่งตั้ง ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เป็นที่ปรึกษาและผลักดันการวิจัยทางการแพย์ของวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก หัวหน้าโครงการวิจัย/ รองคณบดีวิชาการ
2) 2. วารสารวิชาการระดับนานาชาติของอาจารย์ในวิทยาลัยมีน้อย ควรส่งเสริมให้อาจารย์ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติให้มากขึ้น วิทยาลัยประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆจากส่วนกลางของมหาวิทยาลัยรังสิต ที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ การตีพิมพ์วารสารต่างๆ ต่อบุคลากร โดยเลขานุการวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก จะแจ้งเวียนเมลล์ให้อาจารย์ประจำทุกท่านทราบ เนื่องจากการจัดอบรมต่างๆผู้เข้าร่วมการอบรม จะทราบแนวทางในการเขียนงานวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมถึงการใช้ AI เป็นเครื่องมือช่วยในการเขียนงานวิจัยภาษาอังกฤษให้ถูกวิธี เป็นต้น ส่งเสริมให้บุคลากรเข้าอบรม การเพิ่ม citation หรือ h-index ของนักวิจัย (จัดโดย ฝ่ายสำนักงานพัฒนาบุคคล มหาวิทยาลัยรังสิต) การใช้โปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ Turnitin (จัดโดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต) เป็นต้น โครงการ Oriental Medicine and Science Conference (รหัสโครงการ 670858) - (เนื่องจากได้ประชาสัมพันธ์ผ่าน official mail แล้ว) - รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
3)
4)

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรมีกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการ ทั้งแบบให้บริการเปล่าและมีรายได้เข้าวิทยาลัย 1. มีกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการแก่สังคมที่หลากหลาย โดยใช้องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนตะวันออกที่ครบถ้วน วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออกวางแผนการจัดหลักสูตรระยะสั้น ได้แก่ 1. หลักสูตรการนวดไทย 150 ชั่วโมง/ การนวดไทย 330 ชั่วโมง 2. หลักสูตรนวดไทยเพื่อการรักษา 3. หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ การแพทย์แผนตะวันออก และ ดำเนินการเปิดอบรมหลักสูตรเพื่อสุขภาพ 100 ชั่วโมง ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง โดยโครงการที่ 1-3 อยู่ในระหว่างการวางแผนงาน (วาระการประชุมคณะกรรมการประจำ/คณะกรรมการวิชาการวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ครั้งที่ 6/2567 วันศุกร์ ที่ 30 สิงหาคม 2567) พท.ปิยะพงษ์ ชูชนะ (หลักสูตรการนวดไทย 150 ชั่วโมง/ การนวดไทย 330 ชั่วโมง) พท.ป.แวสะมิง แวหมะ (หลักสูตรนวดไทยเพื่อการรักษา) ผศ.ศ.คลินิก.พจ.นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล (หลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ การแพทย์แผนตะวันออก) ผศ.ดร.ยุพา เต็งวัฒนโชติ (อบรมหลักสูตร ผู้ดำเนินการสปาเพื่อสุขภาพ 100 ชั่วโมง)
2) งานวิจัยเกี่ยวกับการบริการวิชาการมีน้อย วางแผนเชื่อมโยงการบริการวิชาการให้เข้ากับงานวิจัยเชิงสำรวจหรือเก็บข้อมูลด้านสุขภาพ โครงการ จิตอาสาออกหน่วยตรวจสุขภาพชุมชน (หลักหก) (รหัสโครงการ 670841) พท.สัณหจุฑา พวงมาลา
3) - - - -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - - - -
2) - - - -

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สื่อออนไลน์ด้านประชาสัมพันธ์ติดอันดับ ในระดับแนวหน้าของประเทศ วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ได้มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมต่างๆ ในสื่อหลายรูปแบบต่างๆ เช่น เว็บไซต์ และเฟสบุ๊คของวิทยาลัยฯ และ ของ กิจการนักศึกษา เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาของวิทยาลัยฯ ทั้งหมด ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารในด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเป็นประจำทุกปีของวิทยาลัย โครงการไหว้ครูการแพทย์แผนตะวันออก (รหัสโครงการ 670863) โครงการพัฒนาคุณภาพและเสริมสร้างอัตตลักษณ์นักศึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก (รหัสโครงการ 670850) นอกจากนี้ยังประชาสัมพันธ์ความสำเร็จของบุคลากรทางด้านการสอนและการวิจัยทั้งของนักศึกษาและอาจารย์ รวมถึงศิษย์เก่า และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับให้ข้อมูลด้านสุขภาพอัพเดตที่ทันสมัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ผศ.ยุพา เต็งวัฒนโชติ นายสิรธีร์ ลิมปนดุษฎี

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - - - -

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) บุคลากรในวิทยาลัย มี work load ค่อนข้างเยอะ ทำให้ไม่มีความสุขในการทำงานและการใช้ชีวิต ดำเนินการจัดทำโครงการสามสุข (สุขกาย สุขใจ สุขภาพ) อย่างต่อเนื่องสำหรับบุคลากร เพื่อให้มีกิจกรรมร่วมกัน โดยปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้แตกต่างกับปีก่อนหน้า (อบรมด้านสุขภาพจิต การทำงานให้มีความสุข) สลับกันไป ให้เกิดความหลากหลายของกิจกรรมในทุกๆปี โดยปีนี้โครงการสามสุข (สุขกาย สุขใจ สุขภาพ) รหัสโครงการ 670837 การจัดกิจกรรมจะเน้นการออกกำลังกายโยคะ ด้วยการฝึกสมาธิ การกำหนดลมหายใจ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ผ่อนคลายด้านจิตใจด้วยเสียงดนตรีบำบัด บุคลากรสามารถออกกำลังกายได้เองทุกที่ ทุกเพศ ทุกวัย และสำคัญที่สุดคือให้หลับพักผ่อนได้ง่ายขึ้น โครงการสามสุข (สุขกาย สุขใจ สุขภาพ) (รหัสโครงการ 670837) มีการจัดหาอาจารย์พิเศษในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ด้านเภสัชกรรมไทย และเวชกรรมไทย เพื่อลด work load ในกลุ่มอาจารย์ บุคลากร ที่ปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาทำการ (เสาร์-อาทิตย์) ได้มีเวลาพักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์มากขึ้น รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) พัฒนาการทำงาน การเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การบริหารการจัดการองค์กรภายในให้เข้มแข็ง โดยให้อาจารย์ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข มีความสามัคคี โดยมีการประเมินการทำงานร่วมกันภายในหลักสูตรเพื่อเป็นกระจกสะท้อนตนเองในการปฏิบัติงานในมุมมองของเพื่อนร่วมงาน และการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุงในการวางแผนพัฒนาในการทำงานในองค์กรร่วมกัน จัดทำแบบสำรวจการประเมินการทำงานร่วมกันในแต่ละหลักสูตร เพื่อทำแผนพัฒนาปรับปรุงงานในหลากหลายด้านให้ดำเนินการด้วยความเรียบร้อย โดยมุ่งเน้นความเป็นเลิศทางการวิจัย และการตรวจวินิจฉัยการรักษาโรค ให้เป็นองค์กรของวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออกที่เข้มแข็ง รองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) - - - -
3) - - - -
4) - - - -