การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยการออกแบบ

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีการบูรณาการการเรียนการสอนกับกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนานักศึกษาให้ตรงตามความต้องการของสังคมได้ดี 1. วิทยาลัยการออกแบบมีหลักสูตรที่มีความหลากหลายและมีความทันสมัยสามารถเชื่อมโยง และการบูรณาการข้ามศาสตร์ระหว่างสาขาวิชา คณะ 2. จากการเปิดรับนักศึกษานานาชาติส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมนำไปสู่การขับเคลื่อนและช่วยกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจมุมมองที่หลากหลายยอมรับและสามารถพัฒนาก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกยุคใหม่ได้ 3. วิทยาลัยการออกแบบมีอาจารย์ที่มี connection ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ ทำให้สามารถพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ 1.โครงการ Art and Design Diversity Showcase 2โครงการประกวดออกแบบภาพวาดผนัง Mural Painting Design 2023 3.Line Form & Color Workshop 4.So Real ทดลองเรียน สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ 5.โครงการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานนักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ 6.โครงการส่งเสริมเเละพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมต้นเเบบ 7.โครงการส่งเสริมและพัฒนาด้านการประกวดแบบในระดับสากล 8.โครงการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานนักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบภายใน 9.โครงการความร่วมมือเพื่อการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ กับผู้ประกอบการและนักวิชาชีพออกแบบภายใน 10.โครงการนิทรรศการศิลปะสื่อผสมผสาน Visual Symbiosis 11.โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการโดยวิทยากรต่างประเทศด้านการออกแบบสิ่งทอ(textile design) 12.โครงการความร่วมมือภายนอกสถาบันเพื่อพัฒนาศักยภาพอาจารย์และนักศึกษา 13.สัมมนาเชิงปฏิบัติการดำเนินการโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ ( Creative Talk + Seminar Series) 14.โครงการเผยแพร่กิจกรรม ผลงานการเรียนการสอน Open House หลักสูตรมหาบัณฑิต (กิจกรรมกระตุ้นและต่อยอดด้านการเผยแพร่นวัตกรรมการคิดเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียน) คณบดี รองคณบดี หัวหน้าสาขาวิชาฯและอาจารย์ในวิทยาลัยการออกแบบ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) พัฒนาอาจารย์ทุกหลักสูตรให้มีคุณวุฒิการศึกษาปริญญาเอกเพิ่มขึ้น ในปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยการออกแบบ ได้รับอาจารย์ใหม่ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก เพิ่มจำนวน 1 ท่าน และวิทยาลัยฯส่งเสริมพัฒนาให้อาจารย์ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกมากขึ้น - สนับสนุนหากอาจารย์จะศึกษาต่อในสาขาวิชาฯที่เกี่ยวข้อง หัวหน้าสาขาวิชาฯ
2) พัฒนาอาจารย์หลักสูตรเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ เพิ่มขึ้น การพัฒนาบุคลากรด้านการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ โดยวิทยาลัยฯส่งเสริมให้อาจารย์ขอทุนวิจัยทั้งภายใน-ภายนอกมากขึ้น มีการแชร์ข้อมูลในกลุ่ม line ของวิทยาลัยฯเกี่ยวกับวารสารแหล่งตีพิมพ์เพื่อประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ทราบ และทุกปีสภาคณบดีศิลปะและการออกแบบแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพร่วมจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ Symposium Work in Progress ซึ่งปีการศึกษา 2566 เพิ่มสมาคมวิชาชีพเป็นเจ้าภาพร่วมจัดอีก 2 สมาคมคือสมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย (ThaiGa) และ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งวิทยาลัยฯสนับสนุนให้อาจารย์ทุกท่านนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ เพื่อเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์มากยิ่งขึ้น -การพัฒนาบุคลากรด้านการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ : โครงการแสดงผลงานนานาชาติ Symposium Work in Progress รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณาจารย์ร่วมกันผลิตและเผยแพร่ผลงานวิชาการและงานสร้างสรรค์ โดยเฉพาะในระดับนานาชาติจำนวนมาก มีถึง 22 ผลงาน วิทยาลัยการออกแบบจะส่งเสริมให้คณาจารย์ร่วมผลิต/เผยแพร่งานสร้างสรรค์ และผลงานวิชาการให้มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 20 % ของจำนวนอาจารย์ทั้งหมด เพื่อรักษาคะแนนนระดับ 5 อย่างต่อเนื่อง งานประชุมวิชาการนานาชาติครั้งที่ 12 รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย/หัวหน้าหลักสูตรทุกหลักสูตร
2) คณาจารย์ได้รับทุนวิจัยทั้งแบบปกติและทุนโครงการวิจัยสร้างสรรค์ทั้งจากภายนอกสถาบันรวมกันสูงกว่าค่าเป้าหมาย ส่งเสริมให้คณาจารย์ทุกหลักสูตรได้รับทุนวิจัยภายในมากขึ้น ให้คณาจารย์นำเสนอหัวข้อวิจัยสร้างสรรค์เพื่อยื่นต่อสถาบันวิจัย รองคณบดีฝายวิชาการและวิจัย/หัวหน้าหลักสูตรทุกหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ไม่มีข้อเสนอแนะจากกรรมการประเมินฯ - - -

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีแผนการบริการวิชาการที่ชัดเจนและมีโครงการบริการวิชาการที่มีความหลากหลายครอบคลุมทุกสาขาวิชา ดำเนินงานตามแผนบริการวิชาการให้ได้ตามเป้าหมาย “So Real Workshop” โครงการทดลองเรียน โครงการของออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นยกกำลังสอง ประจำปีการศึกษา 2566 โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมชิโบริด้วยสีธรรมชาติ โครงการประกวดการออกแบบเสื้อผ้า โดยบริษัทยามาฮ่า โครงการออกแบบนิเทศศิลป์เพื่อชุมชน และส่งเสริมให้คณาจารย์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิบรรยายในด้านต่างๆ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย/หัวหน้าหลักสูตรทุกหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรเพิ่มโครงการอบรมระยะสั้นเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะทางวิชาชีพแก่นักเรียนและบุคคลภายนอกเพิ่มมากขึ้น วิทยาลัยส่งเสริมให้คณาจารย์มีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกเพื่อจัดการอบรมระยะสั้นและเสริมทักษะทางวิชาชีพมากขึ้น โครงการ CREATIVE YOUNG DESIGNER SEASON 4 โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมชิโบริด้วยสีธรรมชาติด้วยชุมชน รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย/หัวหน้าหลักสูตรทุกหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีโครงการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย รวมถึงมีการบูรณาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการวิจัย การบริการวิชาการ และการเรียนการสอนในรายวิชา ส่งผลให้มีผู้ได้รับประโยชน์หลายส่วน ทั้งนักศึกษา คณาจารย์ ชุมชนและผู้ประกอบการภายนอก - วิทยาลัยการออกแบบ มีโครงการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมค่อนข้างมากและหลากหลายตามลักษณะการเรียนการสอนด้านการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมโดยตรง แต่ยังขาดในเรื่องการบริหารจัดการงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบ - งบประมาณค่อนข้างมีจำกัด บางโครงการงบประมาณไม่เพียงพอต่อการพัฒนาด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม - ควรแต่งตั้งคณะกรรมการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทำงานร่วมกับศูนย์ศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย - สร้างสรรค์และผลักดันกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้เกิดความหลากหลายและบูรณาการร่วมกันระหว่างสาขาของนักศึกษาไทยและนักศึกษานานาชาติ - โครงการพิธีไหว้ครู และครอบครูช่าง - การแสดงศิลปนิพนธ์ทุกสาขาวิชา - การแสดงศิลปะนานาชาติ Symposium - โครงการ Cultural Diversity รายวิชา RSU 149 - ฝ่ายกิจการนักศึกษา - สาขาวิชาทั้ง 5 สาขาวิชา - อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา RSU 149 วัฒนธรรมวิจักษ์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ไม่มีข้อเสนอแนะจากกรรมการประเมินฯ - - -

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีแผนการจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านการพัฒนาบุคลากรด้านการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ และพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษา การพัฒนาบุคลากรด้านการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ โดยวิทยาลัยฯส่งเสริมให้อาจารย์ขอทุนวิจัยทั้งภายใน-ภายนอกมากขึ้น มีการแชร์ข้อมูลในกลุ่ม line ของวิทยาลัยฯเกี่ยวกับวารสารแหล่งตีพิมพ์เพื่อประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์ทราบ และทุกปีสภาคณบดีศิลปะและการออกแบบแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพร่วมจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ Symposium Work in Progress ซึ่งปีการศึกษา 2566 เพิ่มสมาคมวิชาชีพเป็นเจ้าภาพร่วมจัดอีก 2 สมาคมคือสมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย (ThaiGa) และ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งวิทยาลัยฯสนับสนุนให้อาจารย์ทุกท่านนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ เพื่อเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการในระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์มากยิ่งขึ้น ส่วนเรื่องการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษา วิทยาลัยฯได้มีการจัดการเรียนการสอนโดยสอดแทรกภาษาอังกฤษเข้าไปในชั้นเรียน ให้นักศึกษานำเสนองานเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งนักศึกษาสามารถพูด อ่าน เขียน ได้ในระดับหนึ่ง -การพัฒนาบุคลากรด้านการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ : โครงการแสดงผลงานนานาชาติ Symposium Work in Progress - การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักศึกษา : โครงการอบรมติวเข้มการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษก่อนสำเร็จการสึกษาสำหรับนักศึกษา รองคณบดีฝ่ายบริหาร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ไม่มีข้อเสนอแนะจากกรรมการประเมินฯ - - -