การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยการออกแบบ

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยมีการผลิตบัณฑิตที่มีผลลัพธ์ผู้เรียนเชิงประจักษ์ ทั้งในด้านการบูรณาการ การเรียนการสอน กิจกรรม และรายวิชาที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ 6 ด้าน, ผลลัพธ์ผู้เรียน 3 ด้าน และทักษะมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ในปีการศึกษา 2568 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรปริญญาตรี 5 หลักสูตร เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ทั้ง CLO YLO และ PLO ทั้งนี้มีการปรับชื่อหลักสูตร เพื่อให้เกิดความชัดเจน ตรงกับความต้องการของผู้เรียนยิ่งขึ้น หลักสูตรปรับปรุง 2568 วิทยาลัยการออกแบบ จำนวน 5 หลักสูตร (ระดับปริญญาตรี) รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และหัวหน้าหลักสูตร
2) มีกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้วยประสบการณ์จริง ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงและมีการเผยแพร่สู่สาธารณะ ทางวิทยาลัยฯ สนับสนุน ให้นักศึกษาสมัครเข้าโครงการประกวดต่างๆ ซึ่งมีความสอดคล้องกับรายวิชานั้นๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถมีประสบการณ์จริง และมีการ เผยแพร่สู่สาธารณะ เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตร ประชาสัมพันธ์โครงการประกวดจากหน่วยงานภายนอก นำเข้าสู่ชั้นเรียน หัวหน้าหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยควรส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ปีการศึกษา 2567 ทางวิทยาลัยการออกแบบรับอาจารย์คุณวุฒิปริญญาเอก เข้าเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาโท และมีแผนส่งอาจารย์ 1 ท่าน ในหลักสูตรปริญญาตรี เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก - รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) วิทยาลัยควรส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการให้มากขึ้น 1. กำหนดให้อาจารย์เข้าไปกรอกข้อมูลการวางแผนพัฒนาตนเองด้านวิชาการที่มหาวิทยาลัยจัดทำขึ้น 2. ผลักดันให้อาจารย์เข้าอบรมการทำตำแหน่งทางวิชาการ 3. ทางวิทยาลัยฯได้ผลักดันให้อาจารย์ทุกหลักสูตร กำหนดวันสอบสอน 1.จัดอบรมการทำตำแหน่งทางวิชาการ ให้แก่คณาจารย์ 2. กำหนดวันสอบสอนให้แก่คณาจารย์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ตัวบ่งชี้ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัย คณะมีการเปรียบเทียบผลงานเผยแพร่ของอาจารย์ในปีที่ประเมินกับปีก่อนๆ หน้าซึ่งถือเป็นข้อดีของการรายงานผล ถ้าหากต้องการให้การดำเนินการในแต่ละปีแสดงวงจรการพัฒนาที่ชัดเจน ควรใช้รูปแบบ PDCA ที่มีการประเมินผล เพือนำมาสู่การปรับปรุงแผนงานในปีต่อๆ ไป (เช่นการพัฒนาฐานข้อมูลผลงานวิจัย/วิชาการ/งานสร้างสรรค์ ของคณาจารย์ เป็นตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ด้านการผลิตผลงานวิจัย) ปีการศึกษา 2567 วิทยาลัยการออกแบบได้จัดทำข้อมูล งานวิจัยสรา้งสรรค์เปรียบเทียบ 3 ปี และส่งเสริมให้อาจารย์ขอทุนวิจัยองค์ความรู้ จากมหาวิทยาลัย จำนวน 4 ทุน และทุนจากภายนอก 1 ทุน จัดอบรมการจัดทำตำแหน่งทางวิชาการ และการขอทุนวิจัย รองคณบดีฝ่ายวิชาาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ไม่มี - - -

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยการออกแบบได้ดำเนินการให้บริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง และมีความหลากหลายของโครงการ ทั้งโครงการที่ได้รับงบประมาณจากมหาวิทยาลัยรังสิต หรือโครงการที่ให้ความร่วมมือแบบให้เปล่า นำมาซึ่งประโยชน์กับนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงชุมชนพื้นที่ในโครงการที่ได้ประโยชน์ นำไปต่อยอดได้ทั้งด้านความรู้และการพัฒนาให้เกิดเป็นรายได้ต่อไป ทางวิทยาลัยการออกแบบยังคงส่งเสริมการให้บริการวิชาการอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย พร้อมทั้งยังคงให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการและร่วมพัฒนาชุมชน ให้ได้ประโยชน์ และส่งเสริมการมีรายได้ต่อไป โครงการทดลองเรียน “So Real Workshop” โครงการของออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นยกกำลังสอง โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมชิโบริด้วยสีธรรมชาติ โครงการประกวดการออกแบบเสื้อผ้า โครงการออกแบบนิเทศศิลป์เพื่อชุมชน หัวหน้าหลักสูตรทุกหลักสูตร
2) วิทยาลัยการออกแบบมีโครงการบริการวิชาการแบบให้เปล่า และมีโครงการที่ให้บริการวิชาการกับชุมชนหรือให้ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นจำนวน 2 โครงการ ที่มีแนวทางปฏิบัติที่ดีและได้รับรางวัลชมเชยด้านการจัดการความรู้ ( KM ) ประจำปีการศึกษา 2566 ของมหาวิทยาลัยรังสิต แสดงถึงคุณภาพในการบริหารจัดการโครงการบริการวิชาการ และส่งต่อความรู้ไปยังชุมชนและภายในมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี วิทยาลัยการออกแบบมีโครงการบริการวิชาการแบบให้เปล่า และมีโครงการที่ให้บริการวิชาการกับชุมชนหรือให้ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นจำนวน 2 โครงการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ผลักดันหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง หรือการฝึกอบรมระยะสั้นที่สามารถประกอบวิชาชีพได้ทันทีหลังเรียนจบเพื่อตอบโจทย์ความหลากหลายของธุรกิจในปัจจุบัน พร้อมทั้งสร้างหลักสูตรในรูปแบบการบริการวิชาการที่สร้างเสริมทักษะอาชีพในด้านนี้ให้เกิดเป็นรูปธรรม วิทยาลัยการออกแบบได้สนับสนุนให้ทุกหลักสูตรจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น และหลักสูตรบริการวิชาการ เพื่อให้นักศึกษาและบุคคลภายนอก เข้าร่วมอบรม เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาต่อยอดด้านวิชาชีพต่อไป ในปีการศึกษา 2567 วิทยาลัยการออกแบบได้มีโครงการอบรมระยะสั้นดังนี้ 1.โครงการอบรมออนไลน์ เชิงปฏิบัติการหลักสูตร Arts Market โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม . 2.โครงการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมชิโบริด้วยสีธรรมชาติเพื่อชุมชน โดยได้รับทุนสนับสนุน ระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมหาวิทยาลัยรังสิต 3.โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการกิจกรรมการทำงานแก้วด้วยเทคนิค Flame Working โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมนอกหลักสูตร รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และหัวหน้าหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยที่ชัดเจนตรงตามตัวบ่งชี้ สอดคล้องกับแผนการดำเนินงานและกระบวนการ PDCA ปัจจุบันวิทยาลัยการออกแบบมีนักศึกษาต่างชาติเพิ่มมากขึ้น การทำกิจกรรมแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาความเป็นสากลให้กับนักศึกษา และผลักดันนโยบายยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นสากล 1.โครงการพัฒนาเครือข่ายผู้นำ 2.โครงการ Dare to Love 3.โครงการสานสัมพันธ์นักศึกษานานาชาติ 4.โครงการ Halloween art & Design รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ไม่มี - -

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยฯ พัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลา และมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ นำมาปรับปรุงแผน วิทยาลัยการออกแบบ ใช้งบประมาณอย่างเหมาะสมตามที่มหาวิทยาลัยอนุมัติ ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด บริหารความเสี่ยงทางด้านการทำตำแหน่งทางวิชาการ โดยแนวทางแก้ปัญหาคือการเชิญวิทยากรมาบรรยายในหัวข้อ เทคนิคการทำเอกสารเพื่อยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ สร้างกลุ่มพี่เลี้ยงนักวิจัย และผลักดันให้อาจารย์ส่งผลงานสร้างสรรค์ระดับนานาชาติ 1.โครงการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 2.โครงการส่งเสริมทักษะและพัฒนาทักษะด้านวิชาการสำหรับอาจารย์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย หัวหน้าหลักสูตร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยควรเร่งสนับสนุนและกำกับติดตามอาจารย์ให้ยื่นขอตำแหน่งวิชาการเพิ่มมากขึ้น 1. กำหนดให้อาจารย์เข้าไปกรอกข้อมูลการวางแผนพัฒนาตนเองด้านวิชาการที่มหาวิทยาลัยจัดทำขึ้น 2. ผลักดันให้อาจารย์เข้าอบรมการทำตำแหน่งทางวิชาการ 3. ทางวิทยาลัยฯได้ผลักดันให้อาจารย์ทุกหลักสูตร กำหนดวันสอบสอน 1.จัดอบรมการทำตำแหน่งทางวิชาการ ให้แก่คณาจารย์ 2. กำหนดวันสอบสอนให้แก่คณาจารย์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย