การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยครูสุริยเทพ

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์ประจำวิทยาลัยครูสุริยเทพทุกคนมีคุณวุฒิปริญญาเอก ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2563 - - -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) กำหนดแผนรายบุคคลเพื่อให้อาจารย์มุ่งสู่ตำแหน่งวิชาการให้ครบทุกท่าน รวมถึงคณาจารย์ที่มีตำแหน่งวิชาการอยู่แล้วมุ่งพัฒนาไปสู่ตำแหน่งวิชาการที่สูงขึ้น มีการกำหนดแผนพัฒนาอาจารย์เป็นรายบุคคลเรียบร้อยแล้ว การเขียนแผนพัฒนารายบุคคล รองคณบดีฝ่ายบริหาร

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรส่งเสริมให้อาจารย์และนักศึกษาตีพิมพ์บทความวิจัยเผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติมากขึ้น แนะนำให้คณาจารย์และนักศึกษาตีพิมพ์เผยแพร่บทความในระดับนานาชาติ จัดกิจกรรมแนะนำและเผยแพร่แหล่งตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
2) ควรส่งเสริมให้อาจารย์ขอทุนสนับสนุนการวิจัยทั้งจากหน่วยงานภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยรังสิตมากขึ้น กระตุ้นให้คณาจารย์ทำงานวิจัยและขอทุนสนับสนุนวิจัย 1. แนะนำแหล่งทุนวิจัยทั้งภายในและภายนอก 2. อบรมการเขียนโครงร่างวิจัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีการดำเนินงานบริการวิชาการในพื้นที่เป้าหมายได้อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี 1. มีการบูรณาการกิจกรรมบริการวิชาการเข้ากับการเรียนการสอน 2. รักษาระดับคุณภาพของวารสารวิชาการของวิทยาลัยฯให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ 1. ทุกหลักสูตรมีการจัดโครงการ/กิจกรรมบริการวิชาการที่บูรณาการกับการเรียนการสอน 2. มีโครงการวารสารวิชาการ Rangsit Journal of Educational Studies ผู้อำนวยการหลักสูตร คณบดี/กองบรรณาธิการ RJES

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรสนับสนุนและสร้างโอกาสให้นักศึกษาในแต่ละหลักสูตรมีโอกาสได้ใช้ความรู้และงานวิจัยมาต่อยอดสู่การบริการวิชาการเพื่อช่วยเหลือสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมให้มีการบริการวิชาการแก่ชุมชนจากองค์ความรู้ของแต่ละหลักสูตร โครงการ Volunteer Teaching จากหลักสูตรการศึกษาระบบสองภาษา
2) การประเมินผลการดำเนินงาน ควรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนบริการวิชาการรวมทั้งนำเสนอผลลัพธ์ที่เกิดจากการบริการวิชาการให้ชัดเจน และควรมีการจัดทำแผนพัฒนาปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เข้ารับบริการโครงการต่าง ๆ 1. มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนบริการวิชาการรวมทั้งนำเสนอผลลัพธ์ที่เกิดจากการบริการวิชาการให้ชัดเจน 2. มีการจัดทำแผนพัฒนาปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เข้ารับบริการโครงการต่าง ๆ - 1. รองคณบดีฝ่ายวิชาการ 2. ผู้อำนวยการหลักสูตร
3) ควรขยายมิติของการบริการวิชาการในลักษณะต่าง ๆ อาทิ (1) การเลือกประเด็นบริการวิชาการใหม่ ๆ ที่สามารถดึงจุดแข็งที่มีเพื่อช่วยเหลือสังคมตามความถนัดของแต่ละหลักสูตร (2) การขยายกลุ่มเป้าหมาย (3) การเชื่อมโยงกับเครือข่ายองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน (4) การเปิดช่องทาง/วิธีการใหม่ ๆ การเสนอขอรับการสนับสนุนโครงการบริการวิชาการจากองค์กรต่างๆ เช่น สป.อว., สสส. เป็นต้น โครงการขอทุนสนับสนุนการบริการวิชาการจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานและองค์กรภายนอก
4) เพิ่มการสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อนำมาจัดทำแผนบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน มีการสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย ก่อนที่จะนำมาจัดทำแผนบริการวิชาการ กิจกรรมการสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน/กลุ่มเป้าหมาย ก่อนที่จะนำมาจัดทำแผนบริการวิชาการ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) เปิดโอกาสให้นักศึกษาชาวไทยและต่างชาติได้ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างเต็มที่ - - -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรวางแผนและจัดทำโครงการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้สามารถบูรณาการเข้ากับพันธกิจอื่น ๆ ของวิทยาลัย โดยเฉพาะด้านการผลิตบัณฑิตและการวิจัย สร้างให้ผู้เรียนมี "วัฒนธรรมวิจัย" โดยมุ่งหาคำตอบผ่านกระบวนวิจัยอย่างมีจริยธรรม เป็นกิจกรรมที่อยู่ในกระบวนการเรียนการสอน ผู้อำนวยการหลักสูตร/คณาจารย์ทุกท่าน
2) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลายสอดคล้องกับความสนใจของคนรุ่นใหม่ ผสานกับศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลายสอดคล้องกับความสนใจของคนรุ่นใหม่ ผสานกับศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจของคนรุ่นใหม่ ผสานกับศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ รองคณบดีฝ่ายบริหาร ผู้อำนวยการหลักสูตร
3) เพิ่มการประเมินผลการดำเนินงานโครงการที่ท้าทายมากขึ้น โดยเน้นการประเมินความสำเร็จที่เป็นผลลัพธ์ที่เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ คุณลักษณะบัณฑิตและภารกิจของวิทยาลัย เน้นการประเมินผลการดำเนินงานโครงการที่วัดความสำเร็จที่เป็นผลลัพธ์ที่เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ คุณลักษณะบัณฑิตและภารกิจของวิทยาลัย การประเมินความสำเร็จของโครงการ/กิจกรรมที่เป็นผลลัพธ์ที่เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ คุณลักษณะบัณฑิตและภารกิจของวิทยาลัย รองคณบดีฝ่ายบริหาร ผู้อำนวยการหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยครูสุริยเทพสามารถบริหารจัดการหลักสูตรได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล กล่าวคือ คณาจารย์และนักศึกษามีผลงานตีพิมพ์ในวารสารทั้งในฐานสากลและฐาน TCI รวม 69 ฉบับ (ปีการศึกษา 2564 มี 35 ฉบับ) มีผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการเท่ากับ 44.0 คิดเป็นร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการที่ร้อยละ 347.69 ความพึงพอใจของผู้ใช้มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ฯ ในภาพรวมของวิทยาลัยครูสุริยเทพมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.72 หรือมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 1. เน้นให้คณาจารย์และนักศึกษาพัฒนาศักยภาพในการเผยแพร่ผลงานในระดับสากล 2. รักษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ฯ ให้อยู่ในระดับมากที่สุด 1. การส่งเสริมพัฒนาความรู้ด้านการเลือกแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการให้คณาจารยืและนักศึกษา 2. การส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านการเขียนผลงานวิชาการให้คณาจารย์และนักศึกษา 3. การติดตามบัณฑิต และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ใช้บัณฑิต คณบดี รองคณบดีทั้งสองฝ่าย ผู้อำนวยการหลักสูตร
2) วิทยาลัยครูสุริยเทพมีทุนวิจัยภายในและภายนอกรวมกันต่ออาจารย์ประจำเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเป็น 30,155.38 บาทต่อคนต่อปี (ปีการศึกษา 2564 อยู่ที่ 4,098.46 บาทต่อคนต่อปี) หากเป็นไปได้ควรถ่ายทอดแนวปฏิบัติในการเพิ่มทุนวิจัยภายในและภายนอกดังกล่าว มีการจัดพื้นที่และเวลาเพื่อให้ผู้ได้รับทุนได้มีโอกาสถ่ายทอดประสบการณ์ในการขอทุนวิจัย (ทั้งภายในและภายนอก) กิจกรรม PLC แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณาจารย์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายบริหาร
3) วิทยาลัยครูสุริยเทพมีแผนพัฒนาผลงานวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเป็นรายบุคคลที่ชัดเจน ส่งผลให้ในปีการศึกษา 2565 มีอาจารย์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น 1 คน คือ ผศ.ดร.นิภาพร สกุลวงศ์ วิทยาลัยฯมุ่งพัฒนาให้คณาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง การอบรมการเขียนผลงานวิชาการ การให้ความรู้เพื่อการเตรียมเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ คณบดี/รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
4) วิทยาลัยครูสุริยเทพ มีการจัดการความรู้จากแนวปฏบัติที่ประสบความสำเร็จ โดยวิทยาลัยได้ส่งโครงการ KM รวม 5 เรื่อง และได้รับรางวัลแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) จำนวน 3 เรื่อง คือ - รางวัลดีเด่น ผลงานเรื่อง “สมรรถนะทางการสอน: จากมุมมองรายวิชา Teaching Practicum in Bilingual Schools”ของ รองศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ชิโนกุล - รางวัลชมเชย ผลงานเรื่อง “อาจารย์มืออาชีพในระดับบัณฑิตศึกษา” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลภา เฉลิมวงศาเวช ผลงานเรื่อง “การเป็นอาจารย์ผู้สอนทางการบริหารการศึกษา”ของ ดร.ชัชชญา พีระธรณิศร์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์เพื่อบันทึกและถ่ายทอดแนวปฏิบัติที่ดี การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรในวิทยาลัย รองคณบดีฝ่ายบริหาร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ในการรายงานผลการดำเนินงานตามหลักธรรมาธิบาล ควรกำหนดภาระความรับผิดชอบของผู้บริหารวิทยาลัยในแต่ละตำแหน่งให้ครบถ้วน และควรมีการรายงานผลการประเมินผู้บริหารวิทยาลัยในตำแหน่งต่างๆ  ควรมีการแสดงหลักฐานรายงานการประชุมของกรรมการบริหารวิทยาลัยอย่างสม่ำเสมอ 1. มีการจัดทำภาระความรับผิดชอบของผู้บริหารวิทยาลัยฯ ให้ครบทุกตำแหน่ง 2. จัดทำรายงานการประชุมให้สม่ำเสมอ 1. การจัดทำภาระความรับผิดชอบของผู้บริหารวิทยาลัยฯ ให้ครบทุกตำแหน่ง 2. จัดทำรายงานการประชุมให้สม่ำเสมอ คณบดี รองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) แผนปฏิบัติการประจำปี (Action Plan) วิทยาลัยครูสุริยเทพ ปีการศึกษา 2565 น้ั้น ควรระบุหมายเลข OKR ของแต่ละกิจกรรม/โครงการให้ชัดเจน (ในแผนฯ ระบุแต่เพียงชื่อยุทธศาสตร์เท่านั้น) ปีการศึกษา 2566 ได้ปรับใช้ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยฉบับใหม่แล้ว - คณบดี รองคณบดี ผู้อำนวยการหลักสูตร