การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยดนตรี

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณาจารย์มีผลงานวิจัยและงานแสดงในระดับนานาชาติ เป็นจำนวนมาก เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการด้านดนตรี เป็นที่ยอมรับโดยโดดเด่น ใช้แนวทางปฏิบัติเดิม ใช้แนวทางปฏิบัติเดิม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย
2) คณาจารย์ได้รับตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น จากการวางแผนพัฒนาคณาจารย์และดำเนินการตามแผนได้ดี ใช้แนวทางปฏิบัติเดิม ใช้แนวทางปฏิบัติเดิม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย
3) มีโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาเป็นจำนวนมาก จัดทำโครงการที่ส่งเสริมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งให้เกิดประโยชน์ครอบคลุมนักศึกษาทุกกลุ่มวิชา ทุกโครงการที่จัดขึ้นในปีการศึกษา 2566 รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและสื่อสารองค์กร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่ควรผลักดันให้มากขึ้น โดยการติดตามและให้คำแนะนำที่ใกล้ชิด 1. กำหนดให้อาจารย์ที่ปรึกษา สำรวจแผนการเรียนรวมของนักศึกษาในที่ปรึกษาทุกคน 2. อาจารย์ที่ปรึกษา เรียกให้นักศึกษาที่ประสบปัญหาเข้าพบ เพื่อพูดคุยและหาสาเหตุข้อปัญหาพร้อมทั้งแก้ไขเบื้องต้น 3. อาจารย์ที่ปรึกษา รายงานปัญหาให้กับผู้บริหารวิทยาลัยทราบเป็นรายบุคคล เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาต่อไป นำประเด็นปัญหาทั้งหมดเข้าหารือ ในวาระการประชุมใหญ่ของวิทยาลัยดนตรีที่มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อรับฟังข้อเสนอจากอาจารย์ทุกคน และร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยฯ มีแผนด้านงานวิชาการและวิจัย มีระบบการส่งเสริมเพื่อพัฒนางานวิจัยและงานสร้างสรรค์ตามความถนัดของอาจารย์ สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่สร้างชื่อเสียงมาสู่มหาวิทยาลัยรังสิตได้อย่างต่อเนื่อง ใช้แนวทางปฏิบัติเดิม ใช้แนวทางปฏิบัติเดิม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย
2) วิทยาลัยฯ มีระบบและกลไกในการสนับสนุนและส่งเสริมในการขอทุนสนับสนุนจากภายนอกสถาบัน ที่มีจำนวนมาก และมีหน่วยงานที่หลากหลายในการดำเนินงานวิจัยในระดับชาติ ใช้แนวทางปฏิบัติเดิม ใช้แนวทางปฏิบัติเดิม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย
3) วิทยาลัยฯ มีการสนับสนุนและส่งเสริมในการเผยแพร่ผลงานวิจัยจากการตีพิมพ์วารสารระดับชาติ และงานสร้างสรรค์ในระดับนานาชาติ ใช้แนวทางปฏิบัติเดิม ใช้แนวทางปฏิบัติเดิม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ยังไม่มีผลงานวิชาการได้ผลิตงานทางวิชาการ ซึ่งการมีนักวิจัยพี่เลี้ยงสามารถช่วยได้ รวมถึงการเขียนบทความวิชาการ / วิจัย รวมถึงการเขียนและพัฒนาเอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน จนกระทั่งเป็นหนังสือหรือตำรา ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการสอนและการขอตำแหน่งทางวิชาการในอนาคต 1. ประชาสัมพันธ์แหล่งทุนให้คณาจารย์ทราบตลอดปีการศึกษา 2. สร้างระบบและเกณฑ์การประเมินผลงานประจำปี เพื่อกระตุ้นให้อาจารย์สร้างงานเขียนทางวิชาการ 3. กำหนดให้คณาจารย์สร้างผลงานวิชาการ (อย่างน้อยต้องเป็นบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ) ภายในระยะเวลาที่กำหนด 1. สร้างทีมพี่เลี้ยงเพื่อให้คำปรึกษา และช่วยปรับปรุงงานเขียนเชิงวิชาการ 2. สร้างเกณฑ์การประเมินและตั้งค่าระดับของผลงานทางวิชาการแต่ละประเภท เพื่อใช้สำหรับการประเมินผลงานประจำปี 3. กองบรรณาธิการวารสารดนตรีรังสิต ให้คำแนะนำ และหาแหล่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอื่น ๆ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและงานวิจัย
2) สนับสนุนและส่งเสริมให้คณาจารย์ที่ไม่ได้เคยขอทุนสนับสนุนการวิจัยและงานสร้างสรรค์ ได้ยื่นขอทุนทั้งในระดับภายในและภายนอกสถาบัน 1. ประชาสัมพันธ์แหล่งทุนให้คณาจารย์ทราบตลอดปีการศึกษา 2. สร้างระบบและเกณฑ์การประเมินผลงานประจำปี เพื่อกระตุ้นให้อาจารย์สร้างงานเขียนทางวิชาการ 3. กำหนดให้คณาจารย์สร้างผลงานวิชาการ (อย่างน้อยต้องเป็นบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ) ภายในระยะเวลาที่กำหนด 1. สร้างทีมพี่เลี้ยงเพื่อให้คำปรึกษา และช่วยปรับปรุงงานเขียนเชิงวิชาการ 2. สร้างเกณฑ์การประเมินและตั้งค่าระดับของผลงานทางวิชาการแต่ละประเภท เพื่อใช้สำหรับการประเมินผลงานประจำปี 3. กองบรรณาธิการวารสารดนตรีรังสิต ให้คำแนะนำ และหาแหล่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอื่น ๆ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและงานวิจัย

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - - - -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - - - -

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยดนตรี มีคณาจารย์ที่เข้าใจและเห็นคุณค่าความสำคัญของศิลปวัฒนธรรม และให้ความร่วมมือในการส่งเสริมกิจกรรมโครงการต่างๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายของวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย โดยการจัดดำเนินงาน หรือให้ร่วมมือในการทำงานโครงการต่างๆ เป็นอย่างดี คณาจารย์ และนักศึกษาวิทยาลัยดนตรี ยังคงในความร่วมมือในการดำเนินการกิจกรรมโครงการต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับนโยบายต่อไป 1.งานปฐมนิเทศนักศึกษาวิทยาลัยดนตรี 2.งานไหว้ครู วิทยาลัยดนตรี 3.งานลอยกระทง มหาวิทยาลัยรังสิต รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและสื่อสารองค์กร รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและบริการวิชาการ
2) วิทยาลัยดนตรี เล็งเห็นถึงความสำคัญในการช่วยส่งเสริมกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม จึงมีโอกาสได้ดำเนินกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานด้านศิลปวัฒนธรรมทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย อาทิ ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม เป็นต้น วิทยาลัยดนตรี ยังคงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการช่วยส่งเสริมกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม จึงมีแผนดำเนินกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานด้านศิลปวัฒนธรรมทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย 1.โครงการวันสำคัญ ทางชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและบริการวิชาการ
3) วิทยาลัยดนตรี มีกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่เป็นที่ยอมรับของสังคม ประเทศและนานาชาติ วิทยาลัยดนตรี มีแผนกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่เป็นที่ยอมรับของสังคม ประเทศและนานาชาติ 1.งานปฐมนิเทศนักศึกษาวิทยาลัยดนตรี 2.งานไหว้ครู วิทยาลัยดนตรี 3.การแสดงดนตรีร่วมสมัย รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและบริการวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรจัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้ชัดเจน เนื่องจากทางวิทยาลัยดนตรีเป็นคณะหลักในการขับเคลื่อนงานและสนับสนุนร่วมกับสถาบันส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมด้วยกิจกรรมจำนวนมาก และกิจกรรมที่วิทยาลัยดนตรีรับผิดชอบโดยตรงผ่านงบประมาณระดับวิทยาลัย เพื่อนำไปสู่การประเมินผลให้ตรงตามตัวชี้วัดที่แท้จริงได้และสามารถนำไปพัฒนาแผนในปีถัดไป วิทยาลัยดนตรี จะดำเนินกิจกรรมร่วมกับ สถาบันส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และวางแผนออกแบบกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ของวิทยาลัยดนตรีเพิ่มขึ้น กิจกรรมของ สถาบันส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และจัดทำโครงการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดย วิทยาลัยดนตรี อย่างน้อย 1 กิจกรรม รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและบริการวิชาการ

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) หลักสูตรที่ดำเนินการในปีการศึกษา 2565 อยู่ในจุดคุ้มทุน โดยมีรายได้สูงกว่ารายจ่ายในอัตราที่สูง - - -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - - - -