การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2567
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
คณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณาจารย์ในคณะมีวุฒิปริญญาเอกจำนวนมาก ทางคณะฯ มีแนวทางในการวางแผนและเตรียมตัวสำหรับการลาศึกษาต่ออย่างชัดเจน การประชุมผู้บริการและคณะกรรมการประจำคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา คณบดี และรองคณบดีฝ่ายบริหาร
2) มีหลักสูตรที่น่าสนใจ ทันสมัย และสอดคล้องกับสังคมไทยในปัจจุบัน ทั้ง 3 หลักสูตร คือ - กายภาพบำบัด -วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและสมรรถภาพทางการกีฬา -ชรัณสุขศาสตร์ มีการตรวจสอบคุณภาพและหลักฐานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับมาตรฐานเพื่อช่วยตรวจสอบและพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง โดยหลักสูตรกายภาพบาบัด ผ่านการรับรองโดยเกณฑ์สภาวิชาชีพ และอีก 2 หลักสูตรผ่านประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 1. โครงการปรับปรุงหลักสูตรสู่สากล 2. การประชุมคณะกรรมการวิชาการ 3. การประชุมคณะกรรมการหลักสูตร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
3) จำนวนนักศึกษามาก 1. มีคณะกรรมการบริหารหลักสูตร 2. ตั้งฝ่ายประชาสัมพันธ์เพื่อแนะนำหลักสูตรให้เป็นที่รู้จัก 3. คณะกรรมการหลักสูตรประสานงานกับฝ่ายต่างๆเพื่อหาแนวทางเพิ่มจำนวนนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง 4. เพิ่มโครงการแนะนำหลักสูตรให้แพร่หลายมากขึ้น 1. โครงการตลาดนัดวิชาคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา รองคณบดีฝ่ายกิจการและพัฒนานักศึกษา และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ
4) มีกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก กิจกรรมพัฒนานักศึกษา ของคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา ถูกวางแผนขึ้นเพื่อผลลัพธ์ตาม TQF 5 ด้าน (ด้านคุณธรรม จริยธรรม / ด้านความรู้ / ด้านทักษะทางปัญญา / ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ / ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ) ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดมีส่วนช่วยเสริมทักษะทั้ง 5 ด้านของนักศึกษา โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสู่การเปลี่ยนแปลงด้านใน รองคณบดีฝ่ายกิจการและพัฒนานักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ยังไม่มีอาจารย์ที่มีตำแหน่งวิชาการ คณะ ฯ โดยผ่านรองคณบดีฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้ได้จัดตั้ง "research clinic" เพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ปรึกษาหารือ และช่วยเหลือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย และกระตุ้นการขอทุนวิจัยโดยเริ่มจากการขอทุนวิจัยภายใน เพื่อให้อาจารย์ทั้งหมดอยู่ในระยะบ่มเพาะเพื่อสร้าง profile ให้สามารถขอทุนวิจัยภายนอกในระดับชาติมากขึ้นโดยมีระบบการกำกับติดตามและรายงานความก้าวหน้าการขอทุนวิจัย และผลงานตีพิมพ์ทางวิชาในการประชุมกรรมการประจำคณะทุกครั้ง โครงการพัฒนาต้นแบบ Physical Therapy Research Center: From Laboratory to Community โครงการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานวิจัยและการนำเสนอผลงานวิจัย ภายในคณะกายภาพบำบัด และเวชศาสตร์การกีฬา รองคณบดีฝ่ายวิจัย
2) จำนวนนักศึกษาในหลักสูตรชรัณสุขศาสตร์ยังมีจำนวนน้อย มีผู้ปกครองที่สนใจหลักสูตรติดต่อสอบถามเข้ามากขึ้นโดยเฉพาะชรัณสุขศาสตร์ แต่ยังมีจำนวนนักศึกษาไม่ตรงตามเป้าหมายเพิ่มโครงการแนะนำหลักสูตรให้แพร่หลายมากขึ้น โครงการตลาดนัดวิชาคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา รองคณบดีฝ่ายกิจการและพัฒนานักศึกษา และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีเงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์สูงกว่าเกณฑ์ คณะ ฯ โดยผ่านรองคณบดีฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้ได้จัดตั้ง "research clinic" เพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ปรึกษาหารือ และช่วยเหลือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย และกระตุ้นการขอทุนวิจัยโดยเริ่มจากการขอทุนวิจัยภายใน เพื่อให้อาจารย์ทั้งหมดอยู่ในระยะบ่มเพาะเพื่อสร้าง profile ให้สามารถขอทุนวิจัยภายนอกในระดับชาติมากขึ้นโดยมีระบบการกำกับติดตามและรายงานความก้าวหน้าการขอทุนวิจัย และผลงานตีพิมพ์ทางวิชาในการประชุมกรรมการประจำคณะทุกครั้ง โครงการพัฒนาต้นแบบ Physical Therapy Research Center: From Laboratory to Community โครงการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานวิจัยและการนำเสนอผลงานวิจัย ภายในคณะกายภาพบำบัด และเวชศาสตร์การกีฬา รองคณบดีฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรหากลไกสนับสนุนให้อาจารย์ประจำมีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ มีการติดตามผลการดำเนิงานผ่านรองคณบดีแต่ละฝ่ายอย่างสม่ำเสมอ สนับสนุนให้บุคคลากรได้พัฒนาตนเองตามเป้าหมายของแต่ละคน โดยเฉพาะด้านการขอตำแหน่งทางวิชาการ โครงการพัฒนาต้นแบบ Physical Therapy Research Center: From Laboratory to Community โครงการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานวิจัยและการนำเสนอผลงานวิจัย ภายในคณะกายภาพบำบัด และเวชศาสตร์การกีฬา รองคณบดีฝ่ายวิจัยและการจัดการความรู้

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะมีโครงการบริการวิชาการทั้งแบบมีรายได้ และแบบให้เปล่า ในปีการศึกษา 2567 คณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา มีแนวทางที่จะบูรณาการงานบริการวิชาการกับการจัดการเรียน โดยวางแผนจัดโครงการบริการวิชาการกับนักกีฬา ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาเป็นอย่างมาก โครงการตลาดนัดวิชาคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา รองคณบดีฝ่ายบริหาร และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะขาดหลักฐานการดำเนินการบางอย่างเช่นการนำผลประเมิน มาปรับปรุงหรือพัฒนา คณะกรรมการฯ วางแผนติดตามการดำเนินการโครงการบริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง และแจ้งให้ผู้รับผิดชองโครงการบริการวิชาการแต่ละโครงการ นำข้อมูลผลการประเมินโครงการมาปรับปรุงให้ชัดเจน การประชุมคณะกรรมการบริการวิชาการ และการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ รองคณบดีฝ่ายบริหาร

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเป็นไปตามเกณฑ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการและพัฒนานักศึกษา ฝ่ายวิชาการ และฝ่ายบริหาร ได้จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา และวัตถุประสงค์ของแต่ละกิจกรรม ร่วมกับบุคคลากรฝ่ายกิจการนักศึกษาทุกคน แล้วรายงานผลการจัดกิจกรรมทั้งหมดแล้วในเอกสาร PDCA ของแต่ละโครงการ ซึ่งผลก่ารจัดกิจกรรมด้านร้อยละการเข้าร่วมและความพึงพอใจออกมาอยู่ในระดับดีมาก ร่วมกับส่งเสริมให้อาจารย์และนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสู่การเปลี่ยนแปลงด้านใน โครงการครูไร้เสียง: พิธีบำเพ็ญกุศลและฌาปนกิจร่างอาจารย์ใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2566 รองคณบดีฝ่ายกิจการและพัฒนานักศึกษา

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - ไม่มีปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา ไม่มีปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา -

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะมีการดำเนินงานผ่านคณะกรรมการชุดต่างๆ มีการแบ่งภาระหน้าที่ชัดเจนอย่างเป็นระบบ ภายใต้การติดตามของคณะกรรมการประจำคณะ คณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา มีการวิเคราะห์ SWOT ร่วมกับทำการประเมินความเสี่ยงในประเด็นต่างๆที่อาจส่งผลกระทบเป้าหมายในการพัฒนาคณะเป็นระยะ ๆ และเพิ่มเติมในประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นการเพิ่มโอกาสและรายได้ให้กับคณะ รวมถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกำลังคนที่สามารถตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ การประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ การประชุมคณะกรรมการประจำคณะ คณบดีและรองคณบดีทุกฝ่าย

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณะอาจจะต้องบริหารงานที่มีความเสี่ยงสูงเป็นลำดับต้นๆ นอกจากโครงการอื่นที่คณะทำได้ดีอยู่แล้ว ทั้งการวิเคราะห์รายบุคคล ศักยภาพรายบุคคล เพื่อนำผลงานหลายเรื่องที่ทำไปสู่งานวิจัย คณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา มีการวิเคราะห์ SWOT ร่วมกับทำการประเมินความเสี่ยงในประเด็นต่างๆที่อาจส่งผลกระทบเป้าหมายในการพัฒนาคณะเป็นระยะ ๆ และเพิ่มเติมในประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นการเพิ่มโอกาสและรายได้ให้กับคณะ รวมถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกำลังคนที่สามารถตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การประชุมคณะกรรมการบริหาร การประชุมคณะกรรมการประจำคณะ การประชุมคณะกรรมการประจำหลักสูตร คณบดี รองคณบดีทุกฝ่าย ประธานหลักสูตรทั้ง 3 หลักสูตร
2) สำหรับหลักสูตรชรัณสุขศาสตร์ที่มีการดำเนินงานไม่คุ้มทุนนั้น อาจจะต้องลองวิเคราะห์อย่างจริงจังถึงความต้องการของทั้งผู้เรียน และทิศทางความต้อง การของสังคม หากเห็นว่าไปในทิศทางที่ถูกแล้ว ก็ควรจัดทำแผนงานรวมทั้งงบประมาณในการดำเนินงานต่อไปอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อเสนอมหาวิทยาลัย หรืออาจจะเป็นวิชาโทสำหรับหลักสูตรที่ใกล้เคียงต่อไป เมื่อพิจารณาถึงจุดคุ้มทุนของหลักสูตรการชรัณสุขศาสตร์ คณะฯจึงทำการประชาสัมพันธ์หลักสูตรเพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนนักศึกษาเข้าเรียน ร่วมกับบริหารจัดการการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้หลักสูตรมีความคุ้มทุนให้เร็วที่สุด การจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการประจำปี การประชุมกรรมการหลักสูตรชรัณสุขศาสตร์ การประชุมคณะกรรมการวิชาการ การประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ คณบดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ หัวหน้าหลักสูตรชรัณสุขศาสตร์