การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร และเทคโนโลยีอาหาร

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) อาจารย์มีคุณวุฒิ และประสบการณ์ที่หลาหลาย ซึ่งจะสนับสนุนการผลิตบัณฑิตของวิทยาลัยให้มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของสถานประกอบการ ส่งเสริมให้อาจารย์ทำงานวิจัย และ ขอตำแหน่งทางวิชาการ และ การทำงานร่วมกันเป็นทีม ประกอบด้วยอาจารย์ต่างสาขา / ต่างประสบการณ์ กิจกรรมที่รองรับ : สนับสนุนให้อาจารย์นำเสนอผลงานวิชาการ ในเวทีภายนอก ทั้งใน และ ต่างประเทศ คณบดี (ทั้ง 2 คณะ) คณะนวัตกรรมเกษตร และ คณะเทคโนโลยีอาหาร
2) มีแผนการจัดโครงการ/กิจกรรมให้กับนักศึกษาที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ นักศึกษาได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมที่หลากหลาย เป็นการพัฒนานักศึกษานอกชั้นเรียนที่ดีมาก สนับสนุนการเรียนรู้นอกชั้นเรียนของนักศึกษา ภายใต้แนวคิด “ Learning by doing” โดยใช้สถานทื่ที่มีการทำงานจริง เช่น ร้านตะวัน โรงคั่วกาแฟ หรือ โรงเรือน เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าไปฝึกปฏิบัติจริง 1. โครงการฝึกงาน (ของนักศึกษาสาขาธุรกิจฯ อาหาร ที่ร้านตะวัน และ โรงคั่วกาแฟ 2. โครงการส่งเสริมการส่งผลงานเข้าประกวดในเวทีทั้งใน และ ต่างประเทศ คณบดี และ หัวหน้าสาขาฯ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ทางวิทยาลัยควรหาแนวทางในการเพิ่มจำนวนนักศึกษาเพื่อเพิ่ม FTES ต่ออาจารย์ สื่อสารข้อมูล เกี่ยวกับ กิจกรรม และ ผลงานของคณะ ออกสู่สาธารณชนให้มากขึ้น กิจกรรม Open House และ กิจกรรมแนะแนว ตามโรงเรียนต่าง ๆ คณบดี และ หัวหน้าสาขาฯ

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยฯ มีการวางนโยบายด้านงานวิชาการและวิจัย มีระบบการส่งเสริมเพื่อพัฒนางานวิจัยตามความถนัดของอาจารย์ ทั้งด้านนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ เทคโนโลยีชีวภาพ และการแปรรูปรวมถึงการบริหารธุรกิจทางอาหาร สามารถผลิตผลงานที่จะเกิดประโยชน์กับสังคมและนำชื่อเสียงมาสู่มหาวิทยาลัยรังสิตได้อย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้อาจารย์ได้ทำการวิจัยในสายงานที่ตนเองมีความถนัดโดยการสร้างให้เกิดความร่วมมือต่างๆ กับหน่วยงานภายนอกรวมทั้งจัดหาและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นต่อการทำวิจัย เป็นต้น กิจกรรมการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก กิจกรรมการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำวิจัย อธิการวิทยาลัยฯ
2) วิทยาลัยฯ มีระบบและกลไกในการสนับสนุนและส่งเสริมในการขอทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายใน และภายนอกสถาบัน ที่มีจำนวนที่มาก และมีหน่วยงานที่หลากหลายในการดำเนินงานวิจัยในระดับชาติ ส่งเสริมให้อาจารย์มีการขอทุนในระดับที่สูงขึ้น เช่น จากภายในให้เป็นภายนอก กิจกรรมส่งเสริมการขอทุนวิจัยสำหรับอาจารย์ คณบดีทั้ง 2 คณะ
3) วิทยาลัยฯ มีการสนับสนุนุและส่งเสริมในการเผยแพร่ผลงานวิจัยจากการตีพิมพ์วารสารวารสารระดับนานาชาติเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้อาจารย์มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ กิจกรรมการแผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์ คณบดีทั้ง 2 คณะ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) สนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ยังไม่มีผลงานวิชาการได้ผลิตงานทางวิชาการ ซึ่งการมีนักวิจัยพี่เลี้ยงสามารถช่วยได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการสอนและการขอตำแหน่งทางวิชาการ ส่งเสริมให้อาจารย์ที่มีประสบการณ์การทำวิจัยจัดทีมวิจัยร่วมกับอาจารย์ที่ยังไม่มีผลงานเพื่อทำหน้าที่เป็นนักวิจัยพี่เลี้ยง กิจกรรมการวิจัยเป็นทีม คณบดีทั้ง 2 คณะ
2) จากผลงานวิจัยและการนำเสนอบทความระดับนานาชาติ ควรสนับสนุนเพื่อส่งต่อในการจดอนุสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตรมากขึ้น ส่งเสริมให้อาจารย์ที่มีสิ่งประดิษฐ์ หรือผลงานวิจัยแบบเป็นชิ้นงานผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมทั้งในด้านสูตรหรือกระบวนการผลิตทำการจดอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตร กิจกรรมการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้กับผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมของวิทยาลัยฯ คณบดีทั้ง 2 คณะ
3) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยในระดับวิทยาลับฯ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวิจัยของบุคลากรในวิทยาลัย สร้างระบบสารสนเทศบริหารงานวิจัยของวิทยาลัยฯ กิจกรรมการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยของวิทยาลัยฯ รองอธิการฝ่ายบริหารและกิจการนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยฯมีโครงการบริการวิชาการจำนวนมาก และเป็นโครงการที่มีประโยชน์ทั้งนักศึกษา อาจารย์ และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม สนับสนุน และส่งเสริมให้อาจารย์ที่ยังไม่มีผลงานบริการวิชาการให้ผลิตงานบริการวิชาการ โดยใช้สถานที่ที่มีการลงมือจริง เช่น ร้านตะวัน/ โรงคั่วกาแฟ/โรงงานต้นแบบ/โรงเรือน/plant factory/ศูนย์การศึกษาเรียนรู้นวัตกรรมเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษา บุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้าไปฝึกปฏิบัติจริง โครงการ/กิจกรรมเป็นทีมและให้นักศึกษา/ชุมชนได้มีส่วนร่วม โครงการต่างๆของทั้ง 2 คณะ
2) วิทยาลัยฯทำบริการทางวิชาการได้ในระดับดีมาก น่าจะนำผลงานไปทำเป็น KM เพื่อเป็นแนวทางในคณะอื่นๆ จนเกิดเป็นแนวปฏิบัติที่ดีต่อไป วางแนวทางการเขียน ระบบ และกลไก เพื่อนำมาเขียนผลงานบริการวิชาการเพื่อไปเขียนเป็น KM เพื่อเป็นแนวทางให้คณะอื่นๆ โครงการ/กิจกรรมเป็นทีมและให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วม กับคณะอื่นๆ โครงการต่างๆของทั้ง 2 คณะ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) -

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรวิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหารร่วมกันสืบสานประเพณี/วัฒนธรรมให้แก่นักศึกษาในโครงการสานสัมพันธ์น้องพี่สืบสานประเพณีบายศรีสู่ขวัญ(ปลูกข้าว-เกี่ยวข้าว) และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย กำหนดให้ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและผู้แทนสโมสรนักศึกษาภายใต้วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหารมีส่วนร่วมกันสืบสานประเพณี/วัฒนธรรมให้แก่นักศึกษา โดยมีการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมคุณภาพ คุณธรรมจริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม และจิตอาสาของนักศึกษา ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร คณะอาจารย์จากทั้ง 2 คณะ (นวัตกรรมเกษตร และเทคโนโลยีอาหาร) และผู้แทนสโมสรนักศึกษาที่มีบทบาทหน้าที่ กำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรม จัดทำแผนการดำเนินงาน และส่งเสริมงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของวิทยาลัยฯ ที่สอดคล้องกับนโยบายการดำเนินงานกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิต โครงการสานสืบสานประเพณีบายศรีสู่ขวัญ (ปลูกข้าว-เกี่ยวข้าว) และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คณะกรรมการส่งเสริมคุณภาพ คุณธรรมจริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม และจิตอาสาของนักศึกษา
2) วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตรและเทคโนโลยีอาหารมีความมุ่งมั่นจัดกิจกรรมทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง และกิจกรรมทางวิชาการ การประกวดผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนการจัดตลาดผลิตผลการเกษตร ทุกกิจกรรมภายใต้โครงการงานวันเกษตร-อาหาร รังสิต ถือเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ดำเนินการจัดกิจกรรมทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง และมีการปรับหัวข้อตามยุคสมัยในแต่ละปี เน้นในเรื่องการประกวดผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนการจัดตลาดผลิตผลการเกษตรเพื่อขับเคลื่อน วิทยาลัยฯ ให้ก้าวสู่งานทางวิชาการระดับโลก รวมถึงการผลักดันให้งานทางด้านเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพให้เข้าสู่สากลโลกมากยิ่งขึ้น โครงการงานวันเกษตร-อาหาร รังสิต วิทยาลัยนวัตกรรมเกษตร และเทคโนโลยีอาหาร

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยมีการจัดทำแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม กำหนดวัตถุประสงค์ของแผน และกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จไว้อย่างชัดเจน แต่ยังไม่มีการจัดทำแผนเป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ ดังนั้นจึงให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงในปีต่อไป การจัดทำแผนนี้ควรเริ่มจากการวิเคราะห์ SWOT ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้ทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค และภาวะคุกคาม ซึ่งจะเป็นแนวทางในการบริหารจัดการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ให้ตรงกับสภาพความเป็นจริง 1. ดำเนินการวิเคราะห์ SWOT ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อให้ทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค และภาวะคุกคาม ที่จะเป็นตัวกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 2. ดำเนินการนำวัตถุประสงค์ และตัวชี้วัดความสำเร็จของแผน ไปจัดทำแผนร่วมกับวิทยาลัยฯ เป็นรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ 1. โครงการสานสืบสานประเพณีบายศรีสู่ขวัญ (ปลูกข้าว-เกี่ยวข้าว) และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2. โครงการไหว้ครูวิทยาลัยฯ คณะกรรมการส่งเสริมคุณภาพ คุณธรรมจริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม และจิตอาสาของนักศึกษา

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ในการบริหารวิทยาลัย โดยคำนึงถึงประโยชน์ของวิทยาลัย และได้พัฒนาการศึกษาด้านการเกษตรในลักษณะบูรณาการ เชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านการเกษตร ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และด้านเทคโนโลยีอาหาร เข้าด้วยกัน เพื่อมุ่งเน้นการผลิต และพัฒนาบัณฑิตไปสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะ และนักเทคโนโลยีอัจฉริยะ ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากของประเทศไทยที่เป็นสังคมเกษตรกรรมได้เป็นอย่างดี การจัดกิจกรรมพัฒนาทางวิชาการแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างหลักสูตรและคณะภายในวิทยาลัยฯ ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการบริหาร - โครงการวันเกษตร-อาหารรังสิต ประจำปีการศึกษา 2567 - กิจกรรมสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานและสถาบันภายนอกมหาวิทยาลัย อธิการวิทยาลัยฯ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ในการกำกับ ติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพหลักสูตร ทางคณะควรร่วมกันหาแนวทางช่วยหลักสูตร ในประเด็นต่างๆ อาทิ การรับนักศึกษา การเตรียมความพร้อม การพัฒนาศักยภาพนักศึกษา เป็นต้น - การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและการสร้างการรับรู้ของบุคคลภายนอกที่มีต่อวิทยาลัยฯ ผ่านกิจกรรมทางวิชาการแบบบูรณาการและการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ - การกำกับและติดตามการจัดกิจกรรมการบริการวิชาการให้แต่ละคณะให้เชื่อมโยงร่วมกันโดยนักศึกษามีส่วนร่วม - การกำกับและติดตามการจัดกิจกรรมนักศึกษาของฝ่ายกิจการนักศึกษาและสโมสรนักศึกษาของวิทยาลัยฯ 1. โครงการวันเกษตร-อาหารรังสิต ประจำปีการศึกษา 2566 2. กิจกรรมสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานและสถาบันภายนอกมหาวิทยาลัย 3. กิจกรรมการประชาสัมพันธ์วิทยาลัยฯ ผ่านสื่อต่างๆ 5. โครงการกิจการนักศึกษาประจำปีการศึกษา 2566 1. อธิการวิทยาลัยฯ 2. อธิการวิทยาลัยฯ 3. รองอธิการฝ่ายบริหารและกิจการนักศึกษา 4. อธิการวิทยาลัยฯ 5. รองอธิการฝ่ายบริหารและกิจการนักศึกษา