การรายงานแผนการปรับปรุงการดำเนินงาน [Improvement Plan] ของปีการศึกษา 2566
ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565
และตามปัญหา/อุปสรรคต่างๆ ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) กิจกรรมสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีมีความหลากหลายและหลายกิจกรรมมีการจัดร่วมกับนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอก จัดกิจกรรมเสริมทักษะความเป็นผู้นำและสร้างความเป็นเลิศให้แก่บัณฑิต และบูรณาการกิจกรรมร่วมกันระหว่างนักศึกษา ป.ตรี - ป.เอก เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของนักศึกษาทุกระดับ กิจกรรมศึกษาดูงานนอกสถานที่ เช่น โครงการสรรค์สร้างสังคมธรรมาธิปไตย เป็นต้น 1) รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา 2) ผู้อำนวยการหลักสูตร ป.ตรี - ป.เอก
2) อาจารย์ได้รับตำแหน่งวิชาการเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนให้เห็นการดำเนินการตามแผนพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาจารย์ประจำให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยในปีการศึกษา 2566 วิทยาลัยนวัตกรรมสังคมมีอาจารย์ประจำวิทยาลัยเข้าสู่แผนการขอดำรงตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 4 ราย แบ่งเป็นระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 2 ราย และรองศาสตราจารย์ จำนวน 2 ราย โครงการเตรียมความพร้อมสู่การดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 1) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ 2) ผู้อำนวยการหลักสูตรระดับ ป.ตรี - ป.เอก

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) จำนวนนักศึกษาในบางหลักสูตรยังมีไม่มาก ควรหาเอกลักษณ์ของหลักสูตรเพื่อการประชาสัมพันธ์ได้มากขึ้น ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย และทำการตลาดเจาะกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นผ่านสื่ออนไลน์ต่าง ๆ ปรับปรุงเนื้อหาสาระรายวิชาให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ผู้อำนวยการหลักสูตร ป.ตรี - ป.เอก เจ้าหน้าที่ประจำหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) คณาจารย์ร่วมกันผลิตและเผยแพร่ผลงานวิชาการจำนวนมาก โดยเฉพาะบทความในวารสารนานาชาติในฐานข้อมูล SCOPUS มีถึง 8 ผลงาน ผลักดันและส่งเสริมให้คณาจารย์และนักศึกษาเขียนบทความทางวิชาการเสนอในวารสารนานาชาติในฐานข้อมูล SCOPUS มากขึ้น รวมถึงวารสารวิชาการในประเทศซึ่งเป็นที่ยอมรับ โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพอาจารย์ 1) รองคณบดีฝ่ายบริหาร 2) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ 3) ผศ.ดร.ฐิติพร ศิริพันธ์ พันธเสน
2) คณาจารย์ได้รับทุนวิจัยทั้งจากภายใน และภายนอกสถาบัน รวมกันสูงกว่าค่าเป้าหมายมาก โดยเฉพาะหน่วยงานภายนอกในปี 2564 เป็นหน่วยงานต่างชาติในระดับประเทศ สะท้อนให้เห็นศักยภาพของคณาจารย์ ในปีการศึกษา 2566 ส่งเสริมการขอสนับสนุนทุนวิจัยทั้งภายในและภายนอกสถาบันมากขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงเว็บไซต์ และรวบรวมฐานข้อมูลวิชาการของคณาจารย์ในวิทยาลัย รวมทั้งงานวิจัยของนักศึกษาในวิทยาลัยฯ เพื่อเป็นข้อมูลกลางสำหรับการศึกษาค้นคว้า - 1) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ 2) ผู้อำนวยการสูตร ป.ตรี - ป.เอก

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) วิทยาลัยควรมีระบบสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารงานวิจัยของตนเอง เพื่อช่วยสนับสนุนให้คณาจารย์ได้วางแผนและผลิตงานวิจัย รวมถึงการเผยแพร่และนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปรับปรุงเว็บไซต์ให้ทันสมัย และรวบรวมฐานข้อมูลวิชาการของคณาจารย์ในวิทยาลัย รวมทั้งงานวิจัยของนักศึกษาในวิทยาลัยฯ เพื่อเป็นข้อมูลกลางสำหรับการศึกษาค้นคว้าในอนาคต - 1) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ 2) ผู้อำนวยการหลักสูตร ป.ตรี - ป.เอก

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) มีแผนงานโครงการบริการวิชาการรูปแบบเดิมต่อเนื่องทุกปี 1) จัดทำแผนการเข้าร่วมบริการวิชาการแก่สังคม ทั้งในระดับมหาวิทยาลัย และหน่วยงานภายนอก และถอดบทเรียนและพัฒนาความร่วมมือ 2) ดำเนินการทำ MOU ร่วมกับหน่วยงานองค์กรภายนอก - 1) รองคณบดีฝ่ายพัฒนาสังคมและความยั่งยืน 2) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรจัดการบริการวิชาการในชุมชนเมืองเอกและบริเวณใกล้เคียง บรรจุแผนบริการวิชาการในชุมชนเมืองเอกและบริเวณใกล้เคียงเป็นส่วนหนึ่งของแผนการบริหารวิชาการระดับวิทยาลัยและหลักสูตร - 1) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ 2) รองคณบดีฝ่ายพัฒนาสังคม
2) โครงการที่อ้างถึงการบริการวิชาการ เป็นโครงการเสวนาที่จัดให้กับนักศึกษาในรายวิชา อาจไม่สอดคล้องกับเป้าหมายในการบริการวิชาการที่ต้องจัดให้แก่ชุมชนหรือสังคม เพิ่มโครงการบริการทางวิชาการที่สอดคล้องกับเป้าหมายการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยมากขึ้นในปีการศึกษา 2566 เพื่อบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมโดบยรอบเมืองเอกและชุมชนใกล้เคียง โครงการสังคมแห่งการเรียนรู้ 1) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ 2) รองคณบดีฝ่ายพัฒนาสังคม

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ไม่มี - - -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรรายงานการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในปีการศึกษา 2566 จัดทำแผนแผนการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรมในแต่ละปีการศึกษา พร้อมกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ และรายงานผลการดำเนินการในลักษณะ PDCA - ผู้อำนวยการหลักสูตร ป.ตรี - ป.เอก
2) ควรมีการบูรณาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนในรายวิชา บูรณาการแผนการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับการเรียนการสอน ผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่วิทยาลัยดำเนินการ - ผู้อำนวยการหลักสูตร ป.ตรี - ป.เอก

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) - - - -

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

# ปัญหา/อุปสรรค/ข้อคิดเห็นในปีที่ผ่านมา แนวทางการปรับปรุง/ พัฒนา โครงการ/ กิจกรรมที่รองรับ ผู้รับผิดชอบ
1) ควรจัดทำการจัดการความรู้ด้านการวิจัย วิทยาลัยนวัตกรรมสังคมจัดทำการจัดการความรู้ทุกด้าน กิจกรรมการจัดการความรู้ระดับวิทยาลัยฯ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ